LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 62 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

รายงานการวิจัยและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model

usericon

เรื่อง            รายงานการวิจัยและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model
เรื่อง โจทย์ปัญหา การบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย            ขนิษฐา ลำทุมลักษณ์
กลุ่มสาระการเรียนรู้    คณิตศาสตร์
ปีการศึกษา 2561

บทคัดย่อ

    การวิจัยและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหา การบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้ 3.1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3.2 เปรียบเทียบทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3.3 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อขยายผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล วัดเสาธงทอง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวนนักเรียน 46 คนได้มาโดยการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2561 ถึงวันที่ 3 ตุลาคม 2561 กลุ่มขยายผลรูปแบบครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาลวัดเสาธงทอง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวนนักเรียน 43 คน
    ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย คือ ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test (Dependent Samples)

ผลการวิจัย พบว่า
    ผลการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สามารถสรุปผลการวิจัย ดังนี้
    1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1) ครูสอนเน้นทักษะการคำนวณมากกว่าวิธีการแก้ปัญหา หรือกระบวนการแก้ปัญหา 2) นักเรียนขาดทักษะในการอ่านและทำความเข้าใจโจทย์ปัญหา 3) ภาษาและคำที่ใช้ในโจทย์ปัญหาไม่กระตุ้นหรือส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความคิดเชิงวิเคราะห์หรือไม่เหมาะสมกับวัยและสติปัญญาของเด็ก ทำให้นักเรียนไม่เข้าใจคำศัพท์หรือโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 4) นักเรียนขาดความสามารถในการคิดคำนวณ ขาดทักษะการบวก ลบ คูณและหาร 5) นักเรียนด้อยสมรรถภาพในการคิดในใจ ไม่รู้จักคะเนหรือประมาณคำตอบ 6) นักเรียนขาดการคิดหาเหตุผล มองไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่าง ๆ ที่โจทย์กำหนดให้ 7) นักเรียนใช้วิธีการในการแก้โจทย์ปัญหาผิด เพราะไม่ได้นำเอาทฤษฎี กฎเกณฑ์ สูตรต่าง ๆ หรือความรู้ที่เรียนมาไปใช้ในการแก้โจทย์ปัญหา 8) นักเรียนขาดความสนใจและตั้งใจที่จะแก้โจทย์ปัญหา มีสาเหตุมาจากนักเรียนไม่สนใจ 9) เวลาที่ใช้ในการเรียนการสอนโจทย์ปัญหาไม่เหมาะสมหรือไม่เพียงพอ และ10) นักเรียนมีความสะเพร่า นำตัวเลขหรือโจทย์ปัญหามาคิดคำนวณผิด
    2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีองค์ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน โดยใช้แนวคิดทฤษฎีพื้นฐานที่สนับสนุน ได้แก่ ทฤษฎีเมตาคอกนิชัน (Metacognition) แนวคิดการคิดแบบฮิวริสติกส์ (Heuristics) แนวคิดการสะท้อนคิด (Reflection) และแนวคิดปัญหาแบบเปิดทางคณิตศาสตร์ซึ่งในขั้นตอนการจัดการเรียนรู้มี 4 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นความรู้ (Knowledge Awareness : K) ขั้นที่ 2 ขั้นคิดค้นคำตอบ (Advanced Answer : A) ประกอบด้วย 1) เข้าใจปัญหา 2) สร้างภาพตัวแทนปัญหา 3) วางแผนแก้ปัญหา 4) ดำเนินการแก้ปัญหา 5) ประเมินผลการแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 ขั้นเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Learn from practice : L) ขั้นที่ 4 ขั้นอภิปราย สรุปผล (Discussion : D) ผลการหาค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.64/81.49
    3. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหา การบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้ 1) นักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบ อยู่ในระดับมาก
4. ผลการขยายผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหา การบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนกลุ่มขยายผลการวิจัยที่เรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียน และ มีความพึงพอใจหลังเรียนอยู่ในระดับมาก
boompordee 04 มิ.ย. 2563 เวลา 17:38 น. 0 370
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^