LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้ชุดการเรียนการ

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้ชุดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ
    เทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียน
        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย         นายสุพล กระเชื่อมรัมย์
โรงเรียน     โรงเรียนครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์     2562
บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยชุดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัว แปรเดียว ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียนการสอน แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียน การสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา สังกัดสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ชุดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของ สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จำนวน 5 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้น ตัวแปรเดียว เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เป็นแบบมาตราส่วน 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบที (t – test) แบบ Dependent Sample
    ผลการวิจัยพบว่า
        1. ชุดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้น ตัวแปรเดียว มีประสิทธิภาพของชุดการเรียนการสอน (E1/E2) เท่ากับ 80.17/81.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 75/75
        2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยชุดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        3. ดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7039 คิดเป็นร้อยละ 70.39 แสดงว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.39
        4. นักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวอยู่ในระดับมากที่สุด
somsakpra 21 ก.พ. 2563 เวลา 10:56 น. 0 429
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^