LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชุมพร เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชุมพร เขต 1 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 62 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model”

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมสร้างทักษะการ
คิดวิเคราะห์ เรื่อง การหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย    นางชนิสรา อริยะเดชช์
หน่วยงาน     โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
ปีที่วิจัย    2562

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model”เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการใช้วิธีการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งขั้นตอนการวิจัยเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิจัย (Research: R1) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis: A) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการใช้แบบสอบถาม คือ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จำนวน 18 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) และ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้กับแบบสัมภาษณ์ ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จำนวน 8 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จำนวน 10 คน กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2561 ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ( ) และ S.D. ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development:D1) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development: D & D) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เรื่อง การหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ซึ่งการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถทุกห้อง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ร่างแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะ การคิดวิเคราะห์ ร่างชุดการเรียนรู้ ร่างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร่างแบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ร่างแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ระยะที่ 3 การวิจัย (Research: R1) เป็นการนำไปใช้ (Implementation: I) การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จำนวน 27 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และ ระยะที่ 4 การพัฒนา (Development:D1) เป็นการประเมินผล (Evaluation: E) การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ครูส่วนใหญ่จัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบบรรยายเป็นหลัก เน้นการจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนทำความเข้าใจความคิดรวบยอดในเนื้อหาบทเรียน กระบวนการเรียนรู้ไม่สนับสนุนให้นักเรียนฝึกคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงความรู้และสร้างความรู้ด้วยตนเอง ขาดการสรุปความรู้และต่อยอดความคิดไม่เน้นให้คิดที่มีวิธีการหาคำตอบที่หลากหลาย การหาความคิดใหม่น่าสนใจ หรือหาแนวทางในการหาคำตอบที่แตกต่างด้วยวิธีการใหม่ นักเรียนส่วนใหญ่ไม่มีความมั่นใจในตนเอง ขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในชั้นเรียน นักเรียนไม่กล้าคิด ไม่กล้าถาม การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ไม่เอื้อต่อการให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ได้คิดและแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model”
เพื่อเสริมร้างสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6) ระบบสนับสนุน โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ มี 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นกระตุ้นสร้างความพร้อม (Stimulation : S) 2) ขั้นเตรียมพิชิตโจทย์ (Introduction : I) 3) ขั้นเผชิญสถานการณ์ปัญหา (Problem : P) 4) ขั้นคิดวิเคราะห์ (Analysis : A) 5) ขั้นสร้างองค์ความรู้ (Construction : C) ขั้นที่ 6 ขั้นนำไปประยุกต์ใช้ (Application : A) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมร้างสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็น ( = 4.84)
     3. ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมร้างสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยระหว่างการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมร้างสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 88.25 และคะแนนเฉลี่ยการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมร้างสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 80.87 ดังนั้นรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมร้างสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.25/80.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้ ผลการเปรียบเทียบคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมร้างสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยผลการวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมร้างสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.29) ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้“SIPACA Model” เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปี
ที่ 4 พบว่า นักเรียนจำนวนเฉลี่ย 2-3 คน ทำงานไม่ทันเพื่อนทำให้งานกลุ่มช้าไปด้วย เนื่องจากกระบวนการจัดการเรียนรู้ในขั้นตอนเผชิญปัญหาที่นักเรียนต้องเรียนรู้ชุดการเรียนรู้เป็นกลุ่ม ที่นักเรียนยังขาดประสบการณ์ในการศึกษาชุดการเรียนรู้และการทำงานเป็นกลุ่ม โดยผู้วิจัยได้นำปัญหาดังกล่าวไปปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้ในขั้นตอนดังกล่าวต่อไป

Napat610 27 พ.ค. 2563 เวลา 23:13 น. 0 574
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^