LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5 18 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. เข้ม สั่งสอบครูคัดลอกผลงานฯ เตรียมจับมือ จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567สพม.ยะลา ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.อุดรธานี เขต 4 - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 4 17 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567สพป.ตรัง เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567

การพัฒนาคุณภาพงานวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร(เ

usericon

การพัฒนาคุณภาพงานวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร(เ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาคุณภาพงานวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร
(เทศบาลบ้านพระเนตร)
ชื่อผู้วิจัย นางจันทรัช คำเกิด
ปีที่พิมพ์ 2555
บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร(เทศบาลบ้านพระเนตร) ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนและสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้และประเมินคุณภาพของงานวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร(เทศบาลบ้านพระเนตร) ผู้ร่วมศึกษาประกอบด้วยผู้รายงาน ผู้ร่วมศึกษาและครูผู้สอน รวมจำนวน 34 คน วิธีการศึกษาใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ตามแนวคิดของ Kemmis และ Mc taggart ดำเนินการพัฒนา
2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) โดยใช้กรอบขั้นตอนการวิจัยในชั้นเรียน 4 ขั้นตอน ได้แก่ การกำหนดปัญหาและหาสาเหตุของปัญหาการกำหนดวิธีการแก้ปัญหา การดำเนินการแก้ปัญหา และการสรุปผลและเขียนรายงานวิจัย แล้วประเมินคุณภาพงานวิจัยของครูโดยผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกตแบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัยในชั้นเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้พรรณาวิเคราะห์ การตรวจสอบข้อมูลใช้เทคนิคการตรวจสอบแบบสามเส้า (Triangulation Technique) นำเสนอข้อมูลโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. การพัฒนาการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศติดตาม จำนวน 2 วงรอบ ปรากฏว่า บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนเพิ่มขึ้นบุคลากรมีความชัดเจนและมีความมั่นใจใจการทำวิจัยในชั้นเรียน ทำให้ครูเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านความรู้ความเข้าใจ ความสามารถและความมุ่งมั่นของครูเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้เป็นส่วนมากอย่างไรก็ตามมีจุดอ่อนที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติมและต่อเนื่อง คือ การวิเคราะห์ข้อมูลการเขียนรายงานวิจัย และประเด็นที่ต้องดำเนินการอีกประการหนึ่ง คือ การส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติการทำวิจัยในชั้นเรียนควบคู่ไปกับการจัดทำกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้เต็มตามศักยภาพ
2. ผลการประเมินคุณภาพงานวิจัยในชั้นเรียนของครู โดยผู้เชี่ยวชาญโดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15
Chantrarat 20 ก.ย. 2556 เวลา 22:03 น. 0 1,728
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^