LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เพชรบุรี เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สมุทรสงคราม - ผลย้ายครู 2567 สพป.สมุทรสงคราม

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร

usericon

ชื่องานวิจัย : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้าง
มโนทัศน์ทางชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย : นางสุภาวดี นพพล
สถานศึกษา : โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีการศึกษา : 2562

บทคัดย่อ
     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียน การสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2) เพื่อพัฒนาและนำร่องการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบ การเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางชีววิทยา ของนักเรียนนมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โดยเปรียบเทียบมโนทัศน์ ทางชีววิทยาก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ ทางชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอน
ตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 คู่มือการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางชีววิทยา และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อรูปแบบการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1) ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า การเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนสามารถสร้างความคิดรวบยอดใหม่ได้นั้นต้องอาศัยความรู้เดิมเป็นฐาน การจัดบรรยากาศ บรรยากาศ รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม จะทำให้นักเรียนสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง เกิดปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและบุคคลอื่น เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ความยากและความซับซ้อนของเนื้อหาวิชาชีววิทยา ทำให้นักเรียนจะต้องใช้ทักษะ ในการเรียน ทั้งด้านการทำความเข้าใจกับเนื้อหา การสรุปเนื้อหาหรือมโนทัศน์ การจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบใหม่ๆ ที่แตกต่างไป จากเดิมส่งผลให้นักเรียนเกิดองค์ความรู้ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น และครูผู้สอนต้องปรับบทบาทจากผู้ถ่ายทอดและควบคุมการเรียนรู้ไปเป็นการให้ความร่วมมือ อำนวยความสะดวก สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้คำปรึกษา แนะนำ ดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหา โดยนักเรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง
2) ผลการพัฒนาและนำร่องการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้ เงื่อนไขการนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ และการวัดผลประเมินผล ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม (Verifying Knowledge) 2) ขั้นเติมความรู้ใหม่ (Instructing Fundamental Knowledge and SkillI) 3) ขั้นใส่มโนทัศน์ (Constructing Concepts ) 4) ขั้นแบ่งปันความรู้รอบ (Sharing Knowledge ) และ 5) ขั้นตรวจสอบความรู้ความเข้าใจ (Assessing Knowledge and Understanding )
    3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มโนทัศน์ทางชีววิทยาของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    4) ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนเห็นด้วยกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนในระดับมาก


krudear11 17 มี.ค. 2563 เวลา 10:11 น. 0 632
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^