LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1

รายงานการวิจัย การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทั

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานการวิจัย การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย    ราตรี คงรุ่ง
ปีการศึกษา 2561

บทคัดย่อ
    
    การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของ ชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคลที่เรียนวิชา วิทยาศาสตร์ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ม.1/1 จำนวน 26 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา โดยเน้นทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

สรุปผลการวิจัย
    1. ผลการหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า คะแนนเฉลี่ยระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั้ง 4 กิจกรรมฝึกทักษะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 446.35 จากคะแนนเต็ม 476 คะแนน นำมาหาค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ ( ) คิดเป็น ร้อยละ 93.77 ส่วนคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 28.35 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน โดยคิดเป็นร้อยละ 94.50 ซึ่งมีค่าเท่ากับประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ( )
    ดังนั้น ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 93.77/94.50 เกณฑ์ที่กำหนด / คือ 80/80 แสดงว่า ชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดตามสมมติฐานข้อ 1
    2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า โดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 14.69 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 28.35 คะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าเท่ากับ 13.65 ร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 45.51 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ 25 ของคะแนนเต็ม เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคล พบว่า นักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นทุกคน มีคะแนนความก้าวหน้าตั้งแต่ 9 ถึง 17 แสดงว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะ สะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่สูงขึ้นจริงและหลังจากได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นแสดงว่า การได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นจริง เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ 2
    3. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ สะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลรวมของคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.32 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ 3
sirilomsak 31 ส.ค. 2562 เวลา 10:10 น. 0 470
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^