LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษตามแนว
การสอนเพื่อการสื่อสารโดยใช้เอกสารจริงที่เน้นสื่อ
        ในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย        นวภัทร โยคะสิงห์
ปีการศึกษา    2562
บทคัดย่อ
    การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษา อังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารโดยใช้เอกสารจริงที่เน้นสื่อในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารโดยใช้เอกสารจริงที่เน้นสื่อในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถ ในการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารโดยใช้เอกสารจริงที่เน้นสื่อในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถ ในการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารโดยใช้เอกสารจริงที่เน้นสื่อในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียน การสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารโดยใช้เอกสารจริงที่เน้นสื่อในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3.2) เพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารโดยใช้เอกสารจริงที่เน้นสื่อในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารโดยใช้เอกสารจริงที่เน้นสื่อในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา ตำบลบางพระ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองตราด ได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 33 คน ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 30 คน และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน 31 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 94 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน 31 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา ตำบลบางพระ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองตราด ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอน เพื่อการสื่อสารโดยใช้เอกสารจริงที่เน้นสื่อในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 18 แผน 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อ การสื่อสารโดยใช้เอกสารจริงที่เน้นสื่อในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ 3. แบบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 ข้อ 4. แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถ ในการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารโดยใช้เอกสารจริง ที่เน้นสื่อในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ชุด ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารโดยใช้เอกสารจริงที่เน้นสื่อในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4     จำแนกเป็นประเด็นการวิเคราะห์ดังนี้
        1.1 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 มีประเด็นการวิเคราะห์ดังนี้
         1.1.1 ภาพรวมการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
มีสาระสำคัญอะไรบ้าง พบว่า “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9-11 โดยการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ครั้งนี้ สำนักคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดทำบนพื้นฐานของกรอบยุทธศาสตร์ชาติ
            1.1.2 หลักการสำคัญของการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 มีหลักการอะไรบ้าง พบว่า 1) การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ 2) ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม 3) ยุทธศาสตร์ การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน 4) ยุทศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืน
            1.1.3 จุดเปลี่ยนสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 มีจุดเปลี่ยนอะไรบ้าง พบว่า ปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 ตลอดจนประเด็นการปฏิรูปประเทศ รวมทั้งร่วมจัดทำรายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อมุ่งสู่ “ความมั่นคง มั่งคง และยั่งยืน”
        1.2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีประเด็นการวิเคราะห์ดังนี้
            1.2.1 หมวด 5 หน้าที่ของรัฐตามมาตรา 54 มาตรา 69 และมาตราอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา มีรายละเอียดอะไรบ้าง พบว่า รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปีตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาดำเนินการใช้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามเพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย



    1.3 แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 มีประเด็นการวิเคราะห์ดังนี้
        1.3.1 อะไรคือวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษา พบว่า เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และจุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษาดังกล่าวข้างต้น คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ
        1.3.2 อะไรคือวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา พบว่า การจัดการศึกษาเพื่อปวงชนการจัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมและทั่วถึง เพื่อปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
        1.3.3 อะไรคือเป้าหมายด้านผู้เรียน พบว่า เป้าหมายด้านผู้เรียน คือ การมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยทักษะและคุณลักษณะต่อไปนี้ 3Rs ได้แก่ การอ่านออก การเขียนได้และการคิดเลขเป็น 8 Cs ได้แก่ ทักษะด้านการคิดและการแก้ปัญหา ทักษะด้านการสร้างสรรค์ ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะอาชีพและการเรียนรู้ ความมีเมตตา มีวินัย คุณธรรม
            1.3.4 อะไรคือเป้าหมายของการจัดการศึกษา พบว่า เป้าหมายของการจักการศึกษามี 5 ประการ คือ 1) ประชากรทุกคนเข้าการศึกษาที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานอย่างทั่วถึง 2) ผู้เรียนทุกคนทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับบริหารการศึกษา 3) ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาผู้เรียนได้ 4) ระบบการบริหารจักการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ 5) ระบบการศึกษาที่สนองตอบและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
            1.3.5 อะไรคือยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และตัวชี้วัดในแผนการศึกษาแห่งชาติ พบว่า มีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา 4 ประการ 1) เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการศึกษา 2) เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี 3) เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณธรรม 4) เพื่อพัฒนาประเทศไทยก้าวข้ามกับดับประเทศที่มีรายได้ปานกลางและความเหลื่อมล้ำภายในประเทศลดลง
    1.4 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545
และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 มีประเด็นการวิเคราะห์ดังนี้
    1.4.1 มาตรา 4 ได้ให้ความหมายการศึกษาคืออะไร พบว่า “การศึกษา” หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ
    1.4.2 มาตรา 6 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอะไร พบว่า เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
            1.4.3 มาตรา 8 การจัดการศึกษาให้ยึดหลักอะไร พบว่า การจัดการศึกษาให้ยึดหลัก ดังนี้ 1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน 2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 3) การพัฒนาสาระและกระบวนการการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
            1.4.4 มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า พบว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามและเต็มตามศักยภาพ
            1.4.5 มาตรา 23 การจัดการศึกษาเน้นความสำคัญอะไร พบว่า การจัดการศึกษาต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้คุณธรรมกระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา
            1.4.6 มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ดำเนินการอย่างไร พบว่า 1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน 2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ 3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง 4) จัดการเรียนรู้การสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ 5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนจัดบรรยากาศได้
        1.5 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีประเด็นการวิเคราะห์ดังนี้
            1.5.1 มีจุดหมายการพัฒนาอย่างไร พบว่า 1) มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ 2) มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด 3) มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีมีสุขนิสัยและรักการออกกำลังกาย 4) มีความรักชาติ 5) มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
            1.5.2 ผู้เรียนมีสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนอย่างไร พบว่า 1) ความสามารถในการสื่อสาร 2) ความสามารถในการคิด 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา 4) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
        1.6 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีประเด็นการวิเคราะห์ดังนี้
            1.6.1 ทำไมต้องเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ พบว่า สามารถใช้ภาษาต่างประเทศ สื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ แสวงหาความรู้ ประกอบอาชีพและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวและวัฒนธรรมอันหลากหลายของประชาคมโลกและสามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์
            1.6.2 เรียนรู้อะไรในกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า มีความสำคัญในชีวิตประจำวันเนื่องจากเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารสามารถถ่ายทอดความรู้ประกอบไปด้วยสาระสำคัญ ดังนี้ 1) ภาษาเพื่อการสื่อสาร 2) ภาษาและวัฒนธรรม 3) ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น 4) ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
            1.6.3 คุณภาพของผู้เรียนเมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีอะไรบ้าง พบว่า ปฏิบัติตามสั่ง คำขอร้องและคำแนะนำ พูด/เขียน โต้ตอบในการสื่อสารระหว่างบุคคลใช้คำสั่ง คำของร้องและให้คำแนะนำ พูด/เขียน ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ใช้ถ้อยคำ น้ำเสียงและกิริยาท่าทางอย่างสุภาพเหมาะสม บอกความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่างๆ
            1.6.4 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มาตรฐาน ต 1.1 มีอะไรบ้าง พบว่า ค้นคว้ารวบรวมคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนอื่นจากแหล่งการเรียนรู้ ใช้ภาษาสื่อสารในสภาพการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลต่างๆ มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ เน้นการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน



        1.7 เทคนิคการเรียนการสอน มีประเด็นการวิเคราะห์ดังนี้
            1.7.1 รูปแบบยุทธวิธีการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า
                1.7.1.1 รูปแบบยุทธวิธีการเรียนรู้เชิงรุกมาจากแนวคิด ทฤษฎีอะไร พบว่า การเรียนรู้เชิงรุก เป็นนักการศึกษาผู้นำด้านหลักสูตรและการสอนการบริหาร การวิจัยและเป็นนักเขียนทั้งสื่อสารพิมพ์และซอฟต์แวร์ต่างๆ
                1.7.1.2 รูปแบบยุทธวิธีการเรียนรู้เชิงรุก มีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนอย่างไร พบว่า 1) ขั้นสร้างการเชื่อมต่อ 2) ขั้นเสริมพลังการเรียนรู้ 3) ขั้นสังเคราะห์ข้อมูลสร้างความหมาย 4) ขั้นใช้แหล่งความรู้ ภายนอกศึกษา 5) ขั้นไตร่ตรองสะท้อนความคิด
                1.7.1.3 รูปแบบยุทธวิธีการเรียนรู้เชิงรุกบทบาทของครูมีอะไรบ้าง พบว่า 1) ตั้งความคาดหวังว่าผู้เรียนจะเกิดผลการเรียนรู้ 2) รับพิจารณาผลงานคุณภาพเท่านั้น 3) ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายสิ่งที่สอน 4) ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้เชิงรุก 5) ประเมินการเรียนรู้ด้วยวิธีการหลากหลาย 6) ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้
                1.7.1.4 รูปแบบยุทธวิธีการเรียนรู้เชิงรุกบทบาทของผู้เรียนมีอะไรบ้าง พบว่า ผู้เรียนนำไปใช้ในชีวิตได้รวมทั้งเพื่อประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนการไตร่ตรองสะท้อนความคิดตามทัศนะของผู้เขียนได้
            1.7.2 การสอนอ่านแบบ OK4R และ PQRST พบว่า
                1.7.2.1 การสอนอ่านแบบ OK4R และ PQRST มาจากแนวคิด ทฤษฎีอะไร พบว่า Peter Edwards เป็นผู้คิดค้นขึ้นแล้วนำไปทดลองสอนกับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาในมหาวิทยาลัยบริทิซู โคลัมเบียซึ่งการสอนอ่านแบบ PANORAMA นี้พยายามนำจุดเด่นของเทคนิคการสอนแบบต่างๆ มาผสมผสานเพื่อจะช่วยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจการอ่านได้ดีขึ้น
                1.7.2.2 การสอนอ่านแบบ OK4R และ PQRST มีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนอย่างไร พบว่า 1) Overview คือ การอ่านอย่างคร่าวๆ 2) Keyidea คือ การหาใจความสำคัญแล้วตั้งคำถาม 3) Read คือ การอ่าน 4) Recall คือ การระลึกสิ่งที่อ่านไปแล้ว 5) Reflect คือ การสะท้อนความคิด 6) Review คือ การทบทวนเรื่องใหม่ที่อ่าน
        1.8 การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา มีประเด็นการวิเคราะห์ดังนี้
            1.8.1 การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษามีสาระสำคัญอะไรบ้าง พบว่า การสอนภาษาที่มุ่งเน้นการใช้ปัจจัยป้อนและกระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีต่างๆ ที่ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและได้ประสบการณ์ตรงในการใช้ภาษาทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนอย่างต่อเนื่อง
            1.8.2 หลักสำคัญของการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา มีอะไรบ้าง พบว่า วิธีการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษาเน้นการพัฒนาภาษาในบริบทที่เป็นไปตามการรับรู้โยธรรมชาติเน้นปัจจัยป้อนได้แก่บทเรียน หรือกิจกรรมนำไปสู่การให้ผู้เรียนได้รับรู้รูปแบบของภาษาจนเกิดความเข้าใจและนำไปสู่การรับรู้ในอรรถลักษณะต่าง
            1.8.3 การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษามีรูปแบบการจัดการเรียนรู้อะไรบ้าง พบว่า ขั้นที่ 1 นักเรียนอยู่ร่วมกันอภิปราย/สนทนาเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านร่วมกันกับครู ขั้นที่ 2 ครูโยงเรื่องที่อ่านเข้าสู่ตัวนักเรียน ขั้นที่ 3 ครูและนักเรียนเขียนเรื่องกันในกลุ่ม ขั้นที่ 4 อภิปรายสนทนาและวิเคราะห์อรรถลักษณะเนื้อความ ขั้นที่ 5 กิจกรรมเสริมทักษะทางภาษา
    2. รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารโดยใช้เอกสารจริงที่เน้นสื่อในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 “PPIRC Model” (พีพีไออาร์ซี โมเดล) ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียม (Preparation stage : P) ขั้นที่ 2 ขั้นเสริมพลังการเรียนรู้ (Powering up stage : P) ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกปฏิบัติการอ่าน (Intermediate stage : I) ขั้นที่ 4 ขั้นไตร่ตรองสะท้อนความคิด (Reflecting stage : R) ขั้นที่ 5 ขั้นสรุป (Concluding stage : C) โดยมีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.62/83.01 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถ ในการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารโดยใช้เอกสารจริงที่เน้นสื่อในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
        3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียน การสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารโดยใช้เอกสารจริงที่เน้นสื่อในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
        3.2 ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารโดยใช้เอกสารจริงที่เน้นสื่อในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
    4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารโดยใช้เอกสารจริงที่เน้นสื่อในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมาก

    

thayaya2522 29 ส.ค. 2563 เวลา 17:55 น. 0 645
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^