LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) ประกาศผลสอบรับใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 1/2567 ประกาศผลสอบวันที่ 29 มีนาคม 2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้วิจัย     พรนิภา พิรามวิทวัส

ปีการศึกษา    2561

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียน การสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิด-วิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างตามขอบเขตการวิจัยมีดังนี้ ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย ครูผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์ จำนวน 4 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้อง 30 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่มด้วยวิธีการจับฉลาก (Cluster Random Sampling) ตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน โดยการกำหนดเกณฑ์ในการเลือก คือเป็นผู้มีความรู้ความสารถเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอน มีประสบการณ์ด้านบริหาร ตอนที่ 3 การใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลห้วยยอดวิทยา สังกัดเทศบาลตำบลห้วยยอด จังหวัดตรัง จำนวน 40 คน ซึ่งมาโดยการสุ่มแบบกลุ่มด้วยวิธีการจับฉลาก (Cluster Random Sampling) ตอนที่ 4 การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)รูปแบบการเรียนการสอนประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ จำนวน 7 ชุดและแผนการจัดการเรียนรู้ 18 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนจำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การเปรียบเทียบค่าเฉลี่สองค่าจากกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว (t - test Paired Samples)

    ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า
    1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน พบว่า
        1.1 สภาพปัจจุบัน นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ผ่านการประเมิน ด้านการคิดวิเคราะห์ การจัดการเรียนการสอน ด้านการคิดวิเคราะห์ในรายวิชาสังคมในระดับประถม ยังไม่บรรลุเป้าหมายตามสภาพที่คาดหวัง การจัดการเรียนการสอนยังยึดครูเป็นศูนย์กลาง มุ่งเน้นสอนเนื้อหาเป็นหลัก ใช้เทคนิคการสอนที่ไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้การคิดวิเคราะห์ ขาดการค้นคว้าหาข้อมูล ความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ทำให้ส่งผลให้ผู้เรียนไม่ผ่านเกณฑ์การสอบระดับชาติ
        1.2 ความต้องการรูปแบบ ครูมีความจำเป็นและมีความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ให้กับผู้เรียนโดยการใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย โดยการผู้วิจัยได้ออกแบบการเรียนการสอน ที่เรียกว่า “PHIASP Model” โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระหลัก สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง รูปแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วย มีกระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อมและสร้างแรงจูงใจ (Prepare and Motivation) ขั้นที่ 2 นักสืบตัวน้อยด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical methods) 2.1 กำหนดหัวข้อ 2.2 การรวบรวมข้อมูล 2.3 การประเมินคุณค่าข้อมูล 2.4 การวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นที่ 3 จัดระเบียบทางความคิดเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ (Organize ideas) ขั้นที่ 4 ประยุกต์ใช้กระบวนการคิดเพื่อสร้างชิ้นงาน (Apply the thinking process to create a work piece) ขั้นที่ 5 สรุปผลเพื่อต่อยอดความคิด (Summary of results for further thinking) ขั้นที่ 6 นำเสนอผลงาน (Presentation) ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสำคัญ นักเรียนมีความต้องการให้จัดการเรียนการสอนโดยครูผู้สอนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน นักเรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง นำเทคนิคการสอนที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียน
    2. ออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน พบว่า รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งผลการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ E1/E2 มีค่าเท่ากับ 87.45/86.75
    3. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
     4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.53
sim.ponnipa 30 ส.ค. 2562 เวลา 19:02 น. 0 516
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^