LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

วิจัยในชั้นเรียน การจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ

usericon

วิจัยในชั้นเรียน

การศึกษาปัญหาความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6









นางสาวกุลิสรา เบ้าสุข
ผู้วิจัย








โรงเรียนบ้านม่วงฝ้าย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ

คำนำ

        งานวิจัยเรื่องการศึกษาปัญหาความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างประเทศ ซึ่งได้จัดทำขึ้นเพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการจำคำศัพท์ในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบทดสอบภาอังกฤษที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น
ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การวิจัยเรื่องนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ศึกษา
เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาทางด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



                             นางสาวกุลิสรา เบ้าสุข
                                 ผู้วิจัย
























งานวิจัยเรื่อง การศึกษาปัญหาความคงทนในการจำคำศัพท์ของนักเรียนชั้น ป. 6
ผู้วิจัย นางสาวกุลิสรา เบ้าสุข
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษ
กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน ๒๔ คน
ระยะเวลาดำเนินงาน พฤษภาคม 25๖2 – กันยายน 25๖22
ปีการศึกษา 25๖2




บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจดจำคำศัพท์ โดยใช้กิจกรรมการเขียนคำศัพท์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านม่วงฝ้าย ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 25๖2 กลุ่มทดลองเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน ๒๔ คน โดยให้นักเรียนทดสอบเกี่ยวกับคำศัพท์ก่อนเรียนและหลังเรียนจากแบบทดสอบคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น จำนวน 4 เรื่อง จากนั้นจึงทำการทดสอบหลังเรียน และวิเคราะห์ผลคะแนนโดยใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ
ผลการศึกษาปรากฏว่า การใช้กิจกรรมการเขียนคำศัพท์และทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ ทำให้นักเรียนมีความรู้ ความจำ ความเข้าใจในคำศัพท์และสามารถทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้นจากเดิม ดังจะเห็นได้จากการเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 21.26


















การศึกษาปัญหาความคงทนในการจำคำศัพท์ของนักเรียนชั้น ป. 6

1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในการเรียนภาษาไม่ว่าภาษาใด และระดับชั้นใดก็ตาม นักเรียนจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับตัวภาษาทั้งในด้านเสียง คำศัพท์และโครงสร้าง ถึงแม้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยจะเริ่มต้นมีมานานเป็นระยะเวลาหลายสิบปีก็ตาม แต่การเรียนการสอนก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร โดยเฉพาะในระดับเริ่มต้น คือระดับประถมศึกษา จากสภาพปัญหาในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ พบว่า เรื่อง คำศัพท์ เสียง โครงสร้างจะเป็นปัญหาในการพัฒนาความรู้และความเข้าใจในภาษาอังกฤษซึ่งนักเรียนไทยส่วนมากมักมีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ค่อนข้างน้อยและ
ไม่เพียงพอดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของภาษาและความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์เป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการเรียนภาษา คำศัพท์เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนภาษาในด้านทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนได้ดีด้วย แต่ปัญหาในเรื่องการเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยยังคงมีอยู่อีกมากมาย โดยเฉพาะนักเรียนในระดับประถมศึกษา ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ค่อนข้างอ่อนถึงปานกลาง แม้จะมีการท่องศัพท์ทุกวัน แต่ก็ไม่สามารถช่วยให้นักเรียนจดจำคำศัพท์ได้ดี เนื่องจากความจำกัดของเวลา และปริมาณของคำศัพท์ที่มีมากเกินไป ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงได้พยายามศึกษาหาแนวทางที่จะช่วยให้นักเรียนได้จดจำคำศัพท์ และนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้มากขึ้น


2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.    เพื่อพัฒนาการจดจำคำศัพท์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กิจกรรมการเขียนคำศัพท์ เล่นเกมเกี่ยวกับคำศัพท์และทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์

3. ขอบเขตของการวิจัย
        การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยไว้ดังนี้
        3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
            ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านม่วงฝ้าย
อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ปีการศึกษา 25๖2 จำนวน ๒๔ คน
            กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 25๖2 โรงเรียนบ้านม่วงฝ้าย อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี จำนวน ๒๔ คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง
        3.2 ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 25๖2 จำนวน ๒๐ สัปดาห์


    3.3 ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
3.3.1 ตัวแปรต้น
     1) วิธีสอนตามปกติ
              2) วิธีการประเมินที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ
     3) การทดสอบทักษะในด้านการอ่านและข้อเสนอแนะ
3.3.๒ ตัวแปรตาม
     1) พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน
         2) ทักษะในด้านการอ่าน

4. กรอบแนวคิดในการวิจัย







    การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความคงทนในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คณะผู้วิจัยได้จัดทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ โดยใช้กิจกรรมการเขียนที่หลากหลายเพื่อช่วยพัฒนาการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ และได้ทำการเปรียบเทียบผลคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน คะแนนจากการทำแบบฝึกหัดแต่ละฉบับ เพื่อศึกษาพัฒนาการของนักเรียนหลังจากที่ได้มีการทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษซ้ำกันหลายๆครั้งว่ามีความแตกต่างหรือพัฒนาขึ้นหรือไม่

5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.    ได้แบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ ที่จะช่วยพัฒนาความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2.    ได้แนวทางในการฝึกให้นักเรียนมีความรับผิดชอบและกระตือรือร้นในการท่องและจดจำคำศัพท์

    2. เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา เป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษในระดับชั้นประถมศึกษา คำที่คัดเลือกมาจากหมวดหมู่ต่างๆ จำนวนหมวดละ ๑๕ คำ
    
6. วิธีดำเนินการวิจัย
    ระยะเวลาในการดำเนินงาน
    ๒๐ พฤษภาคม 25๖2 – 30 กันยายน 25๖2

วัน เดือน ปี    กิจกรรม    หมายเหตุ
13 – 30 มิถุนายน 25๖2    -ศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์หาแนวทางแก้ปัญหา    
1- 25 กรกฎาคม 25๖2    - เขียนเค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียน
- ศึกษาหลักสูตรเกี่ยวกับคำศัพท์
- วิเคราะห์ผู้เรียนและวิเคราะห์เนื้อหา
- ออกแบบเครื่องมือที่จะใช้ในงานวิจัย    
28 ก.ค. - 1 ส.ค.25๖2    - นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน    คณะผู้วิจัยบันทึกคะแนน
4 - 8 สิงหาคม 25๖2    - นักเรียนทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ ฉบับที่ 1     คณะผู้วิจัยบันทึกคะแนน
11 – 15 สิงหาคม 25๖2    - นักเรียนทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ ฉบับที่ 2    คณะผู้วิจัยบันทึกคะแนน
18 -22 สิงหาคม 25๖2    - นักเรียนทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ ฉบับที่ 3    คณะผู้วิจัยบันทึกคะแนน
1 – 5 กันยายน 25๖2    - นักเรียนทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ ฉบับที่ 4    คณะผู้วิจัยบันทึกคะแนน
8 - 12 กันยายน 25๖2    - นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน    คณะผู้วิจัยบันทึกคะแนน
15 – 30 กันยายน 25๖2    - เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล    
1 – 8 ตุลาคม 25๖2    - สรุปและอภิปรายผล
- จัดทำรูปเล่ม    


7. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แบบทดสอบวัดความรู้ด้านคำศัพท์ (Pre-test)
2. แบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ การสะกดคำ การหาความหมาย
3. แบบทดสอบวัดความรู้ด้านคำศัพท์ (Post-test)

ขั้นตอนการดำเนินการ
     ในการดำเนินการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจดจำคำศัพท์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กิจกรรมการเขียนคำศัพท์ และทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ คณะผู้วิจัยได้วางแผนการดำเนินการศึกษา สร้างแบบทดสอบ และแบบฝึกหัด โดยยึดคำศัพท์ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ และได้ดำเนินการซึ่งมีรายละเอียดเป็นขั้นตอนดังนี้


1.    ขั้นวิเคราะห์ ( Analysis)
1.1 วิเคราะห์ผู้เรียน การวิเคราะห์ผู้เรียนได้กำหนดไว้ดังนี้
ประชากร คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 25๖2โรงเรียนบ้านม่วงฝ้าย มีจำนวน ๒๔ คน

1.2    วิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนดำเนินการมีดังนี้
เนื้อหาที่จะใช้สร้างแบบทดสอบ และแบบฝึกหัด คือเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษ
คำศัพท์ที่ใช้ในการทดลองเป็นคำศัพท์เกี่ยวกับคำนามจำนวน 11 หมวดหมู่ ซึ่งนำมาจากสมุดคำศัพท์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยครูผู้สอนภาษาอังกฤษในระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นผู้คัดเลือกคำศัพท์จำนวน 50 คำตามหมวดหมู่ดังนี้
    1.2.1 Things
        - tissue paper, carton, ceiling, switch, toothbrush, toothpaste, fridge
    1.2.2 Animals
        - buffalo, elephant, mosquito
    1.2.3 Fruit and vegetable
        - mangosteen, lettuce, garlic, cabbage, vegetable
        1.2.4 Parts of body
            - knee, shoulder, elbow, chest
        1.2.5 Person
            - children, people, parents, daughter, cousin, boy scout
1.2.6 Occupations
    - soldier, merchant, dressmaker, secretary, butcher
1.2.7 Food and drinks
    - ice-cream, noodles, bread, fish sauce, pepper, sausage, juice
1.2.8 Toys
    - balloon, marble
1.2.9 Clothes
    - blouse, trousers, dress
1.2.10 Sports and Games
    - volleyball, rugby, chess, scrabble
1.2.11 Places
    - classroom, clinic, cinema, toilet





2 ขั้นออกแบบ (Design)
    ขั้นออกแบบแบบทดสอบ และแบบฝึกหัดมีขั้นตอนดังนี้
1.1    แบบทดสอบวัดความจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนเรียน (Pre-test) จำนวน 50 ข้อ ตามหมวดหมู่คำศัพท์ที่กำหนดไว้โดยเป็นข้อสอบเขียนทั้งหมด
1.2    แบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์เป็นแบบฝึกหัดที่จะใช้ในการพัฒนาการจดจำคำศัพท์ของนักเรียนโดยวิธีการเขียนแบ่งออกเป็น 4 ฉบับ แต่ละฉบับประกอบไปด้วยคำศัพท์ จำนวน 50 คำที่ผู้วิจัยได้คัดเลือกไว้ โดยในแต่ละแบบฝึกจะมีแบบฝึกหัดที่หลากหลายและเป็นคำศัพท์ชุดเดียวกัน
1.3    แบบทดสอบวัดความจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษหลังเรียน (Post-test) จำนวน 50 ข้อ ตามหมวดหมู่คำศัพท์ที่กำหนดไว้โดยเป็นข้อสอบเขียนทั้งหมด โดยเป็นข้อสอบคนชุดกับแบบทดสอบก่อนเรียน

3. ขั้นดำเนินการ
    มีการดำเนินการดังนี้
3.1 ทำการทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 25๖2 โรงเรียนบ้านม่วงฝ้าย จำนวน 24 คน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดความจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนเรียน และทำการบันทึกคะแนน
3.2 ดำเนินการพัฒนาการจดจำคำศัพท์ของนักเรียนโดยใช้วิธีการเขียน การทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สัปดาห์ละ 1 ฉบับ พร้อมทั้งลงบันทึกคะแนน
3.3 ทำการทดสอบอีกครั้ง โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดความจำคำศัพท์ของนักเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดความจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษหลังเรียน


4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
    4.1 วิเคราะห์ข้อมูล
        - วิเคราะห์ผลจากคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน แบบฝึกหัด และแบบทดสอบหลังเรียน
4.2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
    4.2.1 การหาค่าเฉลี่ย ( x )
        ( x ) = x
             N    
เมื่อ x = ค่าเฉลี่ย
              X = คะแนนที่ได้
              N = จำนวนนักเรียนทั้งหมด
∑ = ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
    4.2.2 การหาค่าร้อยละ
        ค่าร้อยละ = คะแนนที่ได้ x 100
             คะแนนเต็ม
5. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
    จากการศึกษาวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจดจำคำศัพท์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กิจกรรมการเขียนคำศัพท์ และทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ โดยได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 25๖2 โรงเรียนบ้านม่วงฝ้าย จำนวน ๒๔ คน คณะผู้วิจัยได้ทำการทดสอบก่อนเรียนโดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดความจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนเรียน แล้วให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ จำนวน 4 ฉบับโดยให้นักเรียนทำสัปดาห์ละ 1 ฉบับ จากนั้นให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดความจำศัพท์หลังเรียน โดยสามารถวิเคราะห์ผลได้ดังนี้
    5.1 ผลการวิเคราะห์ความก้าวหน้าทางการจดจำคำศัพท์จากคะแนนแบบฝึกหัดทั้ง 4 ฉบับ
    5.2 ผลการวิเคราะห์ความก้าวหน้าทางการจดจำคำศัพท์จากคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
5.3 ผลการวิเคราะห์ความก้าวหน้าทางการจดจำคำศัพท์จากคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน
แบบฝึกหัดและแบบทดสอบหลังเรียน        

๖. สรุปผลการวิจัย
        จากผลในการวิจัยในเรื่องการพัฒนาทักษะในด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ซึ่งมีจำนวนนักเรียน 8 คน ได้แก่ ด.ช.ฐิติกร ยาชมภู, ด.ช.สุรศักดิ์ จิตตะคาม, ด.ช. ปรัญชัย วิมลเศรษฐ์, ด.ช. พิสิทธิ์ กาลวัย, ด.ญ.ปนัดดา วงษ์ทอง, ด.ญ.ชนิตา เทศวงศ์, ด.ญ.บัณฑิตา บุทองและด.ญ.นันธิดา โพธิ์นอก ผู้วิจัยทำการทดสอบก่อนเรียนโดยให้นักเรียนทดสอบอ่านแบบฝึกอ่าน ผลปรากฏว่านักเรียนสามารถอ่านคำที่กำหนดให้ได้อยู่ในเกณฑ์ 39 , 37, 43, 41 , 49 , 49 และ 37 ตามลำดับ ซึ่งจากผลดังกล่าว อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องปรับปรุง ดังนั้นครูจึงใช้แนวการสอนและเทคนิคต่างๆ ในการที่จะให้นักเรียนมีความเข้าใจในทักษะในด้านการอ่านสะกดคำ และได้ให้เพื่อนๆ ในห้องได้มีส่วนร่วมในการแนะนำหลักและวิธีในการอ่านสะกดคำ หลังจากนั้นครูได้ใช้ชุดแบบทดสอบชุดเดิม ให้นักเรียนได้ฝึกทดลองอ่านสะกดคำอีกครั้งหนึ่ง ผลปรากฏว่ามีนักเรียนที่มีพัฒนาการด้านทักษะการอ่านที่ดีขึ้น จำนวน 6 คน ได้แก่ ด.ช. ปรัญชัย วิมลเศรษฐ์, ด.ช. พิสิทธิ์ กาลวัย, ด.ญ.ปนัดดา วงษ์ทอง, ด.ญ.ชนิตา เทศวงศ์, ด.ญ.บัณฑิตา บุทองและด.ญ.นันธิดา โพธิ์นอก มีผลสัมฤทธิ์ในด้านการอ่านสะกดคำโดยคิดเป็นร้อยละ 79 ,75, 74, 73 , 73 และ 72 ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ ดี แสดงว่าหลังการจัดกิจกรรมการอ่านทั้ง 18 ชั่วโมงแล้ว นักเรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการอ่านที่ดีขึ้น และยังมีนักเรียนอีก 2 คน ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้แก่ ด.ช.ฐิติกร ยาชมภู และ ด.ช.สุรศักดิ์ จิตตะคาม มีผลสัมฤทธิ์ในด้านการอ่านสะกดคำโดยคิดเป็นร้อยละ 44 และ 40 ตามลำดับ ซึ่งผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลดังกล่าวเพื่อทำการวิจัยในครั้งต่อไป

๗. ข้อเสนอแนะ
        ในการวิจัยครั้งต่อไปควรคัดกรองนักเรียนตามความสามารถทางการเรียนรู้เพื่อจัดทำแบบฝึกได้เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละกลุ่ม
the_wink001 03 มี.ค. 2563 เวลา 14:56 น. 0 26,056
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^