LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) ประกาศผลสอบรับใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 1/2567 ประกาศผลสอบวันที่ 29 มีนาคม 2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

(Best Practice) บัดดี้คู่ซี้ จิตดี อ่านดี

usericon

วิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice)
บัดดี้คู่ซี้ จิตดี อ่านดี

ชื่อผู้นำเสนอผลงาน นางสาวกุลิสรา เบ้าสุข
ครู คศ.2 โรงเรียนบ้านม่วงฝ้าย     
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1

ความเป็นมา

จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษากล่าวถึงการพัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง การพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามความมุ่งหวังต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะบุคลากรในโรงเรียน ซึ่งมี ครูที่ปรึกษาเป็นหลักสำคัญในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างใกล้ชิด ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กำหนดความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (มาตรา 16) และแนวการจัดการศึกษายังให้ความสำคัญกับผู้เรียนทุกคน โดยยึดหลักการผู้เรียนทุกคน เป็นผู้มีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ (มาตรา 22)
    ปัญหาสำคัญที่พบมากในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในปัจจุบัน คือ ความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งหมายถึง ความผิดปกติของกระบวนการทางจิตวิทยา (Psychological Process) อย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ภาษา การพูด หรือการเขียน ทำให้บุคคลที่มีความผิดปกติดังกล่าวด้อยความสามารถในการฟัง การคิด การอ่าน การเขียน หรือการคำนวณทางคณิตศาสตร์ นักเรียนที่มีความบกพร่องด้านการเรียนรู้ (Learning disabilities, LD) หมายถึง นักเรียนที่มีความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างของขบวนการพื้นฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษา การพูดหรือการเขียน ซึ่งความผิดปกตินี้อาจส่งผลให้เกิดความบกพร่องในเรื่องที่เกี่ยวกับความเข้าใจ การฟัง การคิด การพูด การอ่าน การเขียน การสะกดคำ ตลอดจนการคิดคำนวณ แต่ไม่รวมถึงเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อันเนื่องมาจากการมีความพิการด้านสายตา การได้ยิน ร่างกายพิการ ภาวะปัญญาอ่อน มีปัญหาทางด้านอารมณ์หรือเป็นเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา ความบกพร่องทางการเรียนรู้ ก่อให้เกิดปัญหาการเรียนเนื่องมาจากเด็กไม่สามารถเรียนได้ดีเท่ากับเด็กปกติทั่วไป ความบกพร่องที่พบมากที่สุดคือความบกพร่องทางการอ่าน เด็กที่มีปัญหาในการอ่านอาจมีพฤติกรรมดังนี้ 1) จำอักษรไม่ได้ ทำให้อ่านเป็นคำไม่ได้ 2) จำอักษรได้บ้าง แต่อ่านเป็นคำไม่ได้ 3) ระดับความสามารถในการอ่านต่ำกว่านักเรียนอื่นในชั้นเรียนเดียวกัน 4) ระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยหรือสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เมื่อวัดโดยใช้แบบทดสอบเชาว์ปัญญาที่เชื่อถือได้ 5) เด็กบางคนอาจมีความไวในการใช้สายตา 6) อ่านคำโดยสลับตัวอักษร 7) ไม่เข้าใจว่าตัวอักษรใดมาก่อน มาหลังตัวอักษรใดอยู่ซ้ายหรือขวา 8) ไม่สามารถแยกเสียงสระในคำได้ นักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ทางด้านการอ่าน จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำและส่งผลให้มีปัญหาทางพฤติกรรม จากประสบการณ์ในการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้พบว่ากิจกรรมใดที่นักเรียนไม่ประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมหรือไม่พอใจที่จะทำ นักเรียนจะเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความตั้งใจ เนื่องจากภาษาเป็นพื้นฐานที่ช่วยให้คนเราสามารถติดต่อ สื่อสารแก้ปัญหา ผสมผสาน วิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้ได้ หากมีความบกพร่องทางภาษาจะทำให้เกิดผลเสียอย่างรุนแรงต่อความสามารถของบุคคลต่อการเรียนรู้ การดำรงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและความเชื่อมั่นในตนเอง นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน จะมีลักษณะการอ่าน ดังนี้ คือ อ่านไม่ออก อ่านช้า อ่านตะกุกตะกัก อ่านคำไม่ถูกต้อง อ่านข้ามคำ อ่านเพิ่มคำ อ่านคำอื่นแทน หรืออ่านกลับหลัง ไม่เข้าใจสิ่งที่อ่าน ทำให้ขาดความเข้าใจในเนื้อหาของเรื่องที่อ่าน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ประสบกับปัญหาความยุ่งยากในการเรียน หรืออาจเรียนช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน เนื่องจากขาดความสามารถในการอ่าน ด้วยเหตุนี้การอ่านจึงเป็นปัญหาสำคัญที่สุดของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้     ภาวะบกพร่องด้านการอ่านจะส่งผลต่อความสามารถในการตีความ การเข้าใจความหมายของคำ หรือภาษา การออกเสียงคำศัพท์ ซึ่งความบกพร่องนี้เกิดขึ้นจากความผิดปกติทางระบบประสาทการรับรู้ต่างๆ เช่น การรับรู้ทางสายตา การรับรู้ทางการได้ยิน ระบบความจำ และทักษะการใช้ภาษา
    จากการสังเกตพฤติกรรมด้านการอ่านของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้พบว่า นักเรียนจะอ่านออกเสียงได้เต็มที่หากฝึกอ่านกับเพื่อน ด้วยเหตุผลนี้ครูผู้สอนจึงจัดกิจกรรม บัดดี้คู่ซี้ จิตดี อ่านดี ขึ้น เพื่อฝึกกระบวนการอ่านของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ให้มีพัฒนาการด้านการอ่านที่ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความมีน้ำใจ การมีจิตอาสา ในการช่วยเหลือเพื่อนเพื่อมุ่งหวังให้นักเรียนสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข มีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต สามารถดำเนินชีวิตประจำวัน เรียนรู้ด้วยตนเองต่อเนื่อง ทำงานและอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล

วัตถุประสงค์
1.    เพื่อฝึกให้นักเรียนมีจิตอาสา รู้จักช่วยเหลือสังคมและบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น
2.    เพื่อให้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้พัฒนาทักษะในการอ่าน
    
กลุ่มเป้าหมาย
        นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 คน

ขั้นตอนการดำเนินงาน
ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผน
ขั้นวางแผนเป็นขั้นตอนการหาแนวคิด วิธีการ นวัตกรรม รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่สามารถแก้ไขปัญหาด้านการอ่านของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ขั้นที่ 2 ขั้นเตรียมการและออกแบบ
เมื่อได้กำหนดรูปแบบการจัดการเรียนรู้เรียบร้อยแล้วก็ถึงขั้นการเตรียมออกแบบสมุดบันทึกบัดดี้คู่ซี้ จิตดี อ่านดี ซึ่งเป็นแบบฝึกที่ใช้เพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ขั้นที่ 3 ขั้นการจัดทำ
ครูสร้างแบบสมุดบันทึกบัดดี้คู่ซี้ จิตดี อ่านดี ซึ่งเป็นแบบฝึกที่ใช้เพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยรวบรวมคำศัพท์แยกตามการประสมของสระ
ขั้นที่ 4 ขั้นการนำเสนอ
นักเรียนที่เป็นบัดดี้คู่ซี้นำเสนอผลการบันทึกการอ่านที่บันทึกในสมุดบันทึกบัดดี้คู่ซี้ จิตดี อ่านดี เพื่อดูพัฒนาการความก้าวหน้าด้านการอ่านของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล
ครูและนักเรียนคู่บัดดี้ประเมินการอ่านของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ร่วมกัน และครูยังสังเกตพฤติกรรมการมีจิตอาสา ฝึกเพื่อนอ่านของนักเรียนคู่บัดดี้
ขั้นที่ 6 ขั้นการสรุปผล
ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันสรุปผลการประเมินทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าสมุดบันทึกบัดดี้คู่ซี้ จิตดี อ่านดี ที่จัดทำขึ้นนั้น บรรลุตาม วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ มีข้อดีและข้อควรปรับปรุงอะไรบ้าง

ผลการดำเนินงาน
    1. นักเรียนมีจิตอาสา มีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อน
    2. นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้มีพัฒนาการในด้านการอ่านที่ดีขึ้น
    

ข้อเสนอแนะ
ควรพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ นอกเหนือจากทักษะด้านการอ่าน
the_wink001 03 มี.ค. 2563 เวลา 14:53 น. 0 403
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^