LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน PIACE Model

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน PIACE Model
        เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ผู้วิจัย        นางอารีรัตน์ อีหวั่น
ปีการศึกษา    2559

บทคัดย่อ

    การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน PIACE Model เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน PIACE Model เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนการสอน PIACE Model เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน PIACE Model และเพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน PIACE Model และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอน PIACE Model เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา จำนวนทั้งสิ้น 33 คน ประกอบด้วย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 16 คน และชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 17 คนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 17 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์ข้อมูล จำนวน 1 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 1 ฉบับ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ชุด ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน PIACE Model เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ จำแนกเป็นประเด็นการวิเคราะห์ดังนี้
        1.1 ประเด็นการวิเคราะห์รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พบว่า ประเทศชาติมีความสงบ เรียบร้อย มีความสามัคคีปรองดอง มีการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและมีการสมดุลระหว่างการพัฒนาทางด้านวัตถุกับการพัฒนา ด้านจิตใจ กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามความนัดและความสนใจ เป็นรัฐธรรมนูญที่มีจำนวนหมวดมากที่สุด มีการเพิ่มทั้งหมด 6 หมวด เป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ปัญหาการทุจริตในสังคมไทย ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นน้อยลง
        1.2 ประเด็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564 พบว่า ให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทย จากประเทศที่มีรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง มีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน พัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และสนับสนุนการวิจัย เศรษฐกิจไทยมีขนาดใหญ่ขึ้น มีฐานการผลิตและบริการที่มีความเข้มแข็งและโดดเด่นในหลายสาขา เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา สร้างความมั่นคงของชาติ พัฒนาทุกคนให้เป็นคนดี คนเก่ง
        1.3 ประเด็นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 พบว่า เนื้อหาสาระและกิจกรรมควรสอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ด้านทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ผู้เรียนมีโอกาสทางการศึกษาตลอดชีวิตทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย การพัฒนาทักษะและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง จัดการศึกษา อบรมและสนับสนุน ให้เอกชนจัดการศึกษา ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
        1.4 ประเด็นแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 พบว่า พัฒนาคนไทยทุกช่วงวัยให้มีศักยภาพ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ ได้ด้วยตนเอง ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย การเปลี่ยนแปลงของบริบททางเศรษฐกิจและสังคมโลกในยุคดิจิทัลและก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 คนไทยได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ
        1.5 ประเด็นหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ พบว่า การจัดทำสาระการเรียนรู้โดยยึดตามหลักสูตรแกนกลางฯ ทำให้เกิดเอกภาพในการจัดการศึกษาและง่ายต่อการนำไปใช้จัดการเรียนการสอน เป้าหมายการจัดการเรียนการสอนกระการวัดผลมีความชัดเจนสะดวก ต่อการวางแผนการจัดการเรียนรู้ สถานศึกษามีการจัดการศึกษาได้ตามความพร้อมและเหมาะสมกับเวลา สามารถยืดหยุ่นได้ ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ตามสภาพท้องถิ่น ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น การวัดและประเมินผลผู้เรียน มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้
        1.6 ประเด็นหลักสูตรสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า เป็นแบบแผนของการจัดการที่จะพัฒนาผู้เรียนในทุกๆ ด้าน เพื่อให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและ ความต้องการของสังคม ชุมชนและท้องถิ่น พัฒนาผู้เรียนไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วยให้การจัดการศึกษาในท้องถิ่นมีคุณภาพและประสิทธิภาพ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยวิเคราะห์จากคำอธิบายรายวิชา รายปีหรือรายภาคและหน่วยการเรียนรู้ จัดทำเป็นรายวิชาโดยบูรณาการหรือสอดแทรกแนวความคิดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้
        1.7 ประเด็นเทคนิคการจัดการเรียนการสอน พบว่า ควรใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลายและมีสื่อ เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการจัดการเรียนการสอน การสอนไวยากรณ์และการแปล(Grammars Translation) เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจบทเรียนมากยิ่งขึ้น การจัดการเรียนการสอน โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะ
    2. รูปแบบการจัดการเรียนการสอน PIACE Model เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ที่ผู้วิจัย ได้พัฒนาขึ้น มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 Preparation Stage (P) คือ ขั้นการเตรียมตัวเพื่อเปิดรับ ขั้นที่ 2 Intermediate Stage (I) คือ ขั้นการอ่าน ขั้นที่ 3 Analysis Stage (A) คือ ขั้นการวิเคราะห์ไตร่ตรอง ขั้นที่ 4 Co-creation Stage (C) คือ ขั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขั้นที่ 5 Evaluation Stage (E) คือ ขั้นการประเมินผล โดยมีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.10/83.73 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน PIACE Model
        3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน PIACE Model เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยก่อนการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน PIACE Mode มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.47 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.65 และหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน PIACE Mode มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 25.12 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.47
        3.2 ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน PIACE Model หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยก่อนการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน PIACE Mode มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.47 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.49 และหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน PIACE Mode มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.76 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.48
    4. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอน PIACE Model เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ อยู่ในระดับมาก

    

thayaya2522 27 ส.ค. 2563 เวลา 13:46 น. 0 398
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^