LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เพชรบุรี เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สมุทรสงคราม - ผลย้ายครู 2567 สพป.สมุทรสงคราม

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พาคิดส์ (PAKIDS Model)ป2ครูขวัญตา

usericon

วิจัยเรื่อง:        การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานอย่างง่าย"นักคณิตศาสตร์น้อย"
            พาคิดส์ (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน
            กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย:        นางสาวขวัญตา สุวรรณอินทร์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานที่ทำงาน:    โรงเรียนเทศบาล ๖ (วัดเมืองยะลา) อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
            สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
            กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย:        2562-2563

บทคัดย่อ

    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย "นักคณิตศาสตร์น้อย" (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักคณิตศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักคณิตศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักคณิตศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 4)เพื่อประเมินความคิดเห็นและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักคณิตศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๖ (วัดเมืองยะลา) อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา กระส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 18 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งผู้วิจัยเป็นครูประจำวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 5 ชนิด ดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักคณิตศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 20 ชั่วโมง ๆ ละ 1 แผน รวมทั้งสิ้น 20 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบแบบคู่ขนาน 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบแบบคู่ขนาน 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 4)แบบประเมินจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักคณิตศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 ข้อ และ 5)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักคณิตศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่าที และค่าดัชนีประสิทธิผล
    ปรากฏผลการวิจัยและพัฒนา ดังนี้
    1. สภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปรากฏผลดังนี้
        1.1 สภาพปัจจุบันครูมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับปานกลาง
        1.2 ความต้องการของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ครูประจำวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสังกัดกองการศึกษา เทศบาลนครยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา กระส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย จำนวน 5 คน มีความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 2 (ค 12101) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
    2. การพัฒนา คุณภาพและประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักคณิตศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปรากฏผลดังนี้
        2.1 ความเหมาะสมของรูปแบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักคณิตศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ครูประจำวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
        2.2 ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักคณิตศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 คือ ปรับปรุงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยืดหยุ่นระยะเวลาในการเรียนให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรม และเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนต้องบริหารเวลาให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนตามความยาวของเนื้อหา
        2.3 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักคณิตศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 85.20/83.89
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักคณิตศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปรากฏผลดังนี้
        3.1 ดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักคณิตศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.6834 หรือคิดเป็นร้อยละของความก้าวทางการเรียน เท่ากับ 68.34
        3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักคณิตศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        3.3 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักคณิตศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        3.4 จิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักคณิตศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก
        3.5 ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักคณิตศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก
    4. ผลประเมินความคิดเห็นและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักคณิตศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ: วิจัยและพัฒนา, รูปแบบการจัดการเรียนรู้, การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน, นักคณิตศาสตร์น้อย, รูปแบบการจัดการเรียนรู้พาคิดส์ , ประถมศึกษาปีที่ 2
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^