LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5

การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยแบบฝึกทักษะ

usericon

ชื่อเรื่อง :    การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยแบบฝึกทักษะ ประกอบกิจกรรมเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ผู้รายงาน :     นางวรัญญา ยุ้งทอง

ปีที่ศึกษา :    2561

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยแบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดกิจกรรมเทคนิค STAD 3) ทดลองจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยแบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดกิจกรรมเทคนิค STAD 4) ประเมินและปรับปรุงกระบวนการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยแบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดกิจกรรมเทคนิค STAD การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยแบบ R&D รวม 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ระยะที่ 2 การพัฒนาและหาประสิทธิภาพ ระยะที่ 3 ทดลองใช้ และ 4) ประเมินและปรับปรุงแก้ไข การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมดงยาง อำเภอนาดูน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ในปีการศึกษา 2561 จำนวน 20 คน เครื่องมือ ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 แผน 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 50 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วย t-test (Dependent Sample) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
    1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ ด้านการอ่านภาษาไทย ที่เชื่อมโยงการพัฒนาความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า ครูส่วนมากยังขาดการสนับสนุนให้ผู้เรียนใช้ศักยภาพในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณเท่าที่ควร โดยเฉพาะวิธีการคิดออกแบบเนื้อหาและเลือกใช้ข้อความในการอ่านที่มีเหตุผลหรือข้อโต้แย้ง เพื่อชักจูงโน้มน้าวให้ผู้อ่านคิดด้วยการไตร่ตรองและยอมรับเพื่อนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ผู้สอนเห็นว่าการอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรนำมาพิจารณาดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์ด้านการคิดไตร่ตรอง อีกทั้งนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ส่วนมากยังมีความสามารถพื้นฐานการอ่านอย่างมีวิจารณญาณในระดับพอใช้ และต้องการพัฒนาให้มีความสามารถด้านดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีก โดยให้มีการพัฒนาแบบฝึกที่มีกิจกรรมหลากหลาย รูปเล่มมีภาพประกอบที่มีสีสันสวยงาม ภาษาที่ใช้เข้าใจง่าย สอดแทรกกิจกรรมที่หลากหลาย เนื้อหาของแต่ละแบบฝึกมีการเชื่อมโยงกัน ในแบบฝึกกิจกรรมตัวอักษรมีความชัดเจน สำนวนภาษา เนื้อหาที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน ควรฝึกจากง่ายไปหายาก และเน้นการฝึกเป็นกลุ่ม
    2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของการพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ วิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยเทคนิค STAD พบว่า แบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบด้วย การอ่านนิทาน เพลง บทร้อยกรอง โฆษณา ข่าว พระบรมราโชวาท และบทความ ซึ่งแบบฝึกทักษะแต่ละชุด มีองค์ประกอบดังนี้ คือ คำนำ คำชี้แจง วัตถุประสงค์ ใบความรู้ แบบฝึกทักษะ และแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบฝึกทักษะมี 10 ชุด และแบบฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 85.80/82.50
    3. ผลการทดลองพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่ได้การพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6770 แสดงว่า นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพิ่มขึ้น 0.6770 หรือคิดเป็นร้อยละ 67.70 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนมีความเห็นว่าแบบฝึกมีเนื้อหาน่าสนใจ เข้าใจง่าย มีการ์ตูนและภาพประกอบสวยงาม มีการเรียงลำดับขั้นตอนจากง่ายไปยากทำให้นักเรียนสามารถอ่าน และเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
    4. ผลการประเมินและปรับปรุง จากการสอบถามความคิดเห็น ของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า
ภาพรวมนักเรียนมีความคิดเห็นต่อแบบฝึกอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงวลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับ ได้แก่ ด้านบรรยากาศ ด้านประโยชน์ และด้านลักษณะของแบบฝึก
monchin2562 26 ส.ค. 2563 เวลา 21:02 น. 0 419
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^