LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 62 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

ผลการใช้ชุดกิจกรรมสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21ฯ

usericon

บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง     ผลการใช้ชุดกิจกรรมสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้รายงาน     นายสุจิต วาลีย์
ตำแหน่ง     ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่วิจัย        2562

    การวิจัยเรื่องผลการใช้ชุดกิจกรรมสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 3) ศึกษาระดับความสามารถในการสร้างสรรค์แบบจำลองหุ่นยนต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 4) ศึกษาระดับทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) โดยคัดเลือกโรงเรียนขนาดเล็กจำนวน 2 โรงเรียน คือโรงเรียนเทศบาลวัดหมื่นเงินกอง และโรงเรียนที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีจำนวนเท่ากัน มีทักษะในการสร้างแบบจำลองหุ่นยนต์จากชุดตัวต่อ LEGO WeDo 2.0 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ในการเขียนโปรแกรมควบคุมสั่งการแบบจำลองหุ่นยนต์ในระดับที่ใกล้เคียงกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนเทศบาลวัดหมื่นเงินกอง แล้วนำมาจัดทำเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเพื่อนำชุดกิจกรรมสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ไปใช้จริง แบบแผนการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยใช้แบบแผนแบบเลือก/สุ่มแล้วแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง-กลุ่มควบคุม ทดสอบก่อน-หลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ 1) ชุดกิจกรรมสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 อันประกอบด้วย (1) ชุดกิจกรรมเสริมทักษะ “หุ่นยนต์หรรษา” สิ่งพิมพ์จำนวน 7 เล่ม (20 เรื่อง) (2) ชุดตัวต่อ Lego Education สำหรับฝึกเขียนโปรแกรม WeDo 2.0 จำนวน 5 ชุด (3) คู่มือนักเรียนประกอบการใช้ชุดกิจกรรมเสริมทักษะ “หุ่นยนต์หรรษา” จำนวน 1 เล่ม (40 ใบกิจกรรม) (4) คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมสะตีมศึกษา (STEAM Education) จำนวน 1 เล่ม (20 แผนการจัดการเรียนรู้) และ (5) เครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 เครื่อง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบทดสอบที่ใช้ในการวัดความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ และการวิเคราะห์ เกี่ยวกับอุปกรณ์สำคัญ ผลของการทดเฟือง ผลของการทดพูลเลย์ และการทำงานของโปรแกรม WeDo 2.0 จำนวน 20 ข้อ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ข้อละ 1 คะแนน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ในด้านความสามารถในการเรียนรู้จากชุดกิจกรรมสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และด้านความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมเสริมทักษะ “หุ่นยนต์หรรษา” คู่มือนักเรียนประกอบการใช้ชุดกิจกรรมเสริมทักษะ “หุ่นยนต์หรรษา” และการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมสะตีมศึกษา (STEAM Education) ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์การหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดียโดยการหาค่า E1 /E2 วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองและนักเรียนกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติพื้นฐาน คะแนนพัฒนาการ และร้อยละของคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ วิเคราะห์เปรียบเทียบความสามารถในการสร้างสรรค์แบบจำลองหุ่นยนต์ของนักเรียนกลุ่มทดลองและนักเรียนกลุ่มควบคุมโดยใช้คะแนนเฉลี่ย (ร้อยละ) วิเคราะห์เปรียบเทียบระดับทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนกลุ่มทดลองและนักเรียนกลุ่มควบคุมโดยใช้คะแนนเฉลี่ย (ร้อยละ) และวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มทดลอง ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปตารางประกอบคำบรรยาย

ผลการศึกษาพบว่า
    1.    ชุดกิจกรรมสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการนำไปใช้จริงกับนักเรียนกลุ่มทดลองซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนเทศบาลวัดหมื่นเงินกอง มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ทีตั้งไว้ โดยมีค่า E1/E2 เท่ากับ 89.17/80.67
    2.    นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนเทศบาลวัดหมื่นเงินกองซึ่งเป็นกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนเทศบาลวัดพวกช้างซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม โดยนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนพัฒนาการโดยเฉลี่ยเท่ากับ 47.67 และมีคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์โดยเฉลี่ยเท่ากับ 72.52 ในขณะที่นักเรียนกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยไม่ใช้ชุดกิจกรรมสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนพัฒนาการโดยเฉลี่ยเท่ากับ 20.00 และมีคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์โดยเฉลี่ยเท่ากับ 30.14 ซึ่งจะเห็นว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม เท่ากับร้อยละ 27.00 มีคะแนนพัฒนาการสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมเท่ากับ 27.67 และมีคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมเท่ากับร้อยละ 42.38
    3.    นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนเทศบาลวัดหมื่นเงินกองซึ่งเป็นกลุ่มทดลอง มีระดับความสามารถในการสร้างสรรค์แบบจำลองหุ่นยนต์ สูงกว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนเทศบาลวัดพวกช้างซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม โดยมีคะแนนที่ได้จากการวัดประเมินผลระหว่างเรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ข้อที่ 1-5 โดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 89.73 ในขณะที่นักเรียนกลุ่มควบคุมมีคะแนนที่ได้จากการวัดประเมินผลระหว่างเรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ข้อที่ 1-5 โดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 64.40 ซึ่งจะเห็นว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ข้อที่ 1-5 สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม เท่ากับร้อยละ 25.33

    4.    นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนเทศบาลวัดหมื่นเงินกองซึ่งเป็นกลุ่มทดลองมีระดับทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 สูงกว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนเทศบาลวัดพวกช้างซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม โดยมีคะแนนที่ได้จากการวัดประเมินผลระหว่างเรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ข้อที่ 6-8 โดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 88.22 ในขณะที่นักเรียนกลุ่มควบคุมมีคะแนนที่ได้จากการวัดประเมินผลระหว่างเรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ข้อที่ 6-8 โดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 29.78 ซึ่งจะเห็นว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ข้อที่ 6-8 สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม เท่ากับร้อยละ 58.44
    5.    นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนเทศบาลวัดหมื่นเงินกองซึ่งเป็นกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ในระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29 และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ

kjod.2507 12 ม.ค. 2563 เวลา 14:26 น. 0 345
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^