LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรี

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้
โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม)
ผู้รายงาน        นางสาวจิตติมา ปัญญโชติกุล
หน่วยงาน        โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) เทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีการศึกษา    2557

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อวิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) เทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย จำนวน 30 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ผู้รายงานใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 12 แผน แบบฝึกเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรื่องการแก้โจทย์ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (P) ตั้งแต่ .48 ถึง .73 และ ค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ .43 ถึง .91 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.86 และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ หลังจากเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แบ่งระดับความพึงพอใจเป็น 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วยข้อคำถาม 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบที (t-test) กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01

    ผลการวิจัยพบว่า
        1. ผลจากการทำคะแนนจากการทำแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 ชุด มีค่าเฉลี่ย 170.07 คะแนน จากคะแนนเต็ม 195 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 87.21 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการทดสอบหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย 17.07 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 87.67 ดังนั้น แบบฝึกเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 87.21/87.67
        2. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เท่ากับ 0.7879 แสดงว่า หลังการทดลองด้วยแบบฝึกเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหา ที่ผู้รายงานสร้างและพัฒนาขึ้นนักเรียนมีความรู้และทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหา เพิ่มมากขึ้นร้อยละ 78.79
        3. การเปรียบเทียบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 30 คน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน ได้คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 8.37 คิดเป็นร้อยละ 41.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.16 และจากการทดสอบหลังจบการเรียนจากแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้ง 5 ชุด มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.53 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.53 ซึ่งแสดงว่า
มีค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        4. ผลการวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 ที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีระดับค่าเฉลี่ย 4.69 อยู่ในระดับมีความพึงพอใจมากที่สุด
py_sa 28 ก.พ. 2559 เวลา 18:41 น. 0 704
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^