LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5

รายงานการพัฒนาความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ

usericon

ชื่อเรื่อง         การพัฒนาความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ
การอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่อง อิศรญาณภาษิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย         นางจุไรรัตน์ แป้นโก๋             
ปีที่ศึกษา    2561
บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค ด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และความจำเป็นของการประเมินทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับครูผู้สอนภาษาไทย 2) เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่อง อิศรญาณภาษิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อทดลองใช้แบบฝึก-ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่อง อิศรญาณภาษิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อประเมินผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่อง อิศรญาณภาษิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 35 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ครู เรื่อง สภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค ด้านความรู้และการประเมินทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นครูเกี่ยวกับความจำเป็นของการประเมินทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ 3) แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่อง อิศรญาณภาษิต 4) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่อง อิศรญาณภาษิต 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านคิดวิเคราะห์ และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจจากการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่อง อิศรญาณภาษิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เวลาที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง 15 ชั่วโมง แบบแผนการทดลองเป็นแบบ One-Group Pretest-Posttest Design และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า E1/E2 และการทดสอบที (t-test dependent samples)
    ผลการศึกษาพบว่า
    1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) ในภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ย 43.36 โดยมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ และสาระการเรียนรู้ที่ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ หลักภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 40.76 และต่ำกว่าระดับประเทศ และผลการสัมภาษณ์ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า การสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนยังไม่เอื้อต่อการฝึกการอ่านคิดวิเคราะห์ ครูไม่สามารถนำเทคนิควิธีการที่หลากหลายมาบูรณาการกับการเรียนการสอนให้นักเรียนพัฒนาความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ได้ สื่อเครื่องมืออุปกรณ์การเรียนการสอนยังไม่หลากหลายไม่สามารถกระตุ้นความสนใจให้นักเรียน สนุกและเพลิดเพลินกับการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนไม่น่าตื่นเต้นเร้าใจ ทำให้นักเรียนมีความเบื่อหน่าย มีกิจกรรม แบบฝึก ที่ยังไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ได้อย่างเต็มศักยภาพของนักเรียน วิธีการวัดประเมินผล เครื่องมือในการวัดประเมินผล สำหรับความคิดเห็นต่อความจำเป็นในการประเมินทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.30, S.D. = 0.72) โดยมีความจำเป็นในด้านโดยความจำเป็นด้านครูตระหนักว่าการประเมินทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ มีความสำคัญเท่าเทียมกับการประเมินสาระความรู้ มีมากกว่าด้านอื่น
    2. ผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่อง อิศรญาณภาษิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ปรากฏผลดังนี้ การหาประสิทธิภาพรายบุคคล มีค่าเท่ากับ 66.67/60.00 การหาประสิทธิภาพกลุ่มย่อย มีค่าเท่ากับ 72.17/71.67 และการหาประสิทธิภาพภาคสนาม มีค่าเท่ากับ 82.78/81.02
3. ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่อง อิศรญาณภาษิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.38/81.90 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ โดยทั้ง 6 เล่ม มีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดทุกเล่ม และผลสัมฤทธิ์การอ่านคิดวิเคราะห์ จากการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่อง อิศรญาณภาษิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การประเมินผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่อง อิศรญาณภาษิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธีการวัดความพึงพอใจของนักเรียนหลังจากการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ผลปรากฏว่าในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก ( =4.39, S.D. = 0.61)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^