LASTEST NEWS

23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย 23 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 23 เม.ย. 2567สพม.นครราชสีมา ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครราชสีมา 23 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 5 23 เม.ย. 2567สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สงขลา เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 3

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม

usericon

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง                 รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
                ของชุมชน โรงเรียนบ้านทรายขาว ด้วยรูปแบบ TEAM Model
ชื่อผู้ประเมิน            ธีระพันธ์ ยั่งยืนทวี
ตำแหน่ง                ผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการ
ระยะเวลาที่ประเมิน    ปีการศึกษา 2562

    การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียนบ้านทรายขาว ด้วยรูปแบบ TEAM Model มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท (Context) ประเมินปัจจัย (Input) ประเมินกระบวนการ (Process) ประเมินผลผลิต (Product) ประเมินผลกระทบ (Impact) ประเมินประสิทธิผล (Effectiveness) ประเมินความยั่งยืน (Sustainability) และประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability) ของโครงการโดยนำรูปแบบการประเมิน CIPPIEST ของ Daniel L. Stufflebeam มาประยุกต์ใช้ในการประเมินครั้งนี้ โดยมีแนวทางการดำเนินงาน 4 ประการ คือ การทำงานเป็นแบบอย่างด้วยตนเอง (Typically : T) การเข้าไปมีส่วนร่วมกิจกรรมของชุมชน (Enter : E) การบริหารจัดการเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (Management) และการจูงใจให้ชุมชนเข้ามาร่วมกิจกรรมในโรงเรียน (Allure : A) ประชากรคือกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน โรงเรียนบ้านทรายขาว ปีการศึกษา 2562 จำนวน 140 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงโดยใช้ตารางของ Krejcie & Morgan จำนวน 105 คน ประกอบด้วยครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 58 คน นักเรียน เฉพาะชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 จำนวน 31 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ยกเว้นครูและผู้บริหาร) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่แบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ หาความเชื่อมั่นโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
    ผลการประเมินในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยสรุปเป็นรายด้าน ได้ดังนี้
    ด้านบริบท (Context) พบว่า โครงการมีความสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของนักเรียน สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของโรงเรียน และสอดคล้องกับนโยบายและวิสัยทัศน์ของโรงเรียน
    ด้านปัจจัย (Input) พบว่า ด้านการบริหารจัดการ และด้านบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
    ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า ขั้นการวางแผน ขั้นการดำเนินการ ขั้นติดตามและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนขั้นปรับปรุงและพัฒนา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
    ด้านผลผลิต (Product) พบว่า การทำงานเป็นแบบอย่างด้วยตนเอง (Typically : T) และการเข้าไปมีส่วนร่วมกิจกรรมของชุมชน (Enter : E) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการบริหารจัดการเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (Management) และด้านการจูงใจให้ชุมชนเข้ามาร่วมกิจกรรมในโรงเรียน (Allure : A) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
    ด้านผลกระทบ (Impact) พบว่ามีผลกระทบเชิงบวกต่อผู้เรียน ชุมชน และโรงเรียน โดยนักเรียนมีสถานที่สำหรับจัดกิจกรรมต่างๆ ชุมชนได้มีโอกาสใช้สถานที่ของโรงเรียนจัดกิจกรรมต่างๆ และ นักเรียนมีความสุขกับการเข้าร่วมกิจกรรมในโรงเรียน ครูมีการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีแหล่งเรียนรู้ และ โรงเรียนได้รับรางวัลจากการประเมิน ประกวด แข่งขันระดับต่างๆ
    ด้านประเมินประสิทธิผล (Effectiveness) พบว่า การลงมือปฏิบัติเองด้านอาคารสถานที่ของผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดีของครู นักเรียน และชุมชน การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนของผู้บริหารและบุคลากรได้รับการตอบรับจากชุมชนเป็นอย่างดี ชุมชนเข้ามาร่วมกิจกรรมในโรงเรียนด้วยความเต็มใจ สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน และการบริหารด้านอาคารสถานที่บรรลุเป้าหมาย
    ด้านความยั่งยืน (Sustainability) พบว่ามีการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนเป็นประจำตลอดปี ชุมชนเข้ามาร่วมกิจกรรมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ และผู้บริหารปฏิบัติงานด้านพัฒนาแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารสถานศึกษา
    ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability) พบว่าโรงเรียนได้เผยแพร่ผลงานด้านแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนได้รับรางวัลด้านการบริหารสถานศึกษา โรงเรียนได้สร้างเครือข่ายการดำเนินงานกับหน่วยงานอื่น และ มีสถานศึกษาหรือหน่วยงานอื่นมาศึกษาดูงานที่โรงเรียน
    สำหรับผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในประเด็นผู้บริหารโรงเรียนเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติงาน การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในชุมชนของนักเรียน นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสภาพแวดล้อมก่อนเปิดภาคเรียน ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตกแต่งห้องเรียน ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปูกระเบื้องลานธรรม

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^