LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 62 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎี

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริม
การคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย    นายสุรชัย ประดาศรี
ตำแหน่ง    ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด    โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” สังกัดเทศบาลเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์     
ปีที่วิจัย    2561
        บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผล เชิงประจักษ์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้ 2.1 ) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น 2.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมบัติเชิงกลของของไหล ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น 2.3) เปรียบเทียบความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น และ 2.4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยกำหนดรูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” เทศบาลเมืองสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 65 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” เทศบาลเมืองสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 33 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับฉลากห้อง (Sample Random Sampling) คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( x-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (dependent t - test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
    ผลการวิจัย พบว่า
    1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีชื่อว่า (PACSA : Model) จากการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญรูปแบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับทุกองค์ประกอบ รูปแบบการเรียนการสอนมี 8 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน หลักการตอบสนอง ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน สาระความรู้ และสิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ กระบวนการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) เตรียมความพร้อม (Preparation : P) 2) เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ (Action learning : A) 3) สร้างความรู้และฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ (Constructing Concepts and Analysis Thinking : C) 4) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing : S) 5) ตรวจสอบความรู้ความเข้าใจและประยุกต์ใช้ (Assessment and Apply : A)
    2) ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน พีพีซีเอสเอ พบว่า 1) การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียน(x-bar = 32.03 , S.D. = 3.01) สูงกว่าก่อนเรียน ( x-bar=12.39,S.D.= 2.63) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน (x-bar = 32.18 , S.D. = 3.48) สูงกว่าก่อนเรียน ( x-bar = 15.48 , S.D. = 2.00) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 3) ความสามารถในการสร้างองค์ความรู้หลังเรียน (x-bar = 42.18 , S.D. = 4.19) สูงกว่าก่อนเรียน (x-bar = 18.72 , S.D. = 2.54) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 4) นักเรียนเห็นด้วยต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar= 4.60 , S.D. = 0.17) ในรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากที่สุดด้านประโยชน์ที่ได้รับ ( x-bar = 4.76 , S.D. = 0.19) รองลงมาด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ ( x-bar= 4.54, S.D. = 0.23) และด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ( x-bar = 4.49, S.D. = 0.27) ตามลำดับ
kroobeeboy 01 ก.ย. 2562 เวลา 17:23 น. 0 466
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^