LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและ ความสามา

usericon

ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและ
ความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี)
ผู้วิจัย            นางดวงกมล วงค์ละคร ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล ๑ “เชิงชุมประชานุxxxล” สังกัดสำนักการศึกษา
เทศบาลนครสกลนคร จังหวัดสกลนคร
ปีที่วิจัย        2561

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) สรุปสาระที่ได้จากการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) (4) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้ (4.1) การเปรียบเทียบทักษะการฟัง ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) (4.2) การเปรียบเทียบทักษะการพูด ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) (4.3) การเปรียบเทียบทักษะการอ่าน ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 1 (4.4) การเปรียบเทียบทักษะการเขียน ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) และ (4.5) การเปรียบเทียบความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) Implement: l) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) (Evaluation: E) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล ๑ “เชิงชุมประชานุxxxล” สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสกลนคร จังหวัดสกลนคร จำนวนนักเรียน รวม 25 คน ด้วยการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t–test (Independent Sample t – test)

ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) มีกิจกรรมการเรียนการสอนที่เป็นขั้นเป็นตอนและชัดเจน ได้แก่ 1) ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement : E) 2) ขั้นเผชิญสถานการณ์ (Confrontation of events : C) 3) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Acting in real situation : A) 4) ขั้นแลกเปลี่ยนความคิดและสรุปความคิด (Reciprocation and conclusion : R) 5) ขั้นสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism : C) และ 6) ขั้นประยุกต์ใช้และประเมินผล (Application and assessment : A)
รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00 – 4.60 ซึ่งส่วนใหญ่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก แสดงว่ารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) มีความเหมาะสมในการนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย
    2. รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ตามความคิดเห็นของครูปฐมวัยที่ปฏิบัติการสอนอยู่ในชั้นเรียนของเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50-5.00 และความคิดเห็นของครูปฐมวัยที่ปฏิบัติการสอนอยู่ในชั้นเรียนของเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 3-4 ปี และ 5-6 ปี มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50-4.00 แสดงว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 3-4 ปี 4-5 ปี และ 5-6 ปี
3. เด็กปฐมวัยมีทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนและโดยรวมทั้ง 4 ด้านและความสามารถในการแสวงหาความรู้ แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ทำให้เด็กปฐมวัยมีทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้เพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
4.1 ทักษะการฟัง ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ทักษะการฟังหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) สูงกว่า ก่อนเรียน ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการฟังเพิ่มขึ้น
4.2 ทักษะการพูด ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ทักษะการพูดหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) สูงกว่า ก่อนเรียน ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการพูดเพิ่มขึ้น
4.3 ทักษะการอ่าน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ทักษะการอ่านหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) สูงกว่าก่อนเรียน ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการอ่านเพิ่มขึ้น
4.4 ทักษะการเขียน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ทักษะการเขียนหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) สูงกว่าก่อนเรียน ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการเขียนเพิ่มขึ้น
4.5 ความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) สูงกว่าก่อนเรียน ทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยเพิ่มขึ้น

2oed.ponkaow 31 ส.ค. 2563 เวลา 21:58 น. 0 394
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^