LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCEA

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCEA Model
และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียน วิชาเทคโนโลยี 1
(การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย     พิศน์ฐิศา เอียดเกลี้ยง
ปีที่วิจัย    2561


บทคัดย่อ
    การวิจัยการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCEA Model
และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียน วิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออก แบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ขั้นที่ 2 การพัฒนาเป็นการออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ขั้นที่ 3 การวิจัยเป็นการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ขั้นที่ 4 การพัฒนาเป็นการประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวน การเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 1 (เยี่ยมเกษสุวรรณ) เทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย(X ̅ ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติ (t-test)
    ผลการวิจัยพบว่า
    การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ดังกล่าว เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการของการจัดการศึกษาตามแนวคิด ทฤษฎี พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สอดคล้องกับการประเมินคุณภาพการศึกษาและความต้องการของผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูผู้สอนวิชาเทคโนโลยี และผู้เชี่ยวชาญ ที่ต้องการให้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้มีความเหมาะสมในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้ตรงตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เพราะรูปแบบการเรียนการสอนมีลำดับขั้นตอนในการการเรียนรู้ที่เข้าใจง่าย มีคำแนะนำหรือวิธีการใช้ที่ชัดเจน บอกบทบาทหน้าที่ของนักเรียนในการเรียนได้เป็นอย่างดี รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด มีความสมบูรณ์ถูกต้องตามหลักวิชาการ เนื้อหามีความเหมาะสมกับวัยของนักเรียน ซึ่งส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
    การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวน การเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ สาระการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการจูงใจเพื่อเตรียมความพร้อม (Preparation:P) 2) ขั้นประสบการณ์ (Experience : E) 3) ขั้นสะท้อนความรู้(Reflection of Knowledge : R) 4) ขั้นสร้างความรู้ (Creation of Knowledge:C) 5) ขั้นปฏิบัติ (Action:A) 6) ขั้นประเมินผล (Evaluation :E) กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5 เทคนิค ได้แก่ เทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (Student Teams-Achievement Division, STAD) 2) เทคนิคการร่วมกันคิดหาคำตอบ (Numbered Heads Together, NHT) 3) เทคนิคจิ๊กซอร์ II (Jigsaw II) 4) เทคนิคกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้ (Group Investigaion, GI) 5) เทคนิคร่วมมือกันเรียน (Learning Together Technique) ระบบสังคม หลักการตอบสนอง ระบบสนับสนุน และเงื่อนไขการนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ ผลการตรวจสอบความเหมาะสม/สอดคล้องโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ด้านความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) และความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) และภาษาที่ใช้ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 ซึ่งมีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน ซึ่งแสดงว่ารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
     การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวน การเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า
    รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.10/87.33 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
    นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    การะประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน





pisthisat1 22 ก.พ. 2564 เวลา 22:16 น. 0 481
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^