LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.หนองคาย เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.หนองคาย เขต 2 24 เม.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุบลราชธานี เขต 4 24 เม.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยภูมิ เขต 3 24 เม.ย. 2567สพฐ. ออกมาตรการสกัดปัญหาจัดอาหารกลางวันเด็กปี 67 24 เม.ย. 2567สพม.ราชบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.เพชรบุรี 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
ผู้วิจัย    นายเดชาพัชร การกิ่งไพร
ปีวิจัย    ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบทและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ และ4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) จำนวน 36 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ปีการศึกษา 2561 จำนวน 539 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษา จำนวน 10 คน ได้จากวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ แบบ คุณลักษณะเด็กปฐมวัยคนดีมีความพอเพียง แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติการบรรยาย

ผลการวิจัยพบว่า
    จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
    1. การศึกษาวิเคราะห์บริบทและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนจากการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ครูผู้สอนและบุคลากรในโรงเรียน สรุปได้เป็น วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์และยุทธศาสตร์การพัฒนาของโรงเรียน
    2. รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์(SSSPC Model) ประกอบด้วย ตัวรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์และหลักการ จำนวน 5 หลักการ ประกอบด้วย หลักการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม หลักการกำหนดกลยุทธ์ หลักการปฏิบัติตามกลยุทธ์ หลักการควบคุมและประเมินกลยุทธ์และหลักการความพอใจ และผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ พบว่า โดยรวมรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาด้านตัวรูปแบบและหลักการ พบว่า ทั้งด้านตัวรูปแบบการบริหารและทุกหลักการ มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยของตัวรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ และหลักการที่มีความเหมาะสมสูงสุด คือ หลักการกำหนดกลยุทธ์ กับหลักการปฏิบัติตามกลยุทธ์รองลงมาคือ หลักการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและหลักการควบคุมและประเมินกลยุทธ์กับหลักการความพอใจตามลำดับ
    3. การศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์มีดังนี้
        3.1 คุณลักษณะเด็กปฐมวัยคนดีมีความพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า โดยรวมผู้ปกครองเด็กมีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะเด็กปฐมวัยคนดีมีความพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและรายข้อ พบว่า ทุกด้านผู้ปกครองเด็กมีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะเด็กปฐมวัยคนดีมีความพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยของด้านเงื่อนไขคุณธรรม รองลงมาคือ ด้านเงื่อนไขความรู้ ลำดับต่อมาคือ ด้านความมีเหตุผล ด้านความมีเหตุผลกับด้านเงื่อนไขคุณธรรม และด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ตามลำดับ
        3.2 ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของครูในโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) พบว่า โดยรวมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูในโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเงื่อนไขคุณธรรมกับด้านความมีเหตุผล รองลงมาคือ ด้านความพอประมาณและด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดีกับด้านเงื่อนไขความรู้ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและรายข้อ พบว่า ทุกด้านและทุกข้อ ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด
        3.3 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) พบว่า โดยรวม ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) อยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณาเป็นรายหลักการ พบว่า ทุกหลักการครูมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย คือ หลักการความพอใจ รองลงมาคือ หลักการปฏิบัติตามกลยุทธ์กับหลักการกำหนดกลยุทธ์ และหลักการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมกับหลักการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ตามลำดับ ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อของแต่ละหลักการ พบว่า ทุกข้อของแต่ละหลักการครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
    4. การประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) พบว่า โดยรวมรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ มีความเหมาะสมสามารถปฏิบัติได้ อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาทั้ง ตัวรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์และหลักการ พบว่า ตัวรูปแบบการบริหารเชิง กลยุทธ์และทุกหลักการ มีความเหมาะสมสามารถปฏิบัติได้ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความเหมาะสมสามารถปฏิบัติได้สูงสุดคือ ตัวรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ ส่วนหลักการที่มีความเหมาะสมสามารถปฏิบัติได้ โดยมีค่าเฉลี่ย คือ หลักการกำหนดกลยุทธ์รองลงมาคือ หลักการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมกับหลักการความพอใจและ หลักการปฏิบัติตามกลยุทธ์ กับหลักการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อของแต่ละหลักการ พบว่า ทุกข้อของแต่ละหลักการมีความเหมาะสมสามารถปฏิบัติได้อยู่ในระดับมากที่สุด
954 01 พ.ค. 2563 เวลา 18:09 น. 0 1,051
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^