LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567เช็กเลย! สพป.บึงกาฬ เตรียมเปิดสอบครูผู้ช่วย 10 สาขาวิชาเอก 65 อัตรา ประกาศรับสมัคร 1 พ.ค.2567 23 เม.ย. 2567เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน 23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย

ผลของการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

        ผลของการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโฮ่ง อำเภอลี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโฮ่ง ปีการศึกษา 2562 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของ Daniel L. Stufflebeam ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ประเมินด้านสภาพบริบท (Context Evaluation) 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ 4) ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 68 คนประกอบด้วย ครู และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานโครงการ จำนวน 8 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 34 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4-6 จำนวน 19 คน และกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโฮ่ง สำหรับครูและบุคลากรผู้ปฏิบัติงานโครงการ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโฮ่ง สำหรับนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̄) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)

สรุปผลการประเมินโครงการ

    1.    ผลการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโฮ่ง จากการตอบแบบสอบถามของครูผู้ปฏิบัติงานโครงการจำนวน 8 คน ใน สรุปผล ได้ดังนี้
        1.1    ด้านสภาพบริบท (Context)
        มีผลการประเมิน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.77, S.D. = 0.34) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีระดับมากที่สุด คือ สถานศึกษามีหลักการการดำเนินการที่สุดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2552 โดยเสนอโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในส่วนของงานบริหารด้านวิชาการ (x̄ = 5.00, S.D. = 0.00) รองลงมาในระดับมากที่สุด คือ มีแนวทางการดำเนินงานของโครงการที่สอดคล้องกับทิศทางของโรงเรียนบ้านโฮ่ง (x̄ = 4.88, S.D. = 0.33) และมีวัตถุประสงค์ เป้าหมายและประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรมจากโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.63, S.D. = 0.46) ตามลำดับ สรุปด้านสภาพบริบท (Context) เท่ากับผ่านเกณฑ์การประเมิน


            1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input)
         มีผลการประเมินโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.68, S.D. = 0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีระดับมากที่สุด คือ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานชัดเจน ในแต่ละกิจกรรมมีความเหมาะสม (x̄ = 5.00, S.D. = 0.00) รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ผู้รับผิดชอบโครงการมีการเป็นผู้นำในการดำเนินงาน คือ ผู้บริหารสถานศึกษามีการให้การส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาบุคลากรและสร้างขวัญกำลังใจ คณะครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความรัก ความเอาใจใส่ดูแลใกล้ชิดนักเรียน (x̄ = 4.88, S.D. = 0.33) รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุด คือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการดำเนินงาน กำหนดไว้เพียงพอและการดำเนินกิจกรรมตามโครงการเป็นไปตามกรอบเวลา ที่ได้กำหนดไว้ (x̄ = 4.75, S.D. = 0.43) ตามลำดับ สรุปด้านปัจจัยนำเข้า (Input) เท่ากับผ่านเกณฑ์ การประเมิน
            1.3 ด้านกระบวนการ (Process)
                1)    ผลการประเมินจากการพิจารณาความเหมาะสมด้านกระบวนการ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนของโครงการโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.70, S.D. = 0.41) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อรายการ พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ ข้อที่มีความเหมาะสมสูงสุด คือ ขั้นการดำเนินงานของโครงการ (x̄ = 4.73, S.D. = 0.42) รองลงมา คือ ขั้นเตรียมการโครงการ (x̄ = 4.69, S.D. = 0.39) และขั้นการประเมินผล (x̄ = 4.69, S.D. = 0.43) ตามลำดับ สรุปด้านกระบวนการ (Process) ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนการดำเนินงานเท่ากับผ่านเกณฑ์
                2)    ผลการประเมินจากการพิจารณาความเหมาะสม ด้านกระบวนการ ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการดำเนินงานของกิจกรรมตามโครงการโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.62, S.D. = 0.48) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีระดับความเหมาะสมสูงสุดในระดับ มากที่สุด คือ กิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (x̄ = 4.91, S.D. = 0.25) และกิจกรรมการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียน (x̄ = 4.88, S.D. = 0.27) รองลงมามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด คือ กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน (x̄ = 4.79, S.D. = 0.39) การจัดเก็บข้อมูลนักเรียน เป็นรายบุคคล (x̄ = 4.72, S.D. = 0.32) การคัดกรองนักเรียน (x̄ = 4.72, S.D. = 0.42) ตามลำดับ สรุปด้านกระบวนการ (Process) ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการดำเนินงานของกิจกรรมตามโครงการโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เท่ากับผ่านเกณฑ์
             1.4    ด้านผลผลิต (Product )
                1) ผลการประเมิน ด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพของนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.63, S.D. = 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ามีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คือ การมีทักษะชีวิต สามารถหลีกเลี่ยงป้องกันอันตรายจากสิ่งที่ ไม่พึงประสงค์ (x̄ = 4.70, S.D. = 0.43) รองลงมาคือ การเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว โรงเรียนและชุมชน (x̄ = 4.69, S.D. = 0.43) และการมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี (x̄ = 4.69, S.D. = 0.48) ตามลำดับ สรุปด้านผลผลิต (Product) ด้านคุณภาพของนักเรียนเท่ากับผ่านเกณฑ์
                2) ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับด้านการปฏิบัติกิจกรรมโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.62, S.D. = 0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ การคัดกรองนักเรียน (x̄ = 4.82, S.D. = 0.38) รองลงมา คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.70, S.D. = 0.42) การส่งเสริมและพัฒนาทักษะอาชีพแก่นักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.53, S.D. = 0.56) กิจกรรมแนะแนวในโรงเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.53, S.D. = 0.56) ตามลำดับ สรุปด้านผลผลิต (Product) ด้านการปฏิบัติกิจกรรมโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เท่ากับผ่านเกณฑ์
            3) ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับด้านคุณภาพของคณะครูและบุคลากร โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.80, S.D. = 0.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้นำในการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน คณะทำงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถและคณะครูและบุคลากรมีการประเมินผลโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (x̄ = 4.75, S.D. = 0.43) ตามลำดับ สรุปด้านผลผลิต (Product) ด้านคุณภาพของคณะครูและบุคลากร เท่ากับผ่านเกณฑ์
        1.5    ปัญหาและอุปสรรค แนวทางการแก้ไขและข้อเสนอแนะ
1.    ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1)    มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือให้ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องรับทราบอย่างทั่วถึงโดยมีการประชุมน้อยครั้ง
2)    การดำเนินงานโครงการนี้ไม่ครอบคลุมในระดับชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1-3
2.    แนวทางในการแก้ไขปัญหา
1)    โรงเรียนควรมีการประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงกัน
2)    ควรพิจารณาประเมินการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมในระดับชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ในปีการศึกษาต่อไป


3.    ข้อเสนอแนะ
1)    ควรจัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา
2)    ควรมีการประชุมชี้แจงให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้แก่ ครู ผู้ปกครอง นักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยภาคเรียนละครั้งเพื่อขอความร่วมมือสนับสนุนการจัดทำโครงการนี้จากชุมชน
3)    คณะครูควรมีกิจกรรมการเยี่ยมบ้านสม่ำเสมอ เป็นการสร้างสัมพันธภาพ ที่ดีระหว่าง โรงเรียนและชุมชน
        2.    ผลการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนโรงเรียนบ้านโฮ่ง จากการตอบแบบสอบถามของนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโฮ่ง
            2.1    ผลการประเมินที่ได้จากการตอบแบบสอบถามของนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับด้านคุณภาพของนักเรียนและด้านการมีส่วนร่วมในภาพรวมระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.67, S.D. = 0.65) เมื่อได้พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับความเหมาะสมอยู่ในมากที่สุด สำหรับด้านที่มีระดับความเหมาะสมสูงสุดอยู่ในระดับ มากที่สุด ได้แก่ ด้านมีส่วนร่วมโดยภาพรวม (x̄ = 4.67, S.D. = 0.63) รองลงมา ได้แก่ ด้านคุณภาพของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.67, S.D. = 0.67) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อรายการ พบว่า ข้อรายการที่มีระดับการประเมินสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ตามบทบาทหน้าที่ (x̄ = 4.74, S.D. = 0.59) และการมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี (x̄ = 4.71, S.D. = 0.62) ตามลำดับ สรุปผลการประเมิน เท่ากับผ่านเกณฑ์
        2.2    ปัญหาและอุปสรรค แนวทางการแก้ไขและข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านโฮ่ง อำเภอลี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
1)    ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1)    มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือให้ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องรับทราบอย่างทั่วถึงโดยมีการประชุมน้อยครั้ง
2)    การดำเนินงานโครงการนี้ไม่ครอบคลุมในระดับชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3

2)    แนวทางในการแก้ไขปัญหา
1)    โรงเรียนควรมีการประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงกัน
2)    ควรพิจารณาประเมินการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมในระดับชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ในปีการศึกษาต่อไป
3)    ข้อเสนอแนะ
1)    ควรจัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา
2)    ควรมีการประชุมชี้แจงให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้แก่ ครู ผู้ปกครอง นักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยภาคเรียนละครั้งเพื่อขอความร่วมมือสนับสนุนการจัดทำโครงการนี้จากชุมชน
3)    คณะครูควรมีกิจกรรมการเยี่ยมบ้านสม่ำเสมอ เป็นการสร้างสัมพันธภาพ ที่ดีระหว่าง โรงเรียนและชุมชน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^