LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชุมพร เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชุมพร เขต 1 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 62 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านโดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านโดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน
        ผสมผสานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา
        เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้รายงาน    อภิรดา ชาญน้ำ
ปีการศึกษา    2561

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) มีวัตถุประสงค์ คือ
1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนอ่านโดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันผสมผสานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนอ่านโดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันผสมผสานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนอ่านโดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันผสมผสาน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3.1) เพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากการใช้รูปแบบการสอนอ่านโดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันผสมผสานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา และ 3.2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปแบบการสอนอ่านโดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันผสมผสานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 25 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง สังกัดกองการศึกษาเทศบาลตำบลโคกชะงาย ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ชุดการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 7 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 23 แผน แบบวัดความสามารถในการอ่านภาษาไทย จำนวน 1 ฉบับ และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของคะแนนโดยใช้ t-test (Dependent Sample)
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนอ่านโดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันผสมผสานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า การอ่านเป็นกระบวนการของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่านกับสาร และกระบวนการอ่านต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และโครงสร้างทางภาษา โดยอาศัยความรู้เดิมเป็นสำคัญที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจสารนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งการประยุกต์ใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันในการอ่าน เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้จากประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ โดยการสร้างความตระหนักรู้ในตนเอง ควบคุมการคิดของตนเองในการอ่าน โดยมีผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะแนวทางในการปฏิบัติ ในขณะที่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาภาษาตามธรรมชาติในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างระดับความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และระดับสติปัญญา มุ่งให้ปัจจัยป้อนและกลวิธีการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและได้ประสบการณ์ตรงในการใช้ภาษาทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการผสมผสานกลวิธีเมตาคอกนิชันกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา จึงเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการส่งเสริมความสามารถในการอ่าน เพื่อสนับสนุนการอ่านที่มีประสิทธิภาพ
2. ผลการสร้างรูปแบบการสอนอ่านโดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันผสมผสานการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (Development : D1) พบว่า รูปแบบการสอนอ่านที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีชื่อว่า APIRAHDA MODEL (อภิรดา โมเดล) มีกระบวนการจัดกิจกรรมการสอนอ่าน 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 : กิจกรรมก่อนการอ่าน (Before Reading) ขั้นตอนที่ 2 : กิจกรรมดำเนินการอ่าน (During Reading) และขั้นตอนที่ 3 : กิจกรรมหลังการอ่าน (After Reading) ซึ่งรูปแบบการสอนอ่านแบบ APIRAHDA MODEL (อภิรดา โมเดล) มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.20/82.93 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนอ่านโดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันผสมผสานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า
        3.1 ความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการสอนอ่านโดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันผสมผสานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        3.2 ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปแบบการสอนอ่านโดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันผสมผสานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ในภาพรวมมีระดับความพึงพอใจมาก
Foreducation 31 มี.ค. 2563 เวลา 16:39 น. 0 488
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^