LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค

usericon

ชื่อเรื่อง    :      การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้รายงาน    :    นางวรัญญา ยุ้งทอง
ปีการศึกษา     :    2562    
บทคัดย่อ

    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ครั้งนี้ มีความมุ่งหมายของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของครูผู้สอน และสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บ โดยออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมดงยาง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3.1) ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่พัฒนาขึ้น ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3.2) ผลการหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3.3) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน-หลังเรียน ของกลุ่มทดลอง โดยใช้ t-test แบบ Dependent Samples 3.4) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดสร้างสรรค์ ในภาพรวมของการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ฯ ก่อนเรียน-หลังเรียนของกลุ่มทดลอง โดยใช้ t-test แบบ Dependent Simples 3.5) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่พัฒนาขึ้น ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภายหลังสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมดงยาง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ในภาคเรียน 2 ปีการศึกษา 2562 ที่กำลังเรียน รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 29 คน โดยการเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่พัฒนาขึ้น ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 4 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่พัฒนาขึ้น ตามรูปแบบการจัด การเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ และแบบวัดความพึงพอใจสำหรับนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 4) แบบประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ เกี่ยวกับความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่พัฒนาตามขั้นตอน เครื่องมือวัด และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน 5) แบบรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บของผู้ทรงคุณวุฒิ การวิเคราะห์หาคุณภาพของเครื่องมือ โดยหาการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (Needs Assessment) โดยผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้ มาหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (Priority Needs Index) เพื่อจัดลำดับความต้องการจำเป็น ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) โดยใช้วิธีของโรวิเนลลี (Rovinelli) และแฮมเบิลตัน (R.H.Hambleton) หาค่าความยาก (P) และค่าอำนาจจำแนก (r) โดยหาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีของโลเวทท์ (Lovett) หาคุณภาพของแบบสอบถาม หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ( -Coefficient) โดยหาค่าความเชื่อมั่นตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของการเรียนรู้บนเว็บ (E1/E2 ) ตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้บนเว็บ โดยใช้วิธีของxxxดแมน,เพลคเทอร์ และ ชไนเดอร์ และวิเคราะห์คะแนนทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย คะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ค่าสถิติ T – test (Dependent Samples)
    ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 4 ของครูผู้สอน และสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บ โดยออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมดงยาง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ดังนี้
1.1 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของครูผู้สอน โดยการสอบถามจากครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทยในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ที่จัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 6 คน พบว่า
ผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลรายวิชาภาษาไทยอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.51 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.15
ผู้สอนมีความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลรายวิชาภาษาไทยอยู่ในระดับมาก คะเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.24
มีโดยมีค่า PNI modified อยู่ระหว่าง 0.320-0.552 ซึ่งครูมีความต้องการจำเป็น ในข้อที่ 11. การจัดการเรียนรู้บนเว็บ ในรายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร และข้อที่ 17. มีการวัดและการประเมินผลบนเว็บมากที่สุด (PNI modified = 0.552) รองลงมา คือข้อที่ 6. เนื้อหามีความทันสมัยเหมาะกับการนำไปใช้ (PNI modified = 0.538) และข้อที่ 9. กิจกรรมการเรียนรู้แต่ละแผน สอดคล้องผลการเรียนรู้ (PNI modified= 0.536)
1.2 ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมดงยาง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม มีดังนี้
1.2.1 องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดจาก หน่วยงาน องค์การ นักวิชาการ ดังนี้ Vishwanath (2006 : 115 - 116), Joyce, B. and M. Weil (2011 : 159-388), ทิศนา แขมมณี (2557 : 222) ซึ่งสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการจัด
การเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 6 องค์ประกอบ ซึ่งประกอบด้วย 1) หลักการแนวคิด ทฤษฎี
2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง
และ 6) ระบบสนับสนุน
1.2.2 องค์ประกอบของการเรียนรู้บนเว็บ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดจาก หน่วยงาน องค์การ นักวิชาการ ดังนี้ รัฐกรณ์ คิดการ (2551 : 15-20), วิชุดา รัตนเพียร (2545 : 29-35) , ใจทิพย์ ณ สงขลา (2542 : 18-28) , ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2544 : 87-94) , สุมาลี ชัยเจริญ (2550 : 23-25) , ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2554 : 91-92) เป็นบทเรียนบนเว็บในรายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยอาศัยคุณลักษณะของบทเรียนบนเว็บในการออกแบบการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 4 องค์ประกอบ คือ 1) การบริหารจัดการ (Learning Management) 2) การจัดการเนื้อหา (Content Management) 3) การติดต่อสื่อสาร (Communications) 4) การประเมินผล (Evaluation)
1.2.3 องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ แบ่งเป็น 4 องค์ประกอบ ได้แก่
(1) ความคิดคล่อง (Fluency) (2) ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) (3) ความคิดริเริ่ม (Originality) และ (4) ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ฝึกการคิด ที่สวนทางกับ
แนว ความคิดเดิม รูปแบบเดิมที่เคยทำ โดยไม่ได้คำนึงถึงความสมเหตุสมผล เป็นการคิดเพื่อให้ได้ปริมาณของความคิด ซึ่งปริมาณของความคิดมีความสำคัญต่อกระบวนการคิดสร้างสรรค์ สามารถนำความคิดไปใช้แก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์ชิ้นงานใหม่ๆ ได้ โดยมีกิจกรรมเพื่อฝึกความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดแนวคิดของทอแรนซ์ ในการวัดความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปภาพเป็นสื่อ แบบ ก ดังนี้
1) กิจกรรมชุดที่ 1 การวาดภาพ
2) กิจกรรมชุดที่ 2 วาดภาพให้สมบูรณ์
3) กิจกรรมชุดที่ 3 การใช้เส้นคู่ขนาน
2. ผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดย ผู้ทรงคุณวุฒิได้ประเมินความเหมาะสมของร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
3.1. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 81.46/80.86 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3.2 ผลการหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.6978 ซึ่งแสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.78
3.3 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน-หลังเรียน ของกลุ่มทดลอง โดยใช้ t-test แบบ Dependent Samples พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3.4 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดสร้างสรรค์ในภาพรวมของการ
จัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ฯ ก่อนเรียน - หลังเรียนของกลุ่มทดลอง โดยใช้ t-test แบบ Dependent Simples พบว่า ผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดสร้างสรรค์ ด้านความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น ความคิดริเริ่ม และความคิดละเอียดลออ หลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3.5 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ
การจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภายหลังสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

monchin2562 26 ส.ค. 2563 เวลา 20:57 น. 0 348
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^