LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567เช็กเลย! สพป.บึงกาฬ เตรียมเปิดสอบครูผู้ช่วย 10 สาขาวิชาเอก 65 อัตรา ประกาศรับสมัคร 1 พ.ค.2567 23 เม.ย. 2567เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน 23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย

การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างองค์ 4 แห่งการศึกษา (4H)

usericon

ชื่อเรื่อง            การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างองค์ 4 แห่งการศึกษา (4H) และทักษะผู้เรียน
            ในศตวรรษที่ 21 (3R8C) ในกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามแนวสะตีมศึกษา
            (STEAM Education) โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL: Project Based Learning)
ผู้วิจัย            นายอัครเจตน์ สีหะวงษ์
ตำแหน่ง     รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
สถานศึกษา        โรงเรียนกันทรารมณ์ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
สถานที่วิจัย     โรงเรียนบึงมะลูวิทยา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
            สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
ปีการศึกษา     ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดกิจกรรม
ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ การเสริมสร้างองค์ 4 แห่งการศึกษา (4H) และทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) 2) เพื่อสร้างรูปแบบการเสริมสร้างองค์ 4 แห่งการศึกษา (4H) และทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) ในกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM) โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL: Project Based Learning) 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างองค์ 4 แห่งการศึกษา (4H) และทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) ในกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM) โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL: Project Based Learning) 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเสริมสร้างองค์ 4 แห่งการศึกษา (4H) และทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) ในกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM) โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL: Project Based Learning) โดยใช้เทคนิคการประเมินแบบ CIPPIEST Model ตามแนวคิดของ Stufflebeam and Shinkfield (2007) ประกอบด้วยการประเมินใน 8 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนบึงมะลู ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 169 คน ที่ร่วมกิจกรรมลดเวลาเรียน
เพิ่มเวลารู้ ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratify Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ รูปแบบฯ และคู่มือการจัดกิจกรรม
“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” โรงเรียนบึงมะลูวิทยา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2) เครื่องมือ
ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 2.1) แบบประเมินองค์ 4 แห่งการศึกษา เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 4 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.63 - 0.85
และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 2.2) แบบประเมินทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C)
เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 24 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.65 - 0.89 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 2.3) แบบประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ
เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 65 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.52 - 0.76 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
    ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
        1) สภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” และการเสริมสร้างองค์ 4 แห่งการศึกษา (4H) และทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) พบว่า ครูมีความพร้อม
และดำเนินการจัดกิจกรรมตามคู่มือ แต่ยังไม่มีความชัดเจนด้านความรู้ ทักษะ และแรงจูงใจในการจัด
กิจกรรม เท่าที่ควร เนื่องจากยังไม่มีรูปแบบ วิธีการ เครื่องมือ ที่ใช้ในการเสริมสร้าง และการประเมินทักษะ นักเรียนยังไม่เห็นความสำคัญในการปรับตัวเข้ากับสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ขาดความกระตือรือร้น ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม และการนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
        2) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเสริมสร้างองค์ 4 แห่งการศึกษา (4H) และทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) ในกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM) โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL: Project Based Learning) โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
( = 4.53, S.D.= 0.63) และผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน
เพิ่มเวลารู้” โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.66, S.D.= 0.54)
        3) ผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างองค์ 4 แห่งการศึกษา (4H) และทักษะผู้เรียน
ในศตวรรษที่ 21 (3R8C) ในกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM)
โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL: Project Based Learning) ปรากฏดังนี้
            3.1) ผลการประเมินทักษะองค์ 4 แห่งการศึกษา (4H ) ในกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM) โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL: Project Based Learning) ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับ ดีมาก ( = 4.58, S.D.= 0.46)
            3.2) ผลการประเมินทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R) ทักษะในสาระวิชาหลัก
(Core Subjects–3R) ในกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM)
โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL: Project Based Learning) ในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับ ดีมาก
( 4.62, S.D.= 0.66)
            3.3) ผลการประเมินทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (8C) ทักษะการเรียนรู้
และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills – 8C) ในกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM) โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL: Project Based Learning)
ในภาพรวมทั้ง 8 ด้าน อยู่ในระดับ ดีมาก ( = 4.53, S.D.= 0.44)
        4) ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเสริมสร้างองค์ 4 แห่งการศึกษา (4H)
และทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) ในกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM Education) โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL: Project Based Learning) ในภาพรวมทั้ง 8 ด้าน อยู่ในระดับ มาก ( = 4.48, S.D. = 0.62) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.56) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) อยู่ในระดับ มาก ( = 4.38, S.D. = 0.51) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation)
อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.66) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) อยู่ในระดับ
มากที่สุด ( = 4.68, S.D. = 0.72) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) อยู่ในระดับ มากที่สุด
( = 4.53, S.D. = 0.55) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) อยู่ในระดับ มาก
( = 4.48, S.D. = 0.42) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) อยู่ในระดับ มาก
( = 4.42, S.D. = 0.38) และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation)
อยู่ในระดับ มาก ( = 4.31, S.D. = 0.44)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^