LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1

ผลของการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

        ผลของการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโฮ่ง อำเภอลี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโฮ่ง ปีการศึกษา 2562 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของ Daniel L. Stufflebeam ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ประเมินด้านสภาพบริบท (Context Evaluation) 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ 4) ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 68 คนประกอบด้วย ครู และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานโครงการ จำนวน 8 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 34 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4-6 จำนวน 19 คน และกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโฮ่ง สำหรับครูและบุคลากรผู้ปฏิบัติงานโครงการ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโฮ่ง สำหรับนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x-bar) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)

สรุปผลการประเมินโครงการ

    1.    ผลการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโฮ่ง จากการตอบแบบสอบถามของครูผู้ปฏิบัติงานโครงการจำนวน 8 คน ใน สรุปผล ได้ดังนี้
        1.1    ด้านสภาพบริบท (Context)
        มีผลการประเมิน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.77, S.D. = 0.34) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีระดับมากที่สุด คือ สถานศึกษามีหลักการการดำเนินการที่สุดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2552 โดยเสนอโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในส่วนของงานบริหารด้านวิชาการ (x-bar = 5.00, S.D. = 0.00) รองลงมาในระดับมากที่สุด คือ มีแนวทางการดำเนินงานของโครงการที่สอดคล้องกับทิศทางของโรงเรียนบ้านโฮ่ง (x-bar = 4.88, S.D. = 0.33) และมีวัตถุประสงค์ เป้าหมายและประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรมจากโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.63, S.D. = 0.46) ตามลำดับ สรุปด้านสภาพบริบท (Context) เท่ากับผ่านเกณฑ์การประเมิน


            1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input)
         มีผลการประเมินโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.68, S.D. = 0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีระดับมากที่สุด คือ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานชัดเจน ในแต่ละกิจกรรมมีความเหมาะสม (x-bar = 5.00, S.D. = 0.00) รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ผู้รับผิดชอบโครงการมีการเป็นผู้นำในการดำเนินงาน คือ ผู้บริหารสถานศึกษามีการให้การส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาบุคลากรและสร้างขวัญกำลังใจ คณะครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความรัก ความเอาใจใส่ดูแลใกล้ชิดนักเรียน (x-bar = 4.88, S.D. = 0.33) รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุด คือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการดำเนินงาน กำหนดไว้เพียงพอและการดำเนินกิจกรรมตามโครงการเป็นไปตามกรอบเวลา ที่ได้กำหนดไว้ (x-bar = 4.75, S.D. = 0.43) ตามลำดับ สรุปด้านปัจจัยนำเข้า (Input) เท่ากับผ่านเกณฑ์ การประเมิน
            1.3 ด้านกระบวนการ (Process)
                1)    ผลการประเมินจากการพิจารณาความเหมาะสมด้านกระบวนการ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนของโครงการโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.70, S.D. = 0.41) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อรายการ พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ ข้อที่มีความเหมาะสมสูงสุด คือ ขั้นการดำเนินงานของโครงการ (x-bar = 4.73, S.D. = 0.42) รองลงมา คือ ขั้นเตรียมการโครงการ (x-bar = 4.69, S.D. = 0.39) และขั้นการประเมินผล (x-bar = 4.69, S.D. = 0.43) ตามลำดับ สรุปด้านกระบวนการ (Process) ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนการดำเนินงานเท่ากับผ่านเกณฑ์
                2)    ผลการประเมินจากการพิจารณาความเหมาะสม ด้านกระบวนการ ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการดำเนินงานของกิจกรรมตามโครงการโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.62, S.D. = 0.48) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีระดับความเหมาะสมสูงสุดในระดับ มากที่สุด คือ กิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (x-bar = 4.91, S.D. = 0.25) และกิจกรรมการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียน (x-bar = 4.88, S.D. = 0.27) รองลงมามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด คือ กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน (x-bar = 4.79, S.D. = 0.39) การจัดเก็บข้อมูลนักเรียน เป็นรายบุคคล (x-bar = 4.72, S.D. = 0.32) การคัดกรองนักเรียน (x-bar = 4.72, S.D. = 0.42) ตามลำดับ สรุปด้านกระบวนการ (Process) ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการดำเนินงานของกิจกรรมตามโครงการโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เท่ากับผ่านเกณฑ์
             1.4    ด้านผลผลิต (Product )
                1) ผลการประเมิน ด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพของนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.63, S.D. = 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ามีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คือ การมีทักษะชีวิต สามารถหลีกเลี่ยงป้องกันอันตรายจากสิ่งที่ ไม่พึงประสงค์ (x-bar = 4.70, S.D. = 0.43) รองลงมาคือ การเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว โรงเรียนและชุมชน (x-bar = 4.69, S.D. = 0.43) และการมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี (x-bar = 4.69, S.D. = 0.48) ตามลำดับ สรุปด้านผลผลิต (Product) ด้านคุณภาพของนักเรียนเท่ากับผ่านเกณฑ์
                2) ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับด้านการปฏิบัติกิจกรรมโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.62, S.D. = 0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ การคัดกรองนักเรียน (x-bar = 4.82, S.D. = 0.38) รองลงมา คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.70, S.D. = 0.42) การส่งเสริมและพัฒนาทักษะอาชีพแก่นักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.53, S.D. = 0.56) กิจกรรมแนะแนวในโรงเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.53, S.D. = 0.56) ตามลำดับ สรุปด้านผลผลิต (Product) ด้านการปฏิบัติกิจกรรมโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เท่ากับผ่านเกณฑ์
            3) ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับด้านคุณภาพของคณะครูและบุคลากร โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.80, S.D. = 0.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้นำในการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน คณะทำงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถและคณะครูและบุคลากรมีการประเมินผลโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (x-bar = 4.75, S.D. = 0.43) ตามลำดับ สรุปด้านผลผลิต (Product) ด้านคุณภาพของคณะครูและบุคลากร เท่ากับผ่านเกณฑ์
        1.5    ปัญหาและอุปสรรค แนวทางการแก้ไขและข้อเสนอแนะ
1.    ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1)    มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือให้ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องรับทราบอย่างทั่วถึงโดยมีการประชุมน้อยครั้ง
2)    การดำเนินงานโครงการนี้ไม่ครอบคลุมในระดับชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1-3
2.    แนวทางในการแก้ไขปัญหา
1)    โรงเรียนควรมีการประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงกัน
2)    ควรพิจารณาประเมินการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมในระดับชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ในปีการศึกษาต่อไป


3.    ข้อเสนอแนะ
1)    ควรจัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา
2)    ควรมีการประชุมชี้แจงให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้แก่ ครู ผู้ปกครอง นักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยภาคเรียนละครั้งเพื่อขอความร่วมมือสนับสนุนการจัดทำโครงการนี้จากชุมชน
3)    คณะครูควรมีกิจกรรมการเยี่ยมบ้านสม่ำเสมอ เป็นการสร้างสัมพันธภาพ ที่ดีระหว่าง โรงเรียนและชุมชน
        2.    ผลการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนโรงเรียนบ้านโฮ่ง จากการตอบแบบสอบถามของนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโฮ่ง
            2.1    ผลการประเมินที่ได้จากการตอบแบบสอบถามของนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับด้านคุณภาพของนักเรียนและด้านการมีส่วนร่วมในภาพรวมระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.67, S.D. = 0.65) เมื่อได้พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับความเหมาะสมอยู่ในมากที่สุด สำหรับด้านที่มีระดับความเหมาะสมสูงสุดอยู่ในระดับ มากที่สุด ได้แก่ ด้านมีส่วนร่วมโดยภาพรวม (x-bar = 4.67, S.D. = 0.63) รองลงมา ได้แก่ ด้านคุณภาพของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.67, S.D. = 0.67) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อรายการ พบว่า ข้อรายการที่มีระดับการประเมินสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ตามบทบาทหน้าที่ (x-bar = 4.74, S.D. = 0.59) และการมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี (x-bar = 4.71, S.D. = 0.62) ตามลำดับ สรุปผลการประเมิน เท่ากับผ่านเกณฑ์
        2.2    ปัญหาและอุปสรรค แนวทางการแก้ไขและข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านโฮ่ง อำเภอลี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
1)    ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1)    มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือให้ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องรับทราบอย่างทั่วถึงโดยมีการประชุมน้อยครั้ง
2)    การดำเนินงานโครงการนี้ไม่ครอบคลุมในระดับชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3

2)    แนวทางในการแก้ไขปัญหา
1)    โรงเรียนควรมีการประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงกัน
2)    ควรพิจารณาประเมินการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมในระดับชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ในปีการศึกษาต่อไป
3)    ข้อเสนอแนะ
1)    ควรจัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา
2)    ควรมีการประชุมชี้แจงให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้แก่ ครู ผู้ปกครอง นักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยภาคเรียนละครั้งเพื่อขอความร่วมมือสนับสนุนการจัดทำโครงการนี้จากชุมชน
3)    คณะครูควรมีกิจกรรมการเยี่ยมบ้านสม่ำเสมอ เป็นการสร้างสัมพันธภาพ ที่ดีระหว่าง โรงเรียนและชุมชน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^