LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๒

usericon

ชื่อผลงาน     การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๒        
ผู้วิจัย     นางสาววิภาวัลย์ พงศาบวรลักษณ์

หน่วยงาน    โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๒ เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

ปีที่วิจัย    2563

บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๒ เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งประยุกต์ใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน ที่มีต่อโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๒ เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 101 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 11 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 45 คน ผู้ปกครอง จำนวน 45 คน รวม 90 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๒ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ และแบบประเมินความพึงพอใจ มีลักษณะเป็นแบบมาตรา ส่วนประมาณค่า (Rating Scale) กำหนดค่าระดับ 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ แบบประเมินด้านบริบท ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .85 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .43 -.78 แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .84 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .36 – .73 แบบประเมินด้านกระบวนการ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .82 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .25 –.91 แบบประเมินด้านผลผลิต ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .93 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .25 -.77 แบบประเมินความพึงพอใจ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .56 -.74 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๒ เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.12, S.D.=1.09) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านบริบท ( = 4.22, S.D.=1.03) รองลงมาคือ ด้านผลผลิต ( = 4.13, S.D.=1.11) ด้านปัจจัยนำเข้า ( = 4.07, S.D.=1.11) และ ด้านกระบวนการ ( = 4.07, S.D.=1.12) ตามลำดับ โดยมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมต่ำ แสดงว่า ผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อโครงการโดยรวมสอดคล้องกัน
2. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๒ เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ด้านบริบท โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.22, S.D.=1.03) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผลการประเมินข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการนี้มีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ( = 4.63, S.D.=0.78) รองลงมา คือ สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ( = 4.53, S.D.=0.85) และสอดคล้องกับความต้องการนักเรียน ( = 4.28, S.D.=0.99) ตามลำดับ โดยมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมต่ำ แสดงว่าผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อโครงการโดยรวมสอดคล้องกัน
3. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๒ เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.07, S.D.=1.11) เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อ พบว่า ผลการประเมินข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บุคลากรในการดำเนินกิจกรรมมีจำนวนพอเพียง ( = 4.19, S.D.=1.06) รองลงมา คือ ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมมีความเหมาะสม ( = 4.10, S.D.=1.09) และบุคลากรในการดำเนินกิจกรรมมีความเหมาะสม ( = 4.10, S.D.=1.12) ตามลำดับ โดยมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมต่ำ แสดงว่าผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อโครงการโดยรวมสอดคล้องกัน
     4. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๒ เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.07, S.D.=1.12) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผลการประเมินข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กำหนดบทบาทหน้าที่คณะกรรมการกิจกรรมชัดเจน ( = 4.19,S.D.=1.06) รองลงมา คือ การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ( =4.10,S.D.=1.12)และมีการวางแผนการดำเนินกิจกรรมที่ชัดเจน ( =4.08, S.D.=1.08) ตามลำดับ โดยมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมต่ำ แสดงว่าผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อโครงการโดยรวมสอดคล้องกัน
     5. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๒ เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.13, S.D.=1.11) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผลการประเมินข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การส่งเสริมสุขภาพบุคคลในโรงเรียน ( = 4.70, S.D.=1.05) รองลงมา คือ การบริหารจัดการ ( =4.19, S.D.=1.06) และโครงการร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชน( =4.10, S.D.=1.12) ตามลำดับ โดยมีค่า
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมต่ำ แสดงว่าผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อโครงการโดยรวมสอดคล้องกัน
     6. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา
ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนที่มีต่อโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล เมืองขลุง ๒ เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.10, S.D.=1.10) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผลการประเมินข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สุขศึกษาในโรงเรียน ( =4.20, S.D.=1.13) รองลงมา คือ โครงการร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชน ( =4.15, S.D.=1.12) และการส่งเสริมสุขภาพบุคคลในโรงเรียน ( =4.10, S.D.=1.05) ตามลำดับ โดยมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมค่อนข้างต่ำ แสดงว่าผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อโครงการโดยรวมสอดคล้องกัน
innova 12 พ.ย. 2563 เวลา 20:36 น. 0 448
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^