LASTEST NEWS

16 เม.ย. 2567โรงเรียนบ้านลานช้าง รับสมัครนักการภารโรง วุฒิไม่ต่ำกว่า ม.3 เงินเดือน 9,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 18 - 22 เมษายน 2567 15 เม.ย. 2567เปิดคุณสมบัติ ตำแหน่งนักการภารโรง สพฐ.จัดสรร 13,751 อัตรา วุฒิไม่ต่ำกว่า ม.3 เงินเดือน 9,000 บาท 15 เม.ย. 2567ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม) 15 เม.ย. 2567ศาลปกครองนครศรีธรรมราช ห้ามผู้บังคับบัญชา ออกคำสั่งให้ครู-บุคลากร อยู่เวร 15 เม.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ แจ้งเรื่อง การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ. 2567  14 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 14 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 14 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สระแก้ว เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระแก้ว เขต 1 14 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.เชียงราย เขต 4 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงราย เขต 4 14 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 1

รูปแบบกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรง

usericon

บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง     “รูปแบบกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนวัดพระศรีอารย์(ขันธราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2”
ผู้วิจัย     นางสาวกนกพร พิริยวุฒิกรอุดม
หน่วย    โรงเรียนวัดพระศรีอารย์(ขันธราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2
ปี 2562
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1.) เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนวัดพระศรีอารย์ (ขันธราษฏร์บำรุง) 2.) เพื่อพัฒนารูปแบบกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน 3.) เพื่อยืนยันรูปแบบกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน และ4.) เพื่อติดตามผลการจัดการศึกษาของโรงเรียน การวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาแนวคิดทฤษฎีการบริหารแบบมีส่วนร่วม ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบกระบวนการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ขั้นตอนที่ 3 ยืนยันรูปแบบโดยการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาผลลัพธ์ความสำเร็จจากการจัดการศึกษาของโรงเรียน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานเป็นการวิจัยทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามชนิดประมาณค่า ใช้กลุ่มตัวอย่างจาก กลุ่มที่ 1 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับโรงเรียนวัดพระศรีอารย์ (ขันธราษฎร์บำรุง) ผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 15 คน กลุ่มที่ 2 ได้แก่ผู้แทนจากชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 136 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลของการศึกษาสภาพการพัฒนากระบวนการบริหารอย่างมีส่วนร่วมของโรงเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 3 ด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ดำเนินการให้การสนับสนุน และให้กำลังใจ (Operations) กำหนดเป้าหมายการพัฒนา (Goals) และประเมินศักยภาพความพร้อม (Assessment) และอยู่ในระดับมากจำนวน 3 ด้านเรียงลำดับดังนี้ กำหนดวิธีการพัฒนา (Method) การประเมินผลตามเป้าหมาย (Evaluation) และปรับปรุงเพื่อพัฒนา (Act)
2. การสร้างร่างรูปแบบกระบวนการบริหารงานอย่างมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 1.) หลักการและเหตุผล หรือความเป็นมาของการสร้างรูปแบบ 2.) วัตถุประสงค์ 3.) ระบบงาน กลไกรูปแบบ 4.) กระบวนการ ได้แก่ 6 ลำดับขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนที่1. ประเมินศักยภาพความพร้อมของสถานศึกษา ครู และนักเรียน ขั้นตอนที่ 2 กำหนดเป้าหมายการพัฒนา ขั้นตอนที่ 3 กำหนดวิธีการพัฒนา ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการให้การสนับสนุน และให้กำลังใจ ขั้นตอนที่ 5 ประเมินผลตามเป้าหมาย ขั้นตอนที่ 6 ปรับปรุงเพื่อพัฒนา และ 5.) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 6.)ผลการดำเนินงานจากการใช้นวัตกรรม 7.) ข้อเสนอแนะสรุปสิ่งที่เรียนรู้และการปรับปรุงให้ดีขึ้น 8.)การขยายผลและเผยแพร่ผลการพัฒนา
3. ผลการตรวจสอบยืนยัน รูปแบบ การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน จำนวน 8 ข้อ เกี่ยวกับความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยการยืนยันของผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า โดยภาพรวม ความเป็นประโยชน์ มีค่าร้อยละสูงสุดคือ 96.70 รองลงมา ได้แก่ความเหมาะสม มีค่าร้อยละ 95.60 และความเป็นไปได้มีค่าร้อยละ 94.51
4. ผลลัพท์ความสำเร็จจากการเปรียบเทียบผลการประเมินผลการบริหารและจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียน ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2561- 2562 ในภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ ทั้งในประจำปีการศึกษา 2561 และ ปีการศึกษา2562 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนพบว่าในปีการศึกษา 2561 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี และ ปีการศึกษา2562 อยู่ในระดับคุณภาพยอดเยี่ยม
ผลลัพธ์ความสำเร็จจากรางวัลที่โรงเรียนได้รับระหว่างปีการศึกษา 2561 – 2562 ผ่านกลุ่มบริหารงานของโรงเรียน ทั้ง 4 กลุ่มบริหารงาน พบว่าโรงเรียนได้รับรางวัลในระดับคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนทั้งสิ้น 11 ประเภทรางวัล โดยครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนได้รับรางวัลระดับประเทศครบทุกคน
kanokpon56 08 มิ.ย. 2563 เวลา 21:14 น. 0 613
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^