LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5

การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา

usericon

ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา
        สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย        นางสาวพัฒนินทร์ สรรพวรสถิตย์ วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี
ปีที่วิจัย         2560

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 สรุปสาระที่ได้จากการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (4) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้ (4.1) การเปรียบเทียบทักษะการฟังของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์
ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (4.2) การเปรียบเทียบทักษะการพูด ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (4.3)
การเปรียบเทียบทักษะการอ่าน ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์
ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ (4.4) การเปรียบเทียบทักษะการเขียน
ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์
การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลัง
การจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา
สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1)
เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (Implement: I) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (Evaluation: E) สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t–test (Independent Sample t – test)
    ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน สภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางภาษาและข้อมูลทักษะภาษาแบบองค์รวมของเด็กปฐมวัย พบว่า การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ยังมีปัญหาและต้องการพัฒนาเพิ่มขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก การกำหนดนิยามพฤติกรรมบ่งชี้ในองค์ประกอบของทักษะทางภาษา พบว่า ทักษะทางภาษา
ควรประกอบด้วยความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารของเด็กปฐมวัย 4 ด้าน ได้แก่
ด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน สำหรับแนวทางการพัฒนาทักษะทางภาษา
ควรจัดประสบการณ์ทางภาษาให้มีความหมายกับเด็ก ส่งเสริมการเรียนรู้ทางภาษาที่หลากหลาย
ให้เหมาะสมกับความแตกต่างของเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อจะได้เรียนรู้ภาษาอย่างมีประสิทธิภาพ
มากขึ้นโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความท้าทาย จูงใจให้ร่วมปฏิบัติ และสามารถประสบความสำเร็จ
ในการทำกิจกรรมด้วยตนเอง ส่วนแนวทางการพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ให้บรรลุผลนั้น ควรจัดประสบการณ์โดยประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องสนับสนุน ได้แก่
กรอบแนวคิดทฤษฎีพัฒนาการทางทางสติปัญญาของเพียเจท์ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมสังคมของไวก็อตสกี้ การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน การจัดประสบการณ์ภาษาแบบธรรมชาติ
การจัดประสบการณ์แบบเรกจิโอเอมีเลีย และแนวคิดการจัดประสบการณ์แบบไฮสโคป
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีองค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และ 4) การวัดและประเมินผล โดยมีกระบวน
การจัดประสบการณ์ตามขั้นตอนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ 1)
ขั้นการสร้างความสนใจ 2) ขั้นเผชิญสถานการณ์ 3) ขั้นลงมือปฏิบัติ 4) ขั้นแลกเปลี่ยนและสรุปความรู้ และ 5) ขั้นการประยุกต์ใช้และประเมินผล ซึ่งผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ มีความเหมาะสมระดับมาก
3. เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีทักษะทางภาษาเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนและโดยรวมทั้ง 4 ด้าน แสดงว่าการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามรูปแบบ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3
ทำให้เด็กปฐมวัยมีทักษะทางภาษาเพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
4.1 ทักษะการฟังของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์
ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05 แสดงว่า ทักษะการฟังหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน ทำให้เด็กปฐมวัย มีทักษะการฟังเพิ่มขึ้น
4.2 ทักษะการพูดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์
ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05 แสดงว่า ทักษะการพูดหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน ทำให้เด็กปฐมวัยมีทักษะการพูดเพิ่มขึ้น
4.3 ทักษะการอ่านของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนา
ทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ทักษะการอ่านหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่า
ก่อนเรียน ทำให้เด็กปฐมวัยมีทักษะการอ่านเพิ่มขึ้น
4.4 ทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3
ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ
ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05 แสดงว่า ทักษะการเขียนหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน ทำให้เด็กปฐมวัยมีทักษะการเขียนเพิ่มขึ้น

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^