LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1

การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างค่านิยม

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างค่านิยมความเป็นพลเมืองดี รายวิชาเพิ่มเติม หน้าที่พลเมือง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย    นายเจษฎา สินมาก    
ปีที่ศึกษา    2561

บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างค่านิยมความเป็นพลเมืองดี รายวิชาเพิ่มเติม หน้าที่พลเมือง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ดังนี้(1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างค่านิยมความเป็นพลเมืองดี รายวิชาเพิ่มเติม หน้าที่พลเมือง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างค่านิยมความเป็นพลเมืองดี รายวิชาเพิ่มเติม หน้าที่พลเมือง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างค่านิยมความเป็นพลเมืองดี รายวิชาเพิ่มเติม หน้าที่พลเมืองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังใช้รูปแบบ และ (4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างค่านิยมความเป็นพลเมืองดี รายวิชาเพิ่มเติม หน้าที่พลเมือง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา โดยเริ่มจากขั้นตอนที่ 1 วิจัย (Research : R1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ปัญหาที่เกิดขึ้นหรือการประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ผลการวิจัย การวิเคราะห์เอกสารต่าง ๆ แล้วนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์มาสังเคราะห์ไปสู่ขั้นตอนที่ 2 พัฒนา (Develop : D1) คือ การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา โดยนำผลจากขั้นตอนที่ 1 (Research : R1) มาพัฒนานวัตกรรม ทำให้นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มตัวอย่าง และในขั้นพัฒนา (Develop : D1) นี้ต้องพัฒนานวัตกรรมให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพก่อน แล้วจึงไปขั้นที่ 3 วิจัย (Research : R2) โดยนำนวัตกรรมไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง ในขั้นตอนนี้มีการประเมินระหว่างใช้และเมื่อใช้แล้วดำเนินการในขั้นตอนที่ 4 พัฒนา (Develop : D2) โดยประเมินประสิทธิผลของรูปแบบกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 /6 โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว สังกัดเทศบาลนครภูเก็ต ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561จำนวน 35คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (ClusterRandom Sampling)โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย1) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างค่านิยมความเป็นพลเมืองดี รายวิชาเพิ่มเติม หน้าที่พลเมือง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 50 ข้อ3) แบบประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างค่านิยมความเป็นพลเมืองดี รายวิชาเพิ่มเติม หน้าที่พลเมือง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างค่านิยมความเป็นพลเมืองดี รายวิชาเพิ่มเติม หน้าที่พลเมือง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 5) แบบประเมินพฤติกรรมของนักเรียนด้านค่านิยมความเป็นพลเมืองดีและ 6) แบบประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t - test

ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอน พบว่า 1) ครูสอนแบบบรรยายไม่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) นักเรียนขาดทักษะความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ทำให้มีผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 3) สื่อ/แหล่งเรียนรู้นำมาใช้น้อยมากและไม่ตรงกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น 4) นักเรียนไม่สนใจเรียน 5) นโยบายของเทศบาลและโรงเรียนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ 6) การพัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่มมีน้อยมาก 7) การพัฒนานักเรียนด้านคุณลักษณะหรือค่านิยมที่ดีขาดความจริงจัง และผลการศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบโดยครูและผู้เชี่ยวชาญ พบว่า 1) ต้องการให้ครูผู้สอนได้พัฒนารูปแบบการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ให้มีความรู้คู่คุณธรรม 2) ครูควรใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการคิดให้มากหรือสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 3) ใช้สื่อและการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย และ 4) ให้เน้นกระบวนการกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นอกจากนี้การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับชาติอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยสำคัญหนึ่งคือวิธีการสอนหรือวิธีการจัดการเรียนรู้ สอนให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ ไม่ใช่สอนให้ผู้เรียนท่องและจำแต่เพียงเนื้อหา ให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมิน สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ ได้ และจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญการสอนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมอย่างไม่เป็นทางการ เกี่ยวกับปัญหาที่พบในการเรียนการสอน คือความพร้อมของผู้เรียน อันเกิดจากการสอนของครูที่เป็นเพียงการบอกให้จดจำและเลียนแบบเท่านั้น ทำให้นักเรียนไม่มีโอกาสฝึกใช้ความสามารถในการเรียนรู้ ไม่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงกันได้ ควรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยความเข้าใจสนุกกับการเรียน ตามแนวคิดการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหรือแนวคิดตามสภาพจริง เพราะเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการให้ผู้เรียนเข้าไปเผชิญปัญหาในสภาพจริงหรือสถานการณ์จำลอง เช่น บทบาทสมมติ แล้วร่วมกันศึกษาเรียนรู้แก้ไขปัญหานั้น ในการพัฒนารูปแบบการสอนจึงต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน และนำสื่อมาใช้ในลักษณะของสื่อประสม เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ ดังนั้นในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างค่านิยมความเป็นพลเมืองดี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสานวิธีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างค่านิยมความเป็นพลเมืองดี รายวิชาเพิ่มเติม หน้าที่พลเมือง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ประกอบด้วยองค์ประกอบ5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ 2) ขั้นมีวินัยร่วมเรียนรู้ 3) ขั้นนำเสนอคู่บทบาทสมมติ 4) ขั้นสรุปข้อคิดอภิปรายผล และ 5) ขั้นชื่นชมนำไปใช้
3. ผลการศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างค่านิยมความเป็นพลเมืองดี รายวิชาเพิ่มเติม หน้าที่พลเมือง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังใช้รูปแบบ มีดังนี้
3.1พฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้านการเสริมสร้างค่านิยมความเป็นพลเมืองดี ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างค่านิยมความเป็นพลเมืองดีมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.58 คิดเป็นร้อยละ 85.92 นั่นคือ ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ 3 (ดีเยี่ยม)
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างค่านิยมความเป็นพลเมืองดี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างค่านิยมความเป็นพลเมืองดี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยผู้เชี่ยวชาญ มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29

yasumin 28 ส.ค. 2562 เวลา 18:55 น. 0 455
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^