LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1

การศึกษาการสอนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคต่างๆ ที่ส่

usericon

รายงานวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Research)

เรื่อง การศึกษาการสอนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคต่างๆ ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวกันต์ฤทัย คำบรรจง
ปี พ.ศ. 2558
สาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาวิจัย
    คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่สำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพทางสมองในด้านความคิด การตัดสินใจ การให้เหตุผลและการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ของวิชาการแขนงต่างๆ เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์มีลักษณะเป็นนามธรรม บางตอนยากที่จะอธิบายให้เข้าใจได้ และในปัจจุบันผู้เรียนเรียนด้วยการจำมากกว่าความเข้าใจ ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจวิธีการแก้ปัญหาโจทย์ที่แท้จริงทำให้ทำแบบฝึกหัดที่มีความแตกต่างจากตัวอย่างที่เรียนไม่ได้ และทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกท้อแท้ และไม่สนใจที่จะเรียนคณิตศาสตร์
นักเรียนจะเรียนคณิตศาสตร์คณิตศาสตร์ได้ดี ถ้านักเรียนเรียนด้วยความเข้าใจในความคิดรวบยอดและหลักการต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ มีเทคนิคในการทำและมีการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ การฝึกฝนการแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้เทคนิคต่างๆ จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และเกิดทักษะการแก้โจทย์ปัญหา ผู้วิจัยได้เห็นความสำคัญนี้จึงได้ศึกษาการสอนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคต่างๆ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนบ้านหนองมะค่า (ทองศรีสงเคราะห์) เพื่อนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาการสอนคณิตศาสตร์ต่อไป
วัตถุประสงค์การวิจัย
     เพื่อศึกษาการสอนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคต่างๆ ที่ส่งผลที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ขอบเขตของการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย
ตัวแปรต้น คือ 1. เทคนิคการตั้งคำถามเพื่อจับใจความ 2. เทคนิคการวาดภาพประกอบข้อความทั้งหมดของโจทย์ 3. เทคนิคตั้งคำถามให้คิดวิเคราะห์ 4. เทคนิคการสมมติเป็นจำนวนที่มีค่าน้อยๆ แทนจำนวนในโจทย์ 5. เทคนิคสรุปความและย่อความในการแสดง วิธีทำ 7. เทคนิคการฝึกซ้ำๆ
ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์

เครื่องมือใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการสอนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคต่างๆ แบบทดสอบ
    การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วย ร้อยละ และ


วิธีดำเนินการวิจัย
1.    ศึกษาวิธีการสอนและเทคนิคการแก้ปัญหาโจทย์แบบต่างๆ
2.    เขียนแผนการสอนการแก้ปัญหาโจทย์โดยใช้เทคนิคต่างๆ
3.    สร้างแบบทดสอบ
4.    ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
5.    ทดลองสอนแก้ปัญหาโจทย์โดยใช้เทคนิคต่างๆ
6.    ทดสอบหลังสอน
7.    วิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัย
ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองมะค่าก่อนและหลัง การสอนการแก้ปัญหาโจทย์โดยใช้เทคนิคต่างๆ มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ หลังจากการสอนการแก้ปัญหาโจทย์โดยใช้เทคนิคต่างๆ แล้วนักเรียนสามารถแก้ปัญหาโจทย์ได้ ค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังการสอนมากกว่าและค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนสอน ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงขึ้น
    2. นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์มากขึ้น
ข้อเสนอแนะ
     ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพียงชั้นเดียว การศึกษาครั้งต่อไปควรจะศึกษากับนักเรียนระดับอื่นๆ บ้าง เพื่อจะนำผลการวิจัยไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^