LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

การพัฒนารูปแบบการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยแบบ SQ4R โดยใช้สื่อ

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยแบบ SQ4R โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อพัฒนาทักษะการจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน     ปราณี ปถม
ปีที่ศึกษา     2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยแบบ SQ4R โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อพัฒนาทักษะการจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนกลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อร่างรูปแบบการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยแบบ SQ4R โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อพัฒนาทักษะการจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยแบบ SQ4R โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อพัฒนาทักษะการจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยแบบ SQ4R โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อพัฒนาทักษะการจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสัมภาษณ์ 2) รูปแบบการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยแบบ SQ4R โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อพัฒนาทักษะการจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) แบบประเมินความเหมาะสม 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบประเมินทักษะการอ่านแบบ SQ4R และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent ผลการวิจัยสรุปว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการพบว่า การสอนโดยใช้เทคนิค SQ4R เป็นกระบวนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 ขั้นสำรวจ (survey) ขั้นที่ 2 ขั้นตั้งคำถาม (question) ขั้นที่ 3 การอ่าน (read) ขั้นที่ 4 ทบทวนอ่านซ้ำและจดบันทึก (record) ขั้นที่ 5 สรุปใจความสำคัญ (recite) และ ขั้นที่ 6 วิเคราะห์ วิจารณ์แสดงความคิดเห็น (reflect) เป็นเทคนิควิธีการสอนอ่านที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องราวได้รวดเร็ว มีความสามารถด้านการอ่านมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพในการอ่านดีกว่าการอ่านโดยไม่ได้ตั้งคำถามไว้ล่วงหน้าทำให้การอ่านมีจุดหมายที่แน่นอนว่า ผู้เรียนได้อะไรหลังการอ่าน การใช้คำถามจะช่วยให้ผู้เรียนได้แนวคิดจากคำถามและพยายามหาคำตอบเมื่อผู้สอนถาม ดังนั้นการใช้คำถามจึงเป็นแนวทางที่จะทำให้ผู้เรียนอ่านอยู่ในขอบเขตที่ตั้งไว้ แล้วจะทำให้เข้าใจดีขึ้น
2. การร่างรูปแบบการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยแบบ SQ4R โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อพัฒนาทักษะการจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ใช้รูปแบบ “PTPES Model” ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียม (Preparation : P) ขั้นที่ 2 ขั้นสอน (Teaching : T) ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกทักษะ (Practicing : P) ขั้นที่ 4 ขั้นวัดและประเมินผล (Evaluation : E) และ ขั้นที่ 5 ขั้นสรุป (Summarizing : S)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยแบบ SQ4R โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อพัฒนาทักษะการจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้ค่าประสิทธิภาพ 83.26/82.84
4. การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยแบบ SQ4R โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อพัฒนาทักษะการจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
1) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2) การประเมินทักษะการอ่านแบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.28
3) การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยแบบ SQ4R โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อพัฒนาทักษะการจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาพรวม อยู่ในระดับมาก
hmc43168 19 มี.ค. 2563 เวลา 17:03 น. 0 416
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^