LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567สพฐ. ออกมาตรการสกัดปัญหาจัดอาหารกลางวันเด็กปี 67 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพม.ราชบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.เพชรบุรี 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567เช็กเลย! สพป.บึงกาฬ เตรียมเปิดสอบครูผู้ช่วย 10 สาขาวิชาเอก 65 อัตรา ประกาศรับสมัคร 1 พ.ค.2567 23 เม.ย. 2567เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน 23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2

รูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์

usericon

ชื่อผลงาน รูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครู เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
โรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4
ผู้ประเมิน นายสุริชัย จันทรพิทักษ์
ปีที่ประเมิน 2561

บทคัดย่อ
การวิจัยรูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครู เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการการรู้ดิจิทัลของครู เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครู เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งโป่งและ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครู เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) แบ่งเป็น 4 ระยะ ประชากร กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือประชากรและกลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้คือ กลุ่มที่ 1) กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา ใช้สำหรับศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง ซึ่งเป็นการวิจัยในระยะที่ 1 ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง จำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง จำนวน 9 คน คณะกรรมการที่ปรึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง จำนวน 6 คนและผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 25 คน กลุ่มที่ 2) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครู ซึ่งเป็นการวิจัยในระยะที่ 2 ได้แก่ 2.1) ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารและครู ในกลุ่มโรงเรียนเขื่อนอุบลรัตน์ ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 13 คน ครู จำนวน 263 คน และนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนเขื่อนอุบลรัตน์ จำนวน 2,558 คน 2.2) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ครูผู้สอนจากโรงเรียนบ้านโคกสว่างและโรงเรียนบ้านทรัพย์สมบูรณ์โนนอินทร์แปลง จำนวน 20 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จากทั้ง 2 โรงเรียน จำนวน 180 คน และกลุ่มที่ 3 กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา ที่ใช้ในการพัฒนาและใช้รูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครู ซึ่งเป็นการวิจัยในระยะที่ 3 ได้แก่ ครูโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง จำนวน 9 คน ผู้บริหารโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง จำนวน 1 คน และนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 67 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบเกี่ยวกับการรู้ดิจิทัลของครู แบบสังเกตพฤติกรรมการสอน แบบบันทึกการให้ข้อมูลย้อนกลับ แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อการนิเทศการสอนโดยผู้บริหาร แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการนิเทศการสอนโดยผู้บริหาร แบบวัดเจตคติ แบบวัดความพึงพอใจในรูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครู แบบสอบถามการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครู ผลการวิจัย พบว่า    1) สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ ของสภาพการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง พบว่าสภาพการปฏิบัติงานจริงโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
(µ = 3.63,  = 0.64) ซึ่งมีสภาพการปฏิบัติจริงต่ำสุด ได้แก่ การใช้สื่อเทคโนโลยีช่วยในการจัดการเรียนรู้ รองลงมา การนิเทศการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษากับการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ และการสร้างและใช้สื่อช่วยในการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับและสภาพการปฏิบัติที่ควรจะเป็น อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.68,  = 0.49) ซึ่งมีสภาพการปฏิบัติที่ควรจะเป็นสูงสุด ได้แก่ การสร้างและใช้สื่อช่วยในการจัดการเรียนรู้กับการใช้สื่อเทคโนโลยีช่วยในการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการเรียนรู้กับการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ และการนิเทศการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา ตามลำดับ ซึ่งจากการประเมินความต้องการจำเป็น พบว่า การใช้สื่อเทคโนโลยีจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษามีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นมากที่สุด (PNImodified = 46) รองลงมา การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified = 43) และการสร้างและใช้สื่อช่วยในการจัดการเรียนรู้ กับการนิเทศการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเท่ากัน (PNImodified = 42) ตามลำดับ    
2) ผลการใช้รูปแบบฯ กับกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา ชุดการเรียนรู้ที่ 1 สร้างความตระหนักและตรียมการ พบว่า ทำให้สามารถสร้างความตระหนักและทำให้ครูเกิดความรู้และทักษะความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์เบื้องต้นตามความต้องการได้เป็นอย่างดี ชุดการเรียนรู้ 2 พัฒนาครูรู้ดิจิทัลโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการที่ใช้คู่มือการรู้ดิจิทัล มีเอกสารคู่มือการรู้ดิจิทัลประกอบ ทำให้ครูเกิดต้องการได้รับความรู้และทักษะเกี่ยวกับการรู้ดิจิทัลต่างๆ ตามความต้องการจริงๆ และชุดการเรียนรู้ที่ 3 นิเทศการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การนิเทศการสอนโดยผู้บริหาร ได้มีการดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนทั้ง 3 ขั้นตอนคือขั้นตอนเตรียมการ ขั้นตอนการปฏิบัติการและขั้นตอนประเมิน ทำให้ครูผู้สอนมีความมั่นใจในการจัดการเรียนรู้ มีการประชุม สะท้อนผลการสอน รายงานข้อมูลจากการสังเกตพฤติกรรมการสอนของครูให้ทราบเป็นระยะเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนของตนเอง
3) ครูผู้สอนกลุ่มเป้าหมายที่ใช้รูปแบบฯ มาทำข้อสอบเรื่องการรู้ดิจิทัล ที่เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย จำนวน 40 ข้อ สามารถทำคะแนนเฉลี่ยหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาครูรู้ดิจิทัลสูงกว่าคะนนเฉลี่ยก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาครูรู้ดิจิทัล กล่าวคือ หลังหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาครูรู้ดิจิทัล คะแนนเฉลี่ย (µ) เท่ากับ 34.20 คิดเป็นร้อยละ 85.50 และก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาครูรู้ดิจิทัล คะแนนเฉลี่ย (µ) เท่ากับ 18.24 คิดเป็นร้อยละ 45.60 และผลการทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย ของครูผู้สอนกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาครูรู้ดิจิทัล พบว่า ผลการเปรียบเทียบความตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบของครูผู้สอน หลังการใช้รูปแบบการพัฒนาครูรู้ดิจิทัลกับเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 70) โดยการทดสอบค่าที (t-test) พบว่า ครูผู้สอนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาครูรู้ดิจิทัลสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
4) ความคิดเห็นในแบบวัดเจตคติ วัดความพึงพอใจในการใช้รูปแบบ ฯ พบว่า ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.62,  = 0.57) ข้อที่มีความพึงพอใจสูงที่สุด ได้แก่ รูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ช่วยให้ครูได้สร้างสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลที่หลากหลายใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน รองลงมา รูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ของครูและรูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน สามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริงกับรูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ช่วยให้ครู ผู้บริหารและผู้ปกครองมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามลำดับ
     5) ผู้เชี่ยวชาญได้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพ ด้านอรรถประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง ด้านความเหมาะสมและด้านความถูกต้องของรูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครู เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง ที่ครอบคลุมประเด็นใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านอรรถประโยชน์ (Utility) ด้านความเป็นไปได้ (Feasibility) ด้านความเหมาะสม (Property) และด้านความถูกต้อง (Accuracy) พบว่า ในภาพรวม รูปแบบฯ มีระดับคุณภาพในระดับมากที่สุด ( =4.68, SD=0.47) โดยมีผลการประเมินระดับคุณภาพในระดับมากที่สุดทุกด้าน ด้านที่มีผลคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด ในระดับมากที่สุด คือด้านอรรถประโยชน์ (Utility) ( =4.68, S.D.=0.47) รองลงมาคือ ด้านความถูกต้อง (Accuracy) ( =4.65, S.D.=0.48) ด้านความเป็นไปได้ ในการปฏิบัติงานจริง(Feasibility) ในระดับมากที่สุด ( =4.63, S.D.=0.49) และด้านความเหมาะสม (Property) ( =4.59, S.D.=0.40) ในระดับมากที่สุดตามลำดับ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^