LASTEST NEWS

23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย 23 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพม.นครราชสีมา ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครราชสีมา 23 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 5 23 เม.ย. 2567สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สงขลา เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 3 23 เม.ย. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 4

การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะ

usericon

ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษา
        ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย        นางสาวพัฒนินทร์ สรรพวรสถิตย์ วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี
ปีที่วิจัย         2560

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 สรุปสาระที่ได้จากการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษา
ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (4) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้ (4.1) การเปรียบเทียบทักษะการฟัง ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (4.2) การเปรียบเทียบทักษะการพูด ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (4.3) การเปรียบเทียบทักษะการอ่าน ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ (4.4) การเปรียบเทียบทักษะการเขียน ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 Implement: l) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (Evaluation: E) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t–test (Independent Sample t – test)
    ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน สภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางภาษาและข้อมูลทักษะภาษาแบบองค์รวมของเด็กปฐมวัย พบว่า การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ยังมีปัญหาและต้องการพัฒนาเพิ่มขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก การกำหนดนิยามพฤติกรรมบ่งชี้ในองค์ประกอบของทักษะทางภาษา พบว่า ทักษะทางภาษาควรประกอบด้วยความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารของเด็กปฐมวัย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน สำหรับแนวทางการพัฒนาทักษะทางภาษา ควรจัดประสบการณ์ทางภาษาให้มีความหมายกับผู้เรียน ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาที่หลากหลายให้เหมาะสมกับความแตกต่างของผู้เรียนรายบุคคล เพื่อจะได้เรียนรู้ภาษาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความท้าทาย จูงใจให้ร่วมปฏิบัติ และสามารถประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมด้วยตนเอง ส่วนแนวทางการพัฒนาทักษะทางภาษาของผู้เรียนให้บรรลุผลนั้นควรจัดประสบการณ์โดยประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องสนับสนุน ได้แก่ กรอบแนวคิดทฤษฎีพัฒนาการทางทางสติปัญญาของเพียเจท์ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมสังคมของไวก็อตสกี้ การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน การจัดประสบการณ์ภาษาแบบธรรมชาติ การจัดประสบการณ์แบบเรกจิโอเอมีเลีย และแนวคิดการจัดประสบการณ์แบบไฮสโคป
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีองค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และ 4) การวัดและประเมินผล โดยมีกระบวนการจัดประสบการณ์ตามขั้นตอนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นการสร้างความสนใจ 2) ขั้นเผชิญสถานการณ์ 3) ขั้นลงมือปฏิบัติ 4) ขั้นแลกเปลี่ยนและสรุปความรู้ และ 5) ขั้นการประยุกต์ใช้และประเมินผล ซึ่งผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ มีความเหมาะสมระดับมาก
3. เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีทักษะทางภาษาเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนและโดยรวมทั้ง 4 ด้าน แสดงว่าการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ทำให้เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีทักษะทางภาษาเพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
4.1 ทักษะการฟัง ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ทักษะการฟังหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการฟังเพิ่มขึ้น
4.2 ทักษะการพูด ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ทักษะการพูดหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการพูดเพิ่มขึ้น
4.3 ทักษะการอ่าน ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ทักษะการอ่านหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการอ่านเพิ่มขึ้น
4.4 ทักษะการเขียน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ทักษะการเขียนหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการเขียนเพิ่มขึ้น

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^