LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1

รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสต

usericon

ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สู่การสร้าง
องค์ความรู้ โดยใช้แผนผังความคิด
ผู้วิจัย         นางจิตสุดา เสมอศรี
สาขาวิชา         กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ระยะเวลาในการวิจัย     ปีการศึกษา 2562

                                บทคัดย่อ

    รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สู่การสร้างองค์ความรู้ โดยใช้แผนผังความคิดครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สู่การสร้างองค์ความรู้โดยใช้แผนผังความคิด (2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สู่การสร้างองค์ความรู้โดยใช้แผนผังความคิด ซึ่งเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2561 ที่ไม่ได้เรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สู่การสร้างองค์ความรู้โดยใช้ แผนผังความคิด (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สู่การสร้างองค์ความรู้ โดยใช้แผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านจานเลียว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 จำนวน 25 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สู่การสร้างองค์ความรู้โดยใช้แผนผังความคิด จำนวน 4 เล่มประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ 31 แผนใช้ทดลอง 4 หน่วยการเรียนรู้ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน-หลังเรียน (3) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบ Non-Randomized One Group Pretest Posttest Design

ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สู่การสร้างองค์ความรู้ โดยใช้แผนผังความคิด พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สู่การสร้างองค์ความรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
     2. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สู่การสร้างองค์ความรู้โดยใช้แผนผังความคิด ซึ่งเปรียบเทียบกับ ปีการศึกษา 2561 ที่ไม่ได้เรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สู่การสร้างองค์ความรู้โดยใช้แผนผังความคิด พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ที่ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สู่การสร้างองค์ความรู้โดยใช้แผนผังความคิดสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ที่ไม่ได้เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สู่การสร้างองค์ความรู้โดยใช้แผนผังความคิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้ง
3. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สู่การสร้างองค์ความรู้โดยใช้แผนผังความคิด พบว่าค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนตามรูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สู่การสร้างองค์ความรู้โดยใช้แผนผังความคิด เท่ากับ 4.59 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .32 แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนตามรูปแบบนี้ในระดับมากที่สุด
i_jitsuda 15 ก.พ. 2563 เวลา 20:14 น. 0 460
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^