LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567เช็กเลย! สพป.บึงกาฬ เตรียมเปิดสอบครูผู้ช่วย 10 สาขาวิชาเอก 65 อัตรา ประกาศรับสมัคร 1 พ.ค.2567 23 เม.ย. 2567เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน 23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย

รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา

usericon

บทคัดย่อ

ชื่องานวิจัย : รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา
     โรงเรียนป่ากั้งวิทยา ตามแนวทางโรงเรียนวิถีพุทธ ด้วยกิจกรรม “PAKANG Model”
ชื่อผู้วิจัย : ภาคิญ ไชยวงค์*
ปีที่พิมพ์ : 2563

    การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนป่ากั้งวิทยา ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ โดยใช้รูปแบบการประเมินประยุกต์ CIPPIEST Model ซึ่งมีองค์ประกอบ 8 ด้าน คือด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืนและด้านการถ่ายทอดส่งต่อของโครงการ ประชากรคือครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โรงเรียนป่ากั้งวิทยา ปีการศึกษา 2562 จำนวน 376 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 279 คน ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา 18 คน กรรมการสถานศึกษา 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน 116 คน และนักเรียน138 คน โดยใช้วิธีการประเมินเชิงปริมาณ สำหรับการประเมินเชิงปริมาณใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ของลิเคอร์ท (Likert) และ แบบตรวจสอบรายการ (Check List) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
    ผลการประเมินพบว่า การดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา โรงเรียนป่ากั้งวิทยา ในปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผลการพิจารณาเป็นรายด้าน ดังนี้
    1. ด้านสภาพบริบทของโครงการ (Context)
     ฝ่ายบริหารโรงเรียน เห็นว่าโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา โรงเรียนป่ากั้งวิทยามีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 มีความจำเป็นต่อการแก้ปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนและการพัฒนานักเรียน มีความพร้อมที่เป็นไปได้ที่จะดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมาย มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมและสถานการณ์ปัจจุบัน
    2. ด้านปัจจัยนำเข้าการดำเนินโครงการ (Input)
     ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัย การดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา โรงเรียนป่ากั้งวิทยา ตามหลักการใช้ทรัพยากรในการบริหาร (4 M’s) ซึ่งเห็นว่ามีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีปัจจัยด้านบุคลากร (Man) และด้านการบริหารจัดการ (Management) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ (Materail) และด้านงบประมาณ (Money) มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก
    3. ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ (Process)
     ครู มีความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานในการจัด โครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา โรงเรียนป่ากั้งวิทยา ตามหลักการบริหารเชิงระบบ (PDCA) ด้วยกิจกรรม “ PAKANG Model ” ทั้ง 6 กิจกรรม ซึ่งเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทั้ง 6 กิจกรรม คือ กิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความสามัคคี กิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความขยันหมั่นเพียรใฝ่เรียนรู้ กิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความสุภาพเรียบร้อย กิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความรับผิดชอบ กิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเมตตากรุณา มีน้ำใจ
และกิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความซื่อสัตย์สุจริต โดยทุกกิจกรรมมีความเหมาะสมในการวางแผน (Plan) และการปฏิบัติ (Do) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการตรวจสอบ (Check) และการปรับปรุง (Act) อยู่ในระดับมาก
    4.    ด้านผลผลิตของโครงการ (Product)
         ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษาโรงเรียนป่ากั้งวิทยาอยู่ในระดับมาก โดยที่กิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความขยันหมั่นเพียรใฝ่เรียนรู้ กิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความสุภาพเรียบร้อย และกิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเมตตากรุณามีน้ำใจ มีผลการดำเนินงานเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความซื่อสัตย์สุจริต กิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความสามัคคี และกิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความรับผิดชอบ มีผลการดำเนินงานเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และพบว่ามีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนป่ากั้งวิทยาอยู่ในระดับมากที่สุด โดย
กิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความขยันหมั่นเพียรใฝ่เรียนรู้ กิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความสุภาพเรียบร้อย และกิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเมตตากรุณามีน้ำใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความซื่อสัตย์สุจริต กิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความสามัคคี และกิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความรับผิดชอบ อยู่ในระดับมาก
    5. ด้านผลกระทบของโครงการ (Impact)
     ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา เห็นว่าการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา โรงเรียนป่ากั้งวิทยา มีผลกระทบเชิงบวกต่อทั้งนักเรียน โรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด
    6. ด้านประสิทธิผลของโครงการ (Effectiveness)
     ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา เห็นว่าการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนป่ากั้งวิทยา ตามแนวทาง โรงเรียนวิถีพุทธ ด้วยกิจกรรม “ PAKANG Model ” อยู่ในระดับมากที่สุด โดยที่มีคุณธรรมด้านความเมตตากรุณามีน้ำใจ ความซื่อสัตย์สุจริต ความสุภาพเรียบร้อย ความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อหน้าที่ การประพฤติ ปฏิบัติตนตามหลักศีลห้า และความสามัคคีในหมู่คณะอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับการมีความขยันหมั่นเพียร อยู่ในระดับมาก
    7. ด้านความยั่งยืนของโครงการ (Sustainability)
     ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา เห็นว่าการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา โรงเรียนป่ากั้งวิทยามีความยั่งยืนอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเห็นว่าการจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของคณะครูและบุคลากรถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ประจำวันทุกวัน การจัดกิจกรรมต่างๆ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี การดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมมีแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นระบบ และโรงเรียนมีนโยบายสนับสนุนการจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมทุกปี อยู่ในระดับมากที่สุด แต่ประเด็นที่โรงเรียนจัดสรรงบประมาณในการจัดกิจกรรมอย่างเพียงพอทุกปี อยู่ในระดับมาก
    8. ด้านการถ่ายทอดส่งต่อของโครงการ (Transportability)
     ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา เห็นว่าการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา โรงเรียนป่ากั้งวิทยา มีการถ่ายทอดส่งต่ออยู่ในระดับมากที่สุด โดยที่โรงเรียนมีการสร้างเครือข่ายกับวัดในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน และโรงเรียนมีการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานอื่นๆในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนประเด็นที่สถานศึกษาหรือหน่วยงานอื่นมาศึกษาดูงานด้านคุณธรรมจริยธรรมที่โรงเรียนเป็นประจำ โรงเรียนขยายผลโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมไปยังผู้ปกครองและชุมชน และโรงเรียนขยายผลโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมไปยังสถานศึกษาอื่นๆ อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ :     การประเมินโครงการ / คุณธรรมจริยธรรม / รูปแบบ CIPPIEST Model
drpakin2562 23 ต.ค. 2563 เวลา 09:49 น. 0 413
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^