LASTEST NEWS

28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 28 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.ตรัง เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.ปัตตานี เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ตรัง เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตรัง เขต 2 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย     นันทา จูวงส์
ปีการศึกษา 2562

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีขั้นตอนดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่หนึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เป็นขั้นของการวิจัย (Research) ขั้นตอนที่สองเป็นการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึก เป็นขั้นของการพัฒนา (Development) ขั้นตอนที่สาม เป็นการทดลองใช้แบบฝึกที่สร้างขึ้น เป็นขั้นของการวิจัย (Research) ขั้นตอนที่สี่ เป็นการประเมินผลและปรับปรุงแบบฝึก เป็นขั้นของการพัฒนา (Development) ผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One-Group Pre-test, Post-test Design) ซึ่งมีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการอ่านคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ การอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาล วัดเสมาเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานการศึกษาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 42คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling) ซึ่งการจัดห้องเรียนของโรงเรียนคละความสามารถของผู้เรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานความต้องการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 เล่ม 3) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 ชั่วโมง 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5




ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐานความต้องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้เชี่ยวชาญ ครูผู้สอน นักเรียนมีความเห็นด้วยที่ควรจัดทำสื่อประเภทแบบฝึกทักษะเนื่องจากการนักเรียนได้รับการส่งเสริมด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ และการเขียนมากขึ้นและ แบบฝึกยังเป็นสื่อที่ช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วขึ้น มีความเข้าใจและได้ประสบการณ์ตรง มากขึ้น และต้องการให้สร้างแบบฝึกทักษะที่มีรูปภาพประกอบสวยงาม มีรูปแบบที่หลากหลาย เนื้อหาน่าสนใจ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นที่ใกล้ตัวมาสร้างเป็นแบบฝึกทักษะ
2. ผลการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 84.13 / 82.46 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t - test แบบ Dependent) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D. = 0.49)





ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย     นันทา จูวงส์
ปีการศึกษา 2562

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีขั้นตอนดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่หนึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เป็นขั้นของการวิจัย (Research) ขั้นตอนที่สองเป็นการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึก เป็นขั้นของการพัฒนา (Development) ขั้นตอนที่สาม เป็นการทดลองใช้แบบฝึกที่สร้างขึ้น เป็นขั้นของการวิจัย (Research) ขั้นตอนที่สี่ เป็นการประเมินผลและปรับปรุงแบบฝึก เป็นขั้นของการพัฒนา (Development) ผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One-Group Pre-test, Post-test Design) ซึ่งมีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการอ่านคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานการศึกษาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 42คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling) ซึ่งการจัดห้องเรียนของโรงเรียนคละความสามารถของผู้เรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานความต้องการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 เล่ม 3) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 ชั่วโมง 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐานความต้องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้เชี่ยวชาญ ครูผู้สอน นักเรียนมีความเห็นด้วยที่ควรจัดทำสื่อประเภทแบบฝึกทักษะเนื่องจากการนักเรียนได้รับการส่งเสริมด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ และการเขียนมากขึ้นและ แบบฝึกยังเป็นสื่อที่ช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วขึ้น มีความเข้าใจและได้ประสบการณ์ตรง มากขึ้น และต้องการให้สร้างแบบฝึกทักษะที่มีรูปภาพประกอบสวยงาม มีรูปแบบที่หลากหลาย เนื้อหาน่าสนใจ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นที่ใกล้ตัวมาสร้างเป็นแบบฝึกทักษะ
2. ผลการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 84.13 / 82.46 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t - test แบบ Dependent) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น เรื่อง รักษ์ถิ่นเมืองนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D. = 0.49)







cherrybara 09 มิ.ย. 2563 เวลา 06:18 น. 0 405
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^