LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้าง

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิด
อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโรงเรียนวัดท่าฉนวน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1
ผู้วิจัย    นายเกษม อบเชย ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการพิเศษ
    โรงเรียนวัดท่าฉนวน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1
    จังหวัดสุโขทัย
ปีที่วิจัย    2561

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการจำเป็น ในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน และ 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ครูผู้สอน จำนวน 11 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 24 คน การดำเนินการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ที่ใช้วิธีการวิจัยแบบวิธีผสม (Mixed Method Research) โดยการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพใช้แนวคิดการพัฒนารูปแบบที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนของการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบและผู้วิจัยได้สรุปผลการวิจัย ได้ดังนี้
    1. สภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณนักเรียน ความคิดเห็นของครูส่วนใหญ่จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณนักเรียนอยู่ใน ระดับปานกลาง ( = 2.57, S.D. = 0.54) และความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โดยภาพรวมมีความต้องการอยู่ในระดับมาก ( = 4.39, S.D. = 0.35) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อทุกข้อมีความต้องการระดับมาก ยกเว้นข้อ การจัดการเรียนรู้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่มีประสิทธิภาพที่มีความต้องการมากที่สุด
    2. ผลการสร้างและการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโรงเรียนวัดท่าฉนวน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ได้รูปแบบการพัฒนาครูที่มีชื่อว่า “รูปแบบ NAIPDE Model” ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ และองค์ประกอบเชิงกระบวนการ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ ประกอบด้วยหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การกำหนดปัญหาและความต้องการจำเป็น (Need : N) ระยะที่ 2 การประเมินความรู้และสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ (Assessing : A) ระยะที่ 3 การให้ความรู้ก่อนการจัดการเรียนรู้ (Informing : I) ระยะที่ 4 การวางแผนการจัดการเรียนรู้ (Planning : P) ระยะที่ 5 การปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ (Doing : D) และ ระยะที่ 6 การประเมินผลการจัดการเรียนรู้ (Evaluating : E)
    3. การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโรงเรียนวัดท่าฉนวน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 พบว่า ครูมีความรู้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน และนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการคิดอย่างมีวิจารณญาณทั้งนี้ เนื่องจากรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโรงเรียนวัดท่าฉนวน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 เป็นรูปแบบที่ทำให้นักเรียนรู้จักสังเกต สร้างความรู้ความเข้าใจ วิเคราะห์และสังเคราะห์ วินิจฉัยตรวจสอบ ประเมินและสรุปผล และนำไปประยุกต์ใช้
4. ผลการประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโรงเรียนวัดท่าฉนวน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพิ่มขึ้นและ ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโรงเรียนวัดท่าฉนวน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย ( = 4.28, S.D.= 0.57) และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้าน การจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโรงเรียนวัดท่าฉนวน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย ( = 4.23, S.D.= 0.59)
2oed.ponkaow 16 ม.ค. 2564 เวลา 22:57 น. 0 366
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^