LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.อุดรธานี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 3 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.ตรัง กระบี่ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.กระบี่ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบูรณ์ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 3 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่า

usericon


ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างมี        วิจารณญาณ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา     นายประภาส พลาศรัย
สังกัด        โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดพรหมวิหาร) เทศบาลตำบลแม่สาย จังหวัดเชียงราย
ปีที่ศึกษา    2562

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดพรหมวิหาร) จำนวน 30 คน และ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดพรหมวิหาร) จำนวน 28 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
    จากการศึกษาสภาพปัญหาในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษา ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ยังไม่ตอนสนองต่อการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผู้วิจัยได้สรุปหลัก การจัดการเรียนรู้พลศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งนำเอาแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน หรือการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ นำมาประยุกต์เข้ากับแผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาประกอบด้วยขั้นตอนการสอน 6 ขั้นตอน ได้แก่1) ขั้นเตรียม 2) ขั้นอธิบายและสาธิต 3) ขั้นฝึกปฏิบัติ 4) ขั้นอภิปราย 5) ขั้นนำไปใช้ 6) ขั้นสรุป ได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อหาความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC) เท่ากับ 0.97 และมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ (E1/ E2 ) = 81.37 /83.17 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ จึงสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนพลศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ หมายความว่า ค่าเฉลี่ยจากพฤติกรรมการเรียนรู้ ผลงาน ของนักเรียน และแบบทดสอบย่อยระหว่างเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ พลศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 ทั้ง 14 แผน คิดเป็นร้อยละ 81.37 และคะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 83.17 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน แสดงว่า แผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ที่ปรากฏผลเช่นนี้อาจเนื่องมาจาก การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์ประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์อย่างสมเหตุสมผล เพื่อใช่ในการตัดสินใจ
    ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนการทดสอบกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังการเรียนการสอนพลศึกษา ของกลุ่มที่ 1 สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยคะแนนการทดสอบกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังการเรียนการสอนพลศึกษาของทดลอง สูงกว่าควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พลศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ย (X ) = 4.95 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.15 คิดเป็นร้อยละ 97.97 หมายถึงมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด
    จากข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ พลศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น สามารถพัฒนาทั้งทางด้านกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณและนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนมากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^