LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.อุดรธานี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 3 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.ตรัง กระบี่ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.กระบี่ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบูรณ์ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 3 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs)

usericon

ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs)
สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ราตรี คงรุ่ง
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ

บทคัดย่อ

ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs)สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล ที่เรียนวิชา วิทยาศาสตร์ 4 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2560 ม.2/3 จำนวน 24 คนได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs)
สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2)แผนการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs)สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 23) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา วิทยาศาสตร์ 4 เรื่อง แสง เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งใช้สำหรับทดสอบนักเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาครูและผู้ปกครองของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5STEPs)สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2





สรุปผลการศึกษา
    1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ
เท่ากับ 87.40/97.23เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด / คือ 80/80 แสดงว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดตามสมมติฐานข้อ 1
    2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 15.25และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 29.17คะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าเท่ากับ13.92 คะแนน และร้อยละของความก้าวหน้าเท่ากับ 46.39เมื่อนำคะแนนมาเปรียบเทียบผลต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียน และหลังเรียนโดยใช้ t – test พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นจริง เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดตามสมมติฐานข้อ 2
    3. ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2พบว่า ภาพรวมระดับความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับพอใจมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 4.84
เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า
        1.ระดับความพึงพอใจของผู้บริหารและครู ที่เป็นตัวแทนภาควิชาการ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.00
        2. ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29
    สรุปผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูและผู้ปกครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับ พึงพอใจมากที่สุด นั่นแสดงว่า ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทำให้เกิดความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 3
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
    ความสำคัญของการจัดการศึกษาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ได้กำหนดกรอบแนวคิดโดยมีวิสัยทัศน์ “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป้าหมายที่ 1 คนทุกช่วงวัย มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ และเป้าหมายที่ 2 หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คุณธรรม จริยธรรม และการนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560: 24-25)
จากทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามกรอบของกฎหมาย และนโยบายการปฏิบัติราชการโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายใต้วิสัยทัศน์ไว้ว่า “วิชาการก้าวหน้า คุณธรรมพัฒนา รักษามรดกไทย ทันสมัยไอทีวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง” โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ ไว้ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาภาคบังคับให้ได้ทั่วถึงและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาที่ได้มาตรฐานโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายมีกลยุทธ์1.1) ส่งเสริมจัดการศึกษาภาคบังคับให้ทั่วถึง พัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 1.2) ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1.3) ส่งเสริมการวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางและจัดทำแผนพัฒนาหลักสูตรโดยชุมชนมีส่วนร่วมและเห็นชอบ1.4) ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องด้วยการฝึกอบรมและศึกษาดูงานในการพัฒนาการศึกษา 2) ยุทธศาสตร์ ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีกลยุทธ์ 2.1) ส่งเสริมพัฒนาการเรียนการสอนโดนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในทุกกลุ่มสาระและให้ผู้เรียนมีระเบียบ วินัย ประหยัด ซื่อสัตย์ เสียสละ มีความรับผิดชอบและทำประโยชน์เพื่อส่วนร่วม 3) ยุทธศาสตร์การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทุกรูปแบบ มีกลยุทธ์ 3.1) ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 3.2) ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น3.3) ส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่นและจัดทำทะเบียนแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น4) ยุทธศาสตร์การจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพและเป็นปัจจุบันมีกลยุทธ์4.1) ส่งเสริมจัดทำข้อมูลพื้นฐานของครูและนักเรียน 5)ยุทธศาสตร์การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องเหมาะสมกับเนื้อหาทุกกลุ่มสาระมีกลยุทธ์5.1) ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรด้านกิจกรรมการเรียนการสอนและศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระ6) ยุทธศาสตร์ ผลิต และพัฒนาสื่อนวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีกลยุทธ์6.1)ส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความรู้ในการใช้เทคโนโลยี 7) ยุทธศาสตร์การจัดกิจกรรมทางศาสนา งานประเพณีและศึกษาแหล่งเรียนรู้ มีกลยุทธ์7.1)ส่งเสริมกิจกรรมความสำคัญทางศาสนา งานประเพณีและจัดให้มีการทัศนศึกษาแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น 8) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการกีฬา นันทนาการและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีกลยุทธ์8.1) ส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี พลานามัยดีและพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อภายในโรงเรียนให้สะอาด(แผนพัฒนาการศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล : 2-3)
    จากความสำคัญที่กล่าวมาดังกล่าววิทยาศาสตร์จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์และสังคมในยุคเทคโนโลยี 4.0 เป็นความสำคัญในการพัฒนาบุคคลได้อย่างมีเหตุผลสามารถ นำความรู้ที่เกิดจากพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัยมาใช้ในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนบนรากฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้และมีความรู้ความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ติดตัวมาก่อนที่จะเข้าสู่ห้องเรียน ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากบริบทและสิ่งแวดล้อมรอบตัวนักเรียนแต่ละคน ดังนั้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ในแต่ละบทเรียน ผู้สอนจะต้องเน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและความอยากรู้ของตนเองโดยมีผู้สอนเป็นผู้สร้างบรรยากาศการเรียนรู้และกระตุ้นความสนใจ คอยจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนเกิดความขัดแย้งทางความคิดระหว่างประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ความรู้ใหม่ ผู้เรียนจะพยายามปรับข้อมูลใหม่กับประสบการณ์ที่มีอยู่เดิม แล้วสร้างเป็นความรู้ใหม่หรือแนวคิดใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคนจะเกิดขึ้นที่สมอง ซึ่งทำหน้าที่รู้คิด ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยและได้รับการกระตุ้นจูงใจอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพจิตใจและความต้องการของนักเรียน การจัดกระบวนการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียนจะช่วยกระตุ้นให้สมองรับรู้และสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2553: 3)    
    ผู้ศึกษาในฐานะครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล เทศบาลเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ในปีการศึกษา
2559 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 จำนวน 26 คน ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการเรียนรู้ ว.5.1
เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงานปฏิสัมพันธ์ระหว่างสาร
และพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสาร
สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในหน่วยการเรียนรู้เรื่อง แสง มาตรฐานตัวชี้วัด 2/3 ทดลอง
และอธิบายการดูดกลืนแสงสี การมองเห็นสีของวัตถุ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์จำนวน 19 คน
คิดเป็นร้อยละ 73.08 โดยผู้ศึกษาได้วิเคราะห์แยกแยะสภาพปัญหาของผู้เรียน บริบททางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และหลักสูตรสถานศึกษา พ.ศ.2559 ประเด็นนักเรียนไม่ผ่านจุดประสงค์ ตัวชี้วัดตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนไม่บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย มีปัญหาดังนี้ 1) นักเรียนไม่มีความสนใจในเนื้อหา และไม่เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) การเรียนรู้ที่ผ่านการดำรงชีวิตของนักเรียนที่เรียนตามบทเรียนที่ผ่านมาไม่ก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้เรื่อง แสง และ 3) นักเรียนไม่มีความตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ที่ต้องหาคำตอบให้กับปัญหาด้วยตนเอง อีกทั้งยังไม่เข้าใจใช้ประโยชน์จากกระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการแก้ปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ จึงทำให้นักเรียน มีเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนรู้ในสาระวิทยาศาสตร์
    จากการศึกษาและการพัฒนาออกแบบสร้างนวัตกรรมผู้ศึกษา พบว่า ชุดกิจกรรม หรือ ชุดการสอน คือ การรวบรวมสื่อการสอนสำเร็จรูปให้ผู้เรียนได้เรียนด้วยตนเองเป็นรายบุคคลหรือ เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ด้วยความสะดวกสบาย เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนของครูและส่งเสริมการเรียนของนักเรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้โดยเปิดให้ผู้เรียนศึกษาและปฏิบัติกิจกรรมจากชุดการสอนด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการเรียน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนจะมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ตามความสามารถของ แต่ละบุคคลทำให้นักเรียนไม่เบื่อหน่ายที่จะเรียน แต่มีความกระตือรือร้นที่จะค้นคว้าหาคำตอบ ด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนมีโอกาสในการฝึกทักษะในด้านต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง (สุคนธ์ สินธพานนท์, 2553: 43) และสื่อการสอนเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้สอนช่วยในการสื่อสารกับผู้เรียนให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ในสื่อการสอนนั้นจะต้องมีการออกแบบและวางแผนเป็นอย่างดี มีกิจกรรมต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์เพื่อให้ตอบสนองตัวชี้วัดและหลักสูตรของการศึกษาขั้นพื้นฐาน สื่อการสอนสามารถนำมาใช้สอนได้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และผู้สอนที่นำชุดการสอนไปใช้สามารถนำไปใช้ได้และสามารถตอบสนองตัวชี้วัดได้ด้วย ถือว่าชุดการสอนนั้นเป็นนวัตกรรมชนิดหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (สุคนธ์ สินธพานนท์, 2553: 13) และชุดการสอนเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยเน้นตามวัตถุประสงค์ (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ, 2557: 147-152) ประโยชน์ของ ชุดการสอน กล่าวคือ เป็นสื่อ การสอนที่มีคุณภาพ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการค้นพบ นักเรียน มีโอกาสฝึกปฏิบัติและแสดงความคิดอย่างสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสารตามศักยภาพของแต่ละบุคคลได้อย่างเต็มความสามารถโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ทิศนา แขมมณี, 2553: 15) ในระยะหลายสิบปีที่ผ่านมามีทฤษฎีการเรียนรู้ใหม่ ๆเกิดขึ้นหลายทฤษฎีแต่ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นักการศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสนใจกันมากได้แก่ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism learning theory) ซึ่งมีแนวคิดที่สอดคล้องกับ การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 มากที่สุดคือเชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้สร้างความรู้ที่เป็นของตนเองขึ้นมาจากความรู้ที่มีอยู่เดิมหรือจากความรู้ที่รับเข้ามาใหม่ด้วยเหตุผลนี้ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 จึงไม่ควรเป็นห้องเรียนที่ครูเป็นผู้จัดการทุกสิ่งทุกอย่างโดยนักเรียนเป็นฝ่ายรับแต่ต้องให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติเองสร้างความรู้ที่เกิดจากความรู้ความเข้าใจของตนเองและมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดจากแนวคิดนี้มีอยู่หลายรูปแบบเช่นการเรียนรู้แบบร่วมมือการเรียนรู้แบบช่วยเหลือกันการเรียนรู้โดยการค้นคว้าอย่างอิสระการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นต้น (มัณฑราธรรมบุศย์. 2545 : 12) โดยสอดคล้องกับงานวิจัยของกรกฎลำไยและคณะ (2552 : บทคัดย่อ) ได้วิจัยเรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 82.50/84.17 ซึ่งกรรณิกา อุดหนุนกาญจน์ (2553 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พรรณไม้ในวรรณคดีไทยตามรูปแบบของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดและพิจิตรอุตตะโปน (2550 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาชุดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างชุดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานศึกษาผลการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานโดยทำการทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสิรินธรปีการศึกษา 2548 ที่ได้จากการอาสาสมัครจำนวน 16 คนผลการวิจัยพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นด้วยชุดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นมีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 60 ขึ้นไปของคะแนนเต็มเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดที่ระดับนัยสำคัญที่ระดับ .01 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในระดับมากจากแนวคิดการให้ความสำคัญในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้ศึกษาได้นำมาใช้เป็นแนวทางในกระบวนการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งต้องอาศัยรูปแบบการสอนที่มีความเหมาะสม สนใจ ใฝ่รู้ เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีความสุข และสิ่งสำคัญทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่คงทน เนื่องจากผู้เรียนได้รับการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ด้วยตนเองจึงเป็นแนวคิดที่เป็นแรงจูงใจให้ผู้ศึกษาต้องการหาวิธีการ หาเทคนิคการสอนเพื่อที่จะทำให้นักเรียนสนใจและอยากรู้ อยากเรียนวิทยาศาสตร์ เนื่องมาจากพบปัญหานักเรียนไม่สนใจเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ จึงหาข้อสรุปความคิดของตนเองได้ว่าจำเป็นต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการที่เหมาะสมกับผู้เรียนมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน
    การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากในช่วง 25 ปี
ที่ผ่านมาเป็นวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างไปจากวิธีดั้งเดิมที่เน้นตัวสาระความรู้และมุ่งเน้นที่ผู้สอนเป็นสำคัญแต่ที่ต่างออกไปคือการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานนั้นใช้นักเรียนเป็นสำคัญโดยมุ่งที่ใช้ปัญหาจริงหรือสถานการณ์จำลองเป็นตัวเริ่มต้นกระตุ้นการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะการคิดวิจารณญาณในขณะที่นักเรียนทำงานโดยใช้ปัญหาเป็นศูนย์กลางหลังจากที่นักเรียนได้ใช้ความรู้
พื้นฐานในการทำความเข้าใจและอธิบายแนวคิดต่อปัญหานั้นแล้วสิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัญหาซึ่งนักเรียนไม่เข้าใจจะเป็นประเด็นที่ต้องเรียนรู้ต่อไปเพื่อให้ได้ความรู้มาอธิบายและแก้ปัญหาโดยนักเรียนจะพัฒนาแผนการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพื่อการเรียนรู้ในส่วนย่อยๆที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ไม่เข้าใจในปัญหาในการสืบค้นนักเรียนจะได้รับมอบหมายเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มให้ทำการสืบค้น (พวงรัตน์บุญญานุรักษ์; และMajumder. 2544 : 42) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจะเน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงเป็นบริบทของการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหารวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขาวิชาที่ตนศึกษาด้วยการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจึงเป็นผลมาจากกระบวนการทำงานที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการแก้ปัญหาเป็นหลักวอลตันและแมททิวส์ได้สรุปถึงประโยชน์ของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานไว้ว่าช่วยให้นักเรียนสามารถปรับตัวได้ดีขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเรื่องข้อมูลข่าวสารในโลกปัจจุบันเสริมสร้างความสามารถในการใช้ทรัพยากรของผู้เรียนได้ดีขึ้นส่งเสริมการสะสมการเรียนรู้และการคงรักษาข้อมูลใหม่ไว้ได้ดีขึ้นสนับสนุนความร่วมมือในการเรียนมากกว่าการแข่งขันช่วยให้นักเรียนเกิดการตัดสินใจแบบองค์รวมหรือแบบสหสาขาวิชา (Walton; & Matthews. 1989 : 456-459) นอกจากนี้การสอนที่มีผู้สอนเป็นศูนย์กลางไม่สามารถสอนสาระที่จำเป็นต้องเรียนได้หมดแต่การเรียนรู้แบบเน้นปัญหาเป็นฐานจะช่วยให้ผู้เรียนเลือกสรรสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ด้วยตนเองเกิดการเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาได้รับความรู้ใหม่จากการศึกษาค้นคว้าด้วยการวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่เรียนรู้จักการตัดสินใจการให้ความเห็น
การพัฒนาความคิดใหม่ๆและความกระตือรือร้นต่อการเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างบูรณาการนอกจากนี้การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานยังเน้นถึงการเรียนรู้ส่วนร่วมจากกลุ่มการใช้พลวัตกลุ่มซึ่งทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาบุคลิกภาพที่มีความเป็นตัวเองมีความคิดริเริ่ม คิดเป็นมีความมีน้ำใจกล้าที่จะเผชิญปัญหาและใช้หลักการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลรวมทั้งเป็นการฝึกฝนนิสัยการศึกษาค้นคว้าซึ่งเป็นพฤติกรรมจำเป็นของการเรียนรู้ตลอดชีวิต (กุลยาตันติผลาชีวะ. 2548 : 79 - 80)สอดคล้องกับงานวิจัยของกอบวิทย์พิริยะวัฒน์ (2554 : 73)ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชั่นในการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์พบว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชั่นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งผล การศึกษาของจิราวรรณสอนสวัสดิ์ (2554 : 69) ที่ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และบุญนำอินทนนท์ (2551 : 79) ได้ทำการวิจัยศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโยธินบำรุงที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้พบว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
    จากที่มาและความสำคัญของปัญหา ดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงได้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการออกแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ที่ช่วยส่งเสริมการสร้างความคิดวิเคราะห์ เสริมสร้างพลังความคิดในการฝึกกิจกรรมผ่านกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นความคิดที่ผ่านการคิดวิเคราะห์นำไปสู่การอธิบายการแก้ปัญหาหรือการหาคำตอบที่เป็นไปได้อย่างสร้างสรรค์ เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่มีความสำคัญในการต่อยอดการพัฒนาและเชื่อมโยงความรู้ที่จะนำไปใช้แก้ไขปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งผลทำให้ เกิดการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล และเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างประโยชน์และคุณค่า ให้กับผู้เรียน ครอบครัว ชุมชน ต่อไป

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs)
สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2





สมมติฐานของการศึกษา
1.     ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับหรือสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs)
สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
    3. ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด

ขอบเขตของการศึกษา
    ในการศึกษาครั้งนี้มีขอบเขตดังนี้
    1. ขอบเขตของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
    1.1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียน วิชา วิทยาศาสตร์ 4 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 4 ห้องเรียน จำนวน 102 คน
        1.2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล
ที่เรียนวิชา วิทยาศาสตร์ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ม.2/3 จำนวน 24 คนได้มาจาก
การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
    2. ขอบเขตของเนื้อหา
     เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระ
ที่ 5 สาระพลังงาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล เรื่อ แสง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งประกอบด้วยทั้งหมด 5 เรื่อง รวม 22 ชั่วโมง ดังนี้
เล่มที่ 1 การสะท้อนของแสงและภาพที่เกิดจากการสะท้อนจำนวน 6 ชั่วโมง
    เล่มที่ 2 แสงและการหักเห    จำนวน 6 ชั่วโมง
    เล่มที่ 3 เลนส์และการเกิดภาพ    จำนวน 5 ชั่วโมง
เล่มที่ 4 เส้นใยนำแสงและเลเซอร์    จำนวน 2 ชั่วโมง
เล่มที่ 5 ความสว่างและการมองเห็น    จำนวน 3 ชั่วโมง
    3. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
    3.1ตัวแปรต้น (Independent Variable) ได้แก่การจัดการเรียนรู้โดยใช้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
3.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) ได้แก่
    3.2.1 ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs)
สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
    3.2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
    3.2.3 ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21
เรื่อง แสงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
    4. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา
การสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21
เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ใช้เวลาในการสอนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2560 – 20 ธันวาคม 2560 เป็นเวลา 8 สัปดาห์ จำนวน 22 ชั่วโมง

kruwee205 31 ส.ค. 2562 เวลา 19:44 น. 0 685
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^