LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 25 เม.ย. 2567สพป.สุพรรณบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 3 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 24 เม.ย. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดสอบพนักงานราชการ 350 อัตรา วุฒิปริญญาตรี อัตราเงินเดือน 20,540 - 22,750 บาท ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. - 8 พ.ค. 2567 24 เม.ย. 2567สพป.เลย เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เลย เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 24 เม.ย. 2567สพป.สกลนคร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สกลนคร เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 27 อัตรา - รายงานตัว 1 พฤษภาคม 2567 24 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 2

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาความสามารถ
ในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา
Developing a model for cooperative learning and constructivism to enhance reading
comprehension ability for mathayomsuksa six students at Prathai School, Nakhonratchasima
ผู้วิจัย นางสุจิตรา สารการ Suchittra Sarakarn
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนประทาย
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
    การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน ประทาย จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา และ 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฏีสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนประทาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 40 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทาย ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฏีสร้างความรู้ด้วยตนเอง และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทายที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฏีสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test แบบ dependent-samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยสามารถสรุปผลการวิจัย อภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ ได้ดังต่อไปนี้
        ผลการวิจัยพบว่า
        1.    ผลจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง พบว่า หลักการในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเองคือ การสร้างกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง จนพบความรู้และรู้จักสิ่งที่ค้นพบ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นทีมได้อย่างเป็นกัลยาณมิตร โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเหลือ แนะนำ และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน และผลจากการสนทนากลุ่มกับครูผู้สอนภาษาอังกฤษ โรงเรียนประทาย จำนวน 15 คน สามารถสรุปสาระสำคัญได้ 3 ประการ ได้แก่ 1) ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในวิชาภาษาอังกฤษโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะทักษะการเขียน 2) ผู้สอนยังใช้วิธีสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง ไม่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติ แสวงหาความรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และ3) การจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะและความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ครูควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนต้องการ ส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายโดยใช้สื่อเทคโนโลยี ลงมือปฏิบัติกิจกรรมและสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยครูปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนมาเป็นผู้ชี้แนะ ช่วยเหลือและให้คำปรึกษา
    2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา ที่พัฒนาขึ้น มีชื่อว่า 3ELC มีองค์ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Engagement : E) 2) ขั้นศึกษาตรวจสอบ (Learn : L) 3) ขั้นสรุปองค์ความรู้ (Conclusion : C ) 4) ขั้นนำไปประยุกต์ใช้ (Elaboration : E) 5) ขั้นวัดและประเมินผล (Evaluation : E) ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.95 ซึ่งมีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน และผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ เท่ากับ 83.65/82.38 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
    3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    4. ผลของการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทาย ที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.15

คำสำคัญ : รูปแบบการจัดการเรียนรู้, จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ , ทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง, ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ
ssarakarn1 27 ส.ค. 2562 เวลา 09:34 น. 0 768
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^