LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

การพัฒนาระบบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนาระบบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ
ผู้วิจัย      นางสาวพรรำไพ ศรชัย
โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีการศึกษา    ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561

บทคัดย่อ

    การพัฒนาระบบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาระบบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ ให้มีคุณภาพ 2) เพื่อประเมินโครงการการพัฒนาระบบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ ทั้งนี้การพัฒนาระบบงาน ผู้วิจัยได้พัฒนาระบบงาน ตามกรอบงาน 5 ด้าน คือ ด้านงานบริหาร ด้านงานเทคนิค ด้านงานบริการ ด้านงานสนับสนุนการเรียนการสอน และด้านงานกิจกรรมนักเรียน กลยุทธ์ในการพัฒนา คือ การประชุมแบบมีส่วนร่วม และการนิเทศภายใน ตามกระบวนการพัฒนาระบบ (The System Development Life Cycle : SDLC) คือ การค้นหาระบบ (Systems Investigation) การวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis) การออกแบบระบบ (Systems Design) การนำระบบไปใช้ (Systems Implementation) การบำรุงดูแลรักษาและทบทวนระบบ (Systems Maintenance and Review) โดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) 2 วงรอบ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มผู้ร่วมวิจัยและผู้ให้ข้อมูล จำนวน 4 คน ประกอบด้วย ผู้วิจัย หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และครูผู้รับผิดชอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จำนวน 2 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมจำนวน 389 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารและครูจำนวน 20 คน นักเรียนอาสางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จำนวน 26 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 290 คน และวิทยากรผู้มีประสบการณ์ด้านระบบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จำนวน 2 คน ส่วนประเมินโครงการการพัฒนาระบบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model ของ Stufflebeam and Shinkfield (2007) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างอย่างง่าย (Simple random sampling) ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 368 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratify random sampling) ตามสูตรของทาโร ยามาเน (Yamane) ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยคือ ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการประชุมแบบมีส่วนร่วม แบบบันทึกการนิเทศภายใน แบบบันทึกการสังเกต แบบมีส่วนร่วม แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบประเมินตนเอง แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบบันทึกการประชุมแบบมีส่วนร่วม การตรวจสอบข้อมูลยึดหลักการตรวจสอบแบบสามเส้า และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าเชิงพรรณนา การประเมินโครงการมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นในการประเมินโครงการ เป็นสอบถาม 8 ชุด ประกอบด้วยด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation) สำหรับผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยดำเนินการประเมิน 8 ระยะตามช่วงเวลา จำนวน 60 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 – 0.79 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านผลผลิต (Product Evaluation) สำหรับนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 – 0.76 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านผลผลิต (Product Evaluation) สำหรับผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 – 0.76 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
    ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
        1. ผลจากการพัฒนาระบบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ ตามกรอบงาน 5 ด้านคือ ด้านบริหาร ด้านเทคนิค ด้านบริการ ด้านงานสนับสนุนการเรียนการสอน และด้านงานกิจกรรมนักเรียน ตามกระบวนการ SDLC โดยอาศัยกลยุทธ์ ประชุมแบบมีส่วนร่วม และการนิเทศภายใน โดยภาพรวมในการพัฒนา ปรากฏว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้ง มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถดำเนินงานตามขั้นตอนการพัฒนาระบบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ ได้เป็นที่น่าพอใจ และบรรลุตามเป้าหมาย
        2. การประเมินโครงการการพัฒนาระบบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.58) เมื่อพิจารณาโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสมสูงสุด 3 อันดับ พบว่า อันดับแรก คือ ด้านผลผลิต (P: Product Evaluation) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.65) รองลงมาคือ ด้านกระบวนการ (P : Process Evaluation) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.58) และการประเมินด้านประสิทธิภาพ (E: Effectiveness Evaluation) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.55) ตามลำดับ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการถ่ายโยงความรู้ (T: Transportability Evaluation) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.63)
beboy_chelsea 26 มี.ค. 2563 เวลา 01:22 น. 0 556
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^