LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เพชรบุรี เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สมุทรสงคราม - ผลย้ายครู 2567 สพป.สมุทรสงคราม 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครราชสีมา เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 2

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบ E A T ร่วมกับการใช้กลวิธี เล่า เรีย

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบ E A T ร่วมกับการใช้กลวิธี เล่า เรียน เล่น
เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสาร สาหรับเด็กชั้นอนุบาล 3
ผู้วิจัย นางสาวพรทิวา ชุติมันตานนท์
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชา) สังกัดสานักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา
อาเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่ทาวิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้
แบบ E-A-T ร่วมกับการใช้กลวิธี เล่า เรียน เล่น 2) เพื่อสร้างรูปแบบและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ
การเรียนรู้แบบ E-A-T ร่วมกับการใช้กลวิธี เล่า เรียน เล่น 3) เพื่อศึกษาการใช้รูปแบบการเรียนรู้
แบบ E-A-T ร่วมกับการใช้กลวิธี เล่า เรียน เล่น และ 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้
แบบ E-A-T ร่วมกับการใช้กลวิธี เล่า เรียน เล่น ดาเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษา
ปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ จากการสนทนากลุ่มครูที่สอนระดับปฐมวัย
และครูที่รับผิดชอบงานวิชาการ และศึกษาจากเอกสาร ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบและตรวจสอบ
คุณภาพรูปแบบการเรียนรู้ และจัดทาแผนการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น
โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และทดลองใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบ
รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเด็กชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชา)
สังกัดสานักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา ปีการศึกษา 2563 จานวน 30 คน จานวน 1 ห้องเรียน
จัดการทดลองโดยให้กลุ่มตัวอย่างได้เรียนรู้ตามแผนการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการเรียนรู้
แบบ E-A-T ร่วมกับการใช้กลวิธี เล่า เรียน เล่น 6 หน่วยประสบการณ์ รวม 28 ครั้ง ครั้งละประมาณ
30 นาที ทาการประเมินผลความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารทั้งก่อนและหลังการจัดประสบการณ์
ด้วยแบบประเมินความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารสาหรับชั้นอนุบาล 3 ที่สร้างขึ้น ขั้นตอนที่ 4
ประเมินผลรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นโดยการสอบถามจากครูผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้อง และประเมิน
แนวโน้มพัฒนาการความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารของกลุ่มตัวอย่างเมื่อเวลาผ่านไป 6 สัปดาห์
ด้วยวิธีการประเมินซ้า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน Dependent sample t-test, การวิเคราะห์พัฒนาการด้วยการวัดอัตราพัฒนาการเฉลี่ย
ฐานนิยม ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสรุปเป็นรายประเด็น ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้พบว่า เด็กมีความสามารถ
ในการใช้ภาษาสื่อสารระดับค่อนข้างต่าถึงปานกลาง ควรได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น รูปแบบการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาการใช้ภาษาสื่อสารที่เหมาะสม ควรมีขั้นตอนไม่ซับซ้อน มีกลวิธีการจัดกรรมที่เป็นรูปแบบ
ชัดเจน เน้นให้เด็กได้พูดสนทนาโต้ตอบ ฝึกทากิจกรรมที่ชอบ ฝึกการอ่าน เรียนรู้ผ่านการเล่น มีวิธีการ
วัดและประเมินผลความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารที่ง่ายและชัดเจน
2. รูปแบบการการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ประยุกต์จากการนาแนวคิดพัฒนาการเรียนรู้ทางภาษา
รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ และกลวิธีการจัดกิจกรรมเรียนรู้ที่นิยมใช้กับเด็กปฐมวัยมาบูรณาการ
เป็นรูปแบบใหม่ ชื่อว่า “การเรียนรู้แบบ E-A-T ร่วมกับการใช้กลวิธี เล่า--เรียน--เล่น” มีองค์ประกอบ 5
องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหาการจัดประสบการณ์ ขั้นตอนกิจกรรม และการวัดและ
ประเมินผล กิจกรรมการเรียนรู้มี 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนา (Engagement: E) เป็นขั้นเตรียมความพร้อม
ทบทวนความรู้เดิมเชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่ 2) ขั้นเรียนรู้ลงมือทา (Active Learning: A) เป็นขั้น
ทากิจกรรมตามกลวิธี คือ พูดเล่าเรื่อง ฟังครูเล่า อ่านภาพสัญลักษณ์ ทากิจกรรมที่เด็กชอบ เล่นเกม
การศึกษา และ 3) ขั้นสร้างความรู้ (Transformation: T) เป็นขั้นทบทวนสิ่งที่เรียน ทดสอบความเข้าใจ
และบันทึกผล แผนการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นมีจานวน 6 หน่วย
3. ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มตัวอย่างพบว่า คะแนนความสามารถ
ในการใช้ภาษาสื่อสารก่อนจัดประสบการณ์มีค่าเฉลี่ย 19.80 คะแนนหลังจัดประสบการณ์มีค่าเฉลี่ย
25.40 จากคะแนนเต็ม 30 ทดสอบด้วยค่าสถิติพบว่าคะแนนหลังจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนจัด
ประสบการณ์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบ (E1/E2)
เท่ากับ 84.54/84.67 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กาหนดไว้ที่ 80/80
4. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นโดยครูผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้อง
ภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด เด็กชั้นอนุบาล 3 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการใช้
ภาษาสื่อสารตั้งแต่เริ่มจัดประสบการณ์และหลังจากจัดประสบการณ์ 6 สัปดาห์ มีแนวโน้มพัฒนาการ
ดีขึ้นโดยพิจารณาจากค่าอัตราพัฒนาการเฉลี่ยที่เป็นค่าบวก หมายถึงมีพัฒนาการดีขึ้น และได้ปรับปรุง
รูปแบบการเรียนรู้อีกเล็กน้อย เช่น เพิ่มเติมกิจกรรมให้มีหลากหลายและพอเหมาะกับเวลา ปรับปรุง
รูปภาพและให้น่าสนใจ ปรับปรุงแบบประเมินให้ใช้งานง่ายขึ้น แล้วเผยแพร่ในเว็บไซต์และโรงเรียนอื่น ๆ
papcatoonja 24 ก.พ. 2564 เวลา 13:19 น. 0 364
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^