LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 25 เม.ย. 2567สพป.สุพรรณบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 3 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 24 เม.ย. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดสอบพนักงานราชการ 350 อัตรา วุฒิปริญญาตรี อัตราเงินเดือน 20,540 - 22,750 บาท ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. - 8 พ.ค. 2567 24 เม.ย. 2567สพป.เลย เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เลย เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 24 เม.ย. 2567สพป.สกลนคร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สกลนคร เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 27 อัตรา - รายงานตัว 1 พฤษภาคม 2567 24 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 2

แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E)

usericon

แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) วิชาเคมีเพิ่มเติม 1 (ว30221)ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4เรื่อง พันธะเคมี
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                         ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พันธะเคมี                    เวลา 20 ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์                เวลา 2 ชั่วโมง
ใช้สอนในวันที่.........เดือน...................................พ.ศ. ...........................
......................................................................................................................................................................
มาตรฐาน
ว3.1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ผลการเรียนรู้    ทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ได้
สาระสำคัญ
    รูปร่างโมเลกุล คือการจัดอะตอมต่างๆแบบสามมิติในโมเลกุลโคเวเลนต์ รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์มีความสัมพันธ์ต่อสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสารนั้น โมเลกุลที่มีรูปร่างต่างกันมีการจัดเรียงอะตอมที่ทำให้มุมพันธะและความยาวพันธะต่างกัน ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดเป็นรูปร่างโมเลกุลคืออะตอมกลาง
    การทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์พิจารณาจากจำนวนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะรอบอะตอมกลางและจำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวรอบอะตอมกลาง
จุดประสงค์
    1. สามารถทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวรอบอะตอมกลางได้
    2. สามารถทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวรอบอะตอมกลางได้
    3. มุ่งมั่นในการทำงาน
สาระการเรียนรู้
    รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ สิ่งที่ใช้บอกรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์คือ การจัดเวเลนต์อิเล็กตรอนรอบอะตอมกลางของธาตุในโมเลกุลโคเวเลนต์ นอกจากนั้นความยาวพันธะและมุมระหว่างพันธะยังสามารถบอกรูปร่างโมเลกุลได้ด้วย ในการทำนายรูปร่างโมเลกุลให้เลือกอะตอมกลางซึ่งเป็นอะตอมที่สร้างพันธะได้มากที่สุดก่อนและนับจำนวนพันธะที่อะตอมกลางสร้างได้ และจำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว รอบอะตอมกลางนั้น แรงผลักทั้งหมดของคู่อิเล็กตรอนที่เกิดจากการสร้างพันธะและไม่ได้สร้างพันธะจะทำให้รูปร่างโมเลกุลแตกต่างกันดังนี้
    1. โมเลกุลที่อะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว ได้แก่
1.1 รูปร่างเส้นตรง มีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 4 คู่ 2 พันธะรอบอะตอมกลางและมีมุมระหว่างพันธะ 180 •
1.2 รูปร่างสามเหลี่ยมแบนราบมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 3 คู่ 3 พันธะรอบอะตอมกลางโดยมุมพันธะเป็น 120 •
        1.3 รูปร่างทรงสี่หน้า มีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 4 คู่ 4 พันธะ โดยมุมพันธะเป็น 109.5 •
        1.4 รูปร่างพีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยม มีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 5 คู่ 5 พันธะโดยมีมุมพันธะ 120 • และ 90 •
        1.5 รูปร่างทรงแปดหน้ามีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ6คู่ 6 พันธะโดยมีมุมพันธะ 90 •
    2. โมเลกุลที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวได้แก่
        2.1 รูปร่างมุมงอหรือตัววี มีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 2 คู่ มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 2 คู่ โดยทำมุมเล็กกว่า 109.5 • แต่ถ้ามีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 1 คู่ จะทำให้อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะมีมุมพันธะน้อยกว่า 120 • แต่มากกว่า 109.5 •
        2.2 รูปร่างพีระมิดฐานสามเหลี่ยม มีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 3 คู่ 3 พันธะ และมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 1 คู่ ทำมุมพันธะน้อยกว่า 109.5 •
        2.3 รูปร่างเส้นตรง มีจำนวนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 2 คู่ มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 3 คู่
        2.4 รูปร่างพีระมิดฐานสี่เหลี่ยมมีจำนวนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 5 คู่ มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 1 คู่
        2.5 รูปร่างสี่เหลี่ยมแบนราบ มีจำนวนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 4 คู่ มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 2 คู่ มุมพันธะ 90 •
        2.6 รูปร่างตัวที มีจำนวนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 3 คู่ มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 2 คู่ มุมพันธะ 90 •
        2.7 รูปร่างทรงสี่หน้าบิดเบี้ยว มีจำนวนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 4 คู่ มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 1 คู่
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ใช้รูปแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น)
    1. ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม (Elicitation Phase)
        1.1 นักเรียนสังเกตแผนภาพแสดงโครงสร้างแบบจุดของโมเลกุลโคเวเลนต์ BF3 และ CH4 แล้วครูตั้งประเด็นคำถามดังนี้
        - สูตรโครงสร้างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่เห็นมีจำนวนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะกี่คู่ กี่พันธะ (3 คู่ 3 พันธะ)
        - ถ้าเทียบสูตรโครงสร้างดังกล่าวมีรูปร่างแบบมีมิติ นักเรียนสามารถระบุได้หรือไม่ว่าควรมีรูปร่างแบบใด (รูปทรงทางเรขาคณิตคือรูปร่างสามเหลี่ยนแบนราบ รูปร่างทรงสี่หน้า)
        1.2 นักเรียนและครูร่วมกันอภิปราย แนวคิด คำตอบ เพื่อเชื่อมโยงความรู้เดิมไปสู่ความรู้เรื่องรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์
    2. ขั้นเร้าความสนใจ (Engagement Phase )
        2.1 ครูนำแผนภาพสูตรโครงสร้างแบบเส้นของโมเลกุลโคเวเลนต์ต่อไปนี้
BCl3         CH4         PCl5
นำมาติดไว้บนกระดาน ครูตั้งคำถามกระตุ้นเพื่อให้นักเรียนได้แสดงความคิดดังนี้
        - จากแผนภาพบนกระดานถ้าเปรียบเทียบกับรูปทรงเรขาคณิตทางคณิตศาสตร์ นักเรียนคิดว่าโมเลกุลดังกล่าวน่าจะมีรูปร่างแบบใด
        2.2 อาสาสมัครนักเรียนจำนวน 3 คนออกมาหน้าชั้นเรียน พร้อมทั้งแสดงแนวคำตอบรูปร่างโมเลกุลของสารตามรูปทรงเรขาคณิต
        2.3 ครูนำรูปทรงเรขาคณิตมาให้นักเรียนดู แล้วช่วยกันตอบว่ามีรูปทรงเรขาคณิตชนิดใดบ้าง ถ้าเปรียบกับสูตรโครงสร้างแบบเส้นของโมเลกุลโคเวเลนต์ BCl3 CH4 และ PCl5 ควรมีรูปร่างเป็นแบบใดตามรูปทรงทางเรขาคณิต
พีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยม            ทรงเหลี่ยมสี่ห เหลี่ยมผืนผ้า สามเหลี่ยมแบนราบ
        2.4 นักเรียนร่วมกันอภิปราย แสดงความคิดเห็น เปรียบเทียบรูปทรงทางเรขาคณิตกับสูตรโครงสร้างแบบเส้นของโมเลกุลโคเวเลนต์
        2.5 นักเรียนรับใบความรู้เรื่อง รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ จากนั้นศึกษาและร่วมกันอภิปรายความรู้ที่ได้รับ
    3. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration Phase)
        3.1 นักเรียนแบ่งกลุ่มๆละ 5 คน โดยคละความสามารถ เก่ง ปานกลาง และอ่อน จากนั้นแต่ละกลุ่มเลือกประธาน รองประธาน และเลขานุการเพื่อทำหน้าที่ภายในกลุ่ม
        3.2 นักเรียนส่งตัวแทนมารับใบกิจกรรมที่ 1 เรื่อง รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่อะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวโดยนักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมดังต่อไปนี้
        - นักเรียนส่งตัวแทนมารับอุปกรณ์ และบัตรคำสูตรโมเลกุลโคเวเลนต์จำนวน 7 แผ่น
        - นักเรียนภายในกลุ่มศึกษา ระดมความคิด อภิปรายร่วมกัน วางแผน ออกแบบเพื่อสร้างโมเดลสูตรโมเลกุลที่กำหนดให้ ให้มีรูปทรงทางเรขาคณิต
        - นักเรียนนำอุปกรณ์ที่กำหนดให้คือผลไม้ที่มีผลทรงกลมที่หาได้ในชุมชน หรือสวนป่าหลังโรงเรียนของตนเอง ไม้จิ้มฟัน จากนั้นลงมือสร้างโมเดลรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ให้มีรูปทรงทางเรขาคณิตตามที่กลุ่มตนเองวางแผน และออกแบบเอาไว้ให้ครบจำนวน 7 สูตรโมเลกุล
        - เมื่อสร้างโมเดลเรียบร้อยแล้วให้แต่ละกลุ่มวาดภาพโมเดลของกลุ่มลงในแบบบันทึกกิจกรรม พร้อมทั้งระบุชื่อรูปร่างโมเลกุล โดยแต่ละกลุ่มใช้ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่อะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว ประกอบในการศึกษาเพิ่มเติม
        3.3 นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปราย แสดงความคิดเห็นใบกิจกรรมที่1 จนทุกคนในกลุ่มเข้าใจสูตรโมเลกุลที่กำหนดให้ว่าเมื่อสร้างโมเดลทางเรขาคณิตแล้วเทียบกับรูปร่างโมเลกุลมีรูปร่างอย่างไร มีชื่อว่าอย่างไร
        3.4 นักเรียนส่งตัวแทนมารับใบกิจกรรมที่2 เรื่อง รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวโดยนักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมดังต่อไปนี้
        - แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาใบกิจกรรมที่2 ระดมความคิด วางแผน ออกแบบเพื่อสร้างโมเดลรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ตามสูตรโมเลกุลที่กำหนดให้
        - นำอุปกรณ์ที่กำหนดให้ได้แก่ ผลไม้ทรงกลม ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน มาสร้างโมเดลตามที่ได้วางแผน ออกแบบเอาไว้ ให้ครบตามจำนวนที่กำหนดคือ 6 สูตรโมเลกุล
        - เมื่อสร้างโมเดลเสร็จวาดภาพ และระบุชื่อรูปร่างโมเลกุลของแต่ละสูตรลงในแบบบันทึกกิจกรรม โดยใช้ใบความรู้ที่1 เรื่องรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ประกอบการศึกษา
        3.5 นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปราย แสดงความคิดเห็นใบกิจกรรมที่2 จนทุกคนในกลุ่มเข้าใจสูตรโมเลกุลที่กำหนดให้ว่าเมื่อสร้างโมเดลทางเรขาคณิตแล้วเทียบกับรูปร่างโมเลกุลมีรูปร่างอย่างไร มีชื่อว่าอย่างไร
        3.6 ครูคอยสังเกตการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน และบันทึกพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียนแต่ละกลุ่ม
4. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation Phase)        
        4.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มเมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการปฏิบัติกิจกรรม นำมาตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นให้ส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลที่ได้หน้าชั้นเรียน
        4.2 นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายผลการปฏิบัติกิจกรรมจากใบกิจกรรมที่ 1 และ ใบกิจกรรมที่2 เพื่อให้ได้ข้อสรุปดังนี้
        - การปฏิบัติกิจกรรมที่ 1 เรื่องรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่อะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวสรุปว่า รูปร่างโมเลกุลของ BeCl2 เป็นเส้นตรงสังเกตจากการเทียบกับรูปทรงเรขาคณิตและเมื่อเขียนสูตรโครงสร้างแบบเส้นแล้วมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 2 คู่ จำนวน 2 พันธะ จึงสรุปได้ว่า ถ้าสูตรโมเลกุลมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 2 คู่ จำนวน 2 พันธะและไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวเหลืออยู่เลยสามารถทำนายว่าสูตรโมเลกุลนั้นมีรูปร่างเป็นเส้นตรง     BF3 มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมแบนราบ โดยอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 3 คู่(3 พันธะ) และอะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว SiF4 มีรูปร่างเป็นทรงสี่หน้า โดยอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 4 คู่(4พันธะ) และอะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดียว
PF5 มีรูปร่างเป็นพีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยม โดยอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 5 คู่ (5พันธะ)อะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว    SF6 และ TeCl6 มีรูปร่างเป็นทรงแปดหน้า โดยอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 6 คู่(6 พันธะ) และอะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
- การปฏิบัติกิจกรรมที่ 2 เรื่องรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
สรุปว่า XeF4 มีรูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมแบนราบ โดยอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 4 คู่(4 พันธะ) และอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวอยู่ 2 คู่
    NH3 มีรูปร่างเป็นพีระมิดฐานสามเหลี่ยม โดยอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 3 คู่ (3 พันธะ) และอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวอยู่ 1 คู่
IF5 และ FCl5 มีรูปร่างเป็นพีระมิดฐานสี่เหลี่ยม โดยอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 5 คู่ (5 พันธะ) และอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวอยู่ 1 คู่
BrCl3 และ ClF3 มีรูปร่างเป็นรูปตัวที โดยอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 3 คู่ (3 พันธะ) และอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวอยู่ 2 คู่
H2O มีรูปร่างเป็นมุมงอ โดยอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 2 คู่ (2 พันธะ) และอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวอยู่ 2 คู่
4.3 นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายจนให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์อีกครั้งว่า รูปร่างโมเลกุลให้พิจารณา 2 ลักษณะคือสูตรโมเลกุลที่อะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวและเกิดพันธะโดยสังเกตจำนวนที่เกิดพันธะ สูตรโมเลกุลที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
    5. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration Phase)
        เมื่อนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับรูปร่างโมเลกุลแล้ว ครูยกตัวอย่างสูตรโมเลกุลอื่นๆเช่น
ให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้อธิบายและทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ เพื่อวิเคราะห์ว่านักเรียนมีความรู้ความเข้าใจถูกต้อง สมบูรณ์จริงหรือไม่ ให้นักเรียนทำกิจกรรมดังต่อไปนี้
    5.1 นักเรียนทำแบบฝึกหัดเรื่องรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์
    5.2 แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษา อภิปราย และกำหนดหน้าที่กันเองภายในกลุ่มเพื่อทำแบบฝึกหัด
    5.3 แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปราย ตรวจความถูกต้อง ตอบคำถามข้อสงสัยต่างๆ ให้ทุกคนในกลุ่มเข้าใจคำตอบก่อนส่ง
6. ขั้นประเมินผล (Evaluation Phase)
    6.1 ครูให้นักเรียนส่งแบบฝึกหัดเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และความเรียบร้อยของงานที่นักเรียนทำ
    6.2 ครูสุ่มถามนักเรียนเป็นรายบุคคลทั้งนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน เกี่ยวกับการเขียนสูตรโครงสร้างแบบเส้นแล้วทำนายรูปร่างโมเลกุล
7. ขั้นนำความรู้ไปใช้ (Extension Phase)
        7.1 ครูตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนตอบเป็นการนำความรู้ที่ได้ไปเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันดังนี้
        - นักเรียนยกตัวอย่างสารประกอบโคเวเลนต์ที่มีในชีวิตประจำวันพร้อมเขียนสูตรโมเลกุลและเขียนสูตรโครงสร้างแบบเส้นและทำนายรูปร่างโมเลกุลนั้นได้ถูกต้อง
        - ครูชี้แนะให้นักเรียนหาความรู้เพิ่มเติมโดยการค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆเช่นห้องสมุด อินเทอร์เน็ต และจากผู้รู้
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
    1. ใบความรู้ที่1 เรื่อง รูปร่างโมเลกุลที่ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
    2. ใบความรู้ที่2 เรื่อง รูปร่างโมเลกุลที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
    3. ใบกิจกรรมที่1 เรื่อง รูปร่างโมเลกุลที่ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
    4. ใบกิจกรรมที่2 เรื่อง รูปร่างโมเลกุลที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
    5. แบบฝึกหัดเรื่องรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์
การวัดและประเมินผล
    จุดประสงค์    วิธีการวัด    เครื่องมือ    เกณฑ์
1. สามารถทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์เมื่อทราบจำนวนพันธะและจำนวนอิเล็กตรอนรอบอะตอมกลางได้    ครูตรวจใบกิจกรรมที่1
    - ใบกิจกรรมที่1
- แบบฝึกหัดเรื่องรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์    -ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
-ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
2. สามารถทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์เมื่อทราบจำนวนพันธะและจำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวรอบอะตอมกลางได้    ครูตรวจใบกิจกรรมที่2    - ใบกิจกรรมที่2
- แบบฝึกหัดเรื่องรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์    -ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
-ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
3. มุ่งมั่นในการทำงาน    สังเกตพฤติกรรมในการทำกิจกรรม    แบบสังเกตพฤติกรรม    ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
ความเห็นของผู้บังคับบัญชา
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………



         ลงชื่อ.....................................................ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหันวิทยา
                 (นายสุวิชา ดิเรกโภค)
บันทึกผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ปัญหาและอุปสรรค
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ข้อเสนอแนะ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………



                         ลงชื่อ....................................................................
                         (นางอุไรวรรณ ปัญญาศิลป์)
                         ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
                         .............../................................/..................
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^