LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

usericon

ชื่อเรื่อง        รายงานโครงการการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือโรงเรียน
บ้านสันป่าสัก อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
ผู้รายงาน     นายวิทยา ไชยยาติ๊บ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสันป่าสัก

การรายงานโครงการการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือโรงเรียนบ้านสันป่าสัก อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการดำเนินโครงการการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือและเพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือโรงเรียนบ้านสันป่าสัก อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ประชากรที่ใช้ในการรายงานครั้งนี้ จำนวน 173 คน ประกอบด้วย นักเรียน คณะครูและบุคลากร
ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และบุคคลอื่น กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 134 คน ประกอบด้วย นักเรียนโรงเรียน เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 24 คน เพราะสามารถอ่านข้อคำถามในแบบสอบถาม (อ่านคล่อง) และตอบแบบสอบถามได้ (เขียนคล่อง) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านสันป่าสัก เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเลือกจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ไม่ใช่ผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้แทนครู จำนวน 7 คน คณะครูและบุคลากร จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 54 คน และบุคคลอื่น จำนวน 40 คน โดยได้รายงานการพัฒนาด้านการบริหารงานทั่วไป ซึ่งจำแนกเป็น 5 งาน คือ งานระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา, งานอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม, งานพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา, งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และงานสัมพันธ์ชุมชน ใช้ทฤษฎีระบบ (System Theory) และวงจรคุณภาพ (PDCA) มาเป็นแนวทางในการรายงาน เครื่องมือที่ใช้ในการรายงานครั้งนี้ มี 2 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 เป็นแบบรายงานการดำเนินโครงการการบริหารสถานศึกษาโดยใช้ความร่วมมือโรงเรียนบ้านสันป่าสัก ฉบับที่ 2 เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือโรงเรียนบ้านสันป่าสัก อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการรายงาน สรุปได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินโครงการการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือโรงเรียนบ้านสันป่าสัก อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ในแต่ละงานสรุปได้ดังนี้
1.1 งานระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านสันป่าสัก ร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการในการพัฒนา พบว่ายังมีปัญหาและความต้องการในการพัฒนาหลายด้าน จึงได้จัดทำโครงการการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือโรงเรียนบ้านสันป่าสัก อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน งานระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาซึ่งได้ดำเนินการทั้งสิ้น 13 กิจกรรม คือ การทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อการจ้างครูและพัฒนาการศึกษา, การขอสนับสนุนคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา, การขอสนับสนุนภาชนะสำหรับรับประทานอาหารกลางวันของนักเรียน, การขอสนับสนุนทุนการศึกษาของนักเรียน, การขอสนับสนุนอุปกรณ์การเรียน การขอสนับสนุนเครื่องจักรกลเพื่อปรับภูมิทัศน์ของโรงเรียน, การขอสนับสนุนหินคลุกเพื่อปรับพื้นที่บริเวณหน้าโรงเรียน, การขอสนับสนุนวิทยากรท้องถิ่นและจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียน, การขอสนับสนุนวัสดุ-อุปกรณ์ และงบประมาณในการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน, การขอสนับสนุนวัสดุ-อุปกรณ์ ในการพัฒนาห้องประชาสัมพันธ์โรงเรียน, การของบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด, การขอสนับสนุนงบประมาณ วัสดุ-อุปกรณ์ ของรางวัลเพื่อจัดกิจกรรมของโรงเรียน เช่น กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ กิจกรรมวันปิดภาคเรียน เป็นต้น, และการทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสร้างรั้วโรงเรียนและพัฒนาการศึกษา ส่งผลให้เกิดผลดีต่อโรงเรียน
ต่อนักเรียน ต่อบุคลากร และต่อชุมชน ทำให้เกิดการพัฒนาด้านคุณภาพในสถานศึกษามากขึ้น
    1.2 งานอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านสันป่าสัก ร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการในการพัฒนา พบว่ายังมีปัญหาและความต้องการในการพัฒนางานอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมหลายด้าน จึงได้พัฒนางานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมภายใต้โครงการการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือโรงเรียนบ้านสันป่าสัก อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ซึ่งได้ดำเนินการทั้งสิ้น 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการสร้างรั้วโรงเรียนด้านทิศเหนือของโรงเรียนทดแทนรั้วเดิมที่ทรุดโทรมและอาจเกิดอันตรายกับผู้เรียน โดยใช้งบประมาณที่ได้จากการทอดผ้าป่าสามัคคี, กิจกรรมปรับปรุงซ่อมแซมระบบไฟฟ้าภายในอาคารเรียน และอาคารอเนก ประสงค์ โดยได้รับงบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด, กิจกรรมปรับภูมิทัศน์สระน้ำหลังโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้สวนเกษตรพอเพียง โดยได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรกลจากองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงแก้ว, กิจกรรมปรับภูมิทัศน์บริเวณหน้าโรงเรียนโดยได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรกลจากองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงแก้ว และหินคลุกจากบริษัท ลานนา ดาตา กรุ๊ป จำกัด และกิจกรรมขอสนับสนุนเครื่องพ่นหมอกควันจากองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงแก้ว เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก ส่งผลให้เกิดผลดีต่อโรงเรียน ต่อนักเรียน ต่อบุคลากร และต่อชุมชน โดยทำให้เกิดการพัฒนาด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมที่สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย และมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
1.3 งานพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านสันป่าสัก ร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการในการพัฒนา พบว่ายังมีปัญหาและความต้องการในการพัฒนางานแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาหลายด้าน จึงได้ดำเนินงานพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาภายใต้โครงการการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือโรงเรียนบ้านสันป่าสัก อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ซึ่งได้ดำเนินการทั้งสิ้น 7 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการปรับปรุงและพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน โดยได้รับการสนับสนุนวัสดุ-อุปกรณ์และงบประมาณจากคุณศตวรรษ อำนวยเรืองศรี และคณะ, กิจกรรมการสร้างสวนเกษตรพอเพียง โดยได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรกลจากองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงแก้วและงบประมาณจากเงินรายได้สถานศึกษา, กิจกรรมการพัฒนาห้องประชาสัมพันธ์โรงเรียน โดยได้รับการสนับสนุนวัสดุ และอุปกรณ์จากชมรมศิษย์เก่ายุพราชรุ่น 18,20, กิจกรรมการพัฒนาห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ โดยได้รับการสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์ จากมูลนิธิหลวงพ่อปาน พระมหาวิระ ถาวโร ร่วมด้วยศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในแดนทุรกันดารตามพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ฯ , กิจกรรมการพัฒนาห้องเรียนสู่ห้องเรียนคุณภาพ โดยงบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด, กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนทางไกลโดยระบบ DLTV โดยงบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด และกิจกรรมการติดตั้งระบบ Internet ความเร็วสูงเพื่อใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน โดยงบประมาณจากหน่วยงาน
ต้นสังกัด ส่งผลให้เกิดผลดีต่อโรงเรียน ต่อนักเรียน ต่อบุคลากร และต่อชุมชน โดยทำให้เกิดการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา นักเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ และส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน
ต่อไป
    1.4 งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จากการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาและบริบทของโรงเรียน พบว่า ยังมีปัญหาและความต้องการในการพัฒนางานระบบดูแลช่วยนักเรียนหลายด้าน จึงได้ดำเนินการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายใต้โครงการการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือโรงเรียนบ้านสันป่าสัก อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ซึ่งได้ดำเนินการทั้งสิ้น 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล, กิจกรรมการคัดกรองนักเรียน, กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนา, กิจกรรมการป้องกันและการแก้ไขปัญหา และการส่งต่อภายในและภายนอก ส่งผลให้เกิดผลดีต่อโรงเรียน ต่อนักเรียน ต่อบุคลากร และต่อชุมชน ในการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถส่งเสริมและแก้ปัญหาที่เกิดกับนักเรียนได้ตรงกับความต้องการและตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น
1.5 งานสัมพันธ์ชุมชน ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านสันป่าสัก ร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการในการพัฒนา พบว่ายังมีปัญหาและความต้องการในการพัฒนางานสัมพันธ์ชุมชนหลายประเด็น จึงได้ดำเนินการพัฒนางานสัมพันธ์ชุมชนภายใต้โครงการการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือโรงเรียนบ้านสันป่าสัก อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ซึ่งได้ดำเนินการทั้งสิ้น 6 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการจัดทำและรวบรวมข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับชุมชนในเขตพื้นที่บริการ, กิจกรรมประสานงานกับองค์กรต่างๆ ในการให้การสนับสนุนกิจกรรมที่สำคัญของโรงเรียนและชุมชน, กิจกรรมการให้ความช่วยเหลือด้านบุคลากร วัสดุ-อุปกรณ์ สถานที่แก่ชุมชน หน่วยงานต่างๆ , กิจกรรมการร่วมมือกับชุมชนในสืบสาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมประเพณี ตลอดจนวันสำคัญต่างๆ , กิจกรรมการร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่นและสาธารณประโยชน์และกิจกรรมการร่วมงานบุญงานกุศล งานอวมงคลในชุมชน ส่งผลให้เกิดผลดีต่อโรงเรียน ต่อนักเรียน ต่อบุคลากร และต่อชุมชน จนสามารถดำเนินงานสัมพันธ์ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชนดังกล่าวที่ว่า “ชุมชนช่วยเรา เราช่วยชุมชน”
    2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือโรงเรียนบ้านสันป่าสัก อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สรุปได้ดังนี้
2.1 ความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือโรงเรียนบ้านสันป่าสัก อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ในภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.47 แสดงว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมากต่อการดำเนินงานโครงการการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือโรงเรียนบ้านสันป่าสัก อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
     2.2 เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือโรงเรียนบ้านสันป่าสัก อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ทั้ง 5 งาน พบว่า มี 3 งานที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.51 คือ งานระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา งานพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา และงานสัมพันธ์ชุมชน แสดงว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจทั้ง 3 งานมากที่สุด
2.3 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือโรงเรียนบ้านสันป่าสัก อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ในภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามสถานภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีความพึงพอใจมากที่สุด เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยความพึงพอใจจากมากไปหาน้อย คือ กลุ่มตัวอย่างกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 และประชากรครูและบุคลากรทางการศึกษา ประชากรผู้ปกครองนักเรียน ประชากรบุคลากรอื่น มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ 4.51 ส่วนกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามสถานภาพที่มีความพึงพอใจมากต่อการดำเนินงานโครงการการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือโรงเรียนบ้านสันป่าสัก อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ในภาพรวม คือ กลุ่มตัวอย่างนักเรียน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.32

ข้อเสนอแนะ
    1. ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา
     1.1 งานระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา: โรงเรียนควรสร้างเครือข่ายทางการศึกษาที่มั่นคง ถาวรสามารถให้การสนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษาได้อย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา
     1.2 งานอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม: โรงเรียนควรพัฒนาด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้ครอบคลุมทุกจุด เพื่อสร้างบรรยากาศในการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมที่ดีมากยิ่งขึ้น และเพื่อความปลอดภัยของนักเรียน ครูและบุคลากรของโรงเรียนด้วย
         1.3 งานพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา:
         1.3.1) โรงเรียนควรจัดแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาให้หลากหลายมากขึ้น เช่น
มีแหล่งเรียนรู้ที่สะท้อนภูมิปัญญาของท้องถิ่น เป็นต้น
         1.3.2) โรงเรียนควรจัดระบบการใช้แหล่งเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้บริการนักเรียนได้อย่างทั่วถึง และยั่งยืน
         1.4 งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน: โรงเรียนควรจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ครอบคลุมทุกด้านเพื่อที่จะได้ให้ความช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างถูกต้องและตรงกับความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครอง จนเกิดผลดีต่อนักเรียน
         1.5 งานสัมพันธ์ชุมชน: โรงเรียนดำเนินงานสัมพันธ์ชุมชนได้ดีในระดับหนึ่ง ควรพัฒนาในด้านรูปแบบการสร้างความสัมพันธ์ที่หลากหลาย สามารถสร้างความสัมพันธ์ได้กับกลุ่มคนได้หลายๆ กลุ่ม ตลอดจนมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวของโรงเรียนให้ชุมชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง
        2. ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป
         2.1 เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้เป็นการรายงานผลการดำเนินโครงการการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ โรงเรียนบ้านสันป่าสัก อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เฉพาะในด้านการบริหารงานทั่วไป ดังนี้จึงควรศึกษาและรายงานให้ครอบคลุมกับงานทุกฝ่าย
         2.2 ควรศึกษาและกำหนดเป็นรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ ที่มีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างชัดเจน จนสามารถเป็นแบบอย่างให้สถานศึกษาอื่นๆ นำไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทและการบริหารโรงเรียนต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
wittaya27 25 พ.ย. 2562 เวลา 17:09 น. 0 538
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^