LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดสอบพนักงานราชการ 350 อัตรา วุฒิปริญญาตรี อัตราเงินเดือน 20,540 - 22,750 บาท ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. - 8 พ.ค. 2567 24 เม.ย. 2567สพป.เลย เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เลย เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 24 เม.ย. 2567สพป.สกลนคร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สกลนคร เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 27 อัตรา - รายงานตัว 1 พฤษภาคม 2567 24 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 2 24 เม.ย. 2567สพม.น่าน ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.น่าน 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 4 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 4

การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ
             สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
ผู้วิจัย         นายวรรณนุพล จันทะสนธ์
โรงเรียน     โรงเรียนบ้านบ่อ อำเภอปรางค์xxx่ จังหวัดศรีสะเกษ
            สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
ปีการศึกษา        ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561

บทคัดย่อ

    การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อสร้างระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ตามกระบวน การพัฒนาระบบ (The System Development Life Cycle : SDLC) ให้มีคุณภาพ 2) เพื่อประเมินตนเอง และรายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report: SAR) ตามระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3     
3) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ในด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) ทั้งนี้การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ผู้วิจัยได้พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน โดยใช้กลยุทธ์ในการพัฒนา คือ การประชุมแบบมีส่วนร่วม และการนิเทศภายใน ตามกระบวนการพัฒนาระบบ (The System Development Life Cycle : SDLC) คือ การค้นหาระบบ (Systems Investigation) การวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis) การออกแบบระบบ (Systems Design) การนำระบบไปใช้ (Systems Implementation) การบำรุงดูแลรักษาและทบทวนระบบ (Systems Maintenance and Review) โดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มผู้ร่วมวิจัยและผู้ให้ข้อมูล จำนวน 11 คน ประกอบด้วย ผู้วิจัย ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา    จำนวน 2 คน และครูผู้และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน จำนวน 8 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม จำนวน 143 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 20 คน นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1-2 จำนวน 37 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 84 คน และวิทยากรผู้มีประสบการณ์ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 2 คน ส่วนประเมินโครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 19 คน และนักเรียนชั้นอนุบาล และประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 93 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified random sampling) คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตร ของทาโร ยามาเน ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยคือ ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการ ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) 2) แบบบันทึกการประชุมแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ 1) แบบสอบถามผลการปฏิบัติงาน 2) แบบบันทึกการนิเทศผลการดำเนินงาน เครื่องมือประเมินโครงการ เป็นแบบสอบถามการประเมินโครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามการประเมินโครงการสำหรับผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามรูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ในด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.28 – 0.83 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 2) แบบสอบถามการประเมินโครงการสำหรับนักเรียน ในด้านผลผลิต (Product) จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.23 – 0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

    ผลการวิจัยพบว่า
        1. โรงเรียนบ้านบ่อมีปัจจัยที่เป็นโอกาสมากกว่าปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและอยู่ในลักษณะ
เอื้อและแข็ง ระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 โดยใช้การพัฒนาระบบ (The System Development Life Cycle : SDLC) ตามแนวทางการดำเนินงานของสถานศึกษาตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 2) จัดทำแผนพัฒนา
การจัดการศึกษาของสถานศึกษา 3) ดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
4) ประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 5) ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษา 6) จัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (Self- Assessment Report: SAR) 7) พัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ มีผลการประเมินความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
( = 4.68, S.D. = 0.50)
        2. ผลการประเมินตนเอง และรายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report: SAR) ตามระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี เลิศ ทุกมาตรฐาน
        3. ผลการประเมินโครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.55, S.D. = 0.53) เมื่อพิจารณาโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสมสูงสุด 3 อันดับ พบว่า อันดับแรก คือ ด้านกระบวนการ (Process) อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.52) รองลงมาคือ ด้านผลผลิต (Product) อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.56) และด้านสภาวะแวดล้อม (Context) อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.57) ตามลำดับ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับ มาก (Input) ( = 4.46, S.D. = 0.48)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^