LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

การพัฒนาแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น

usericon

ชื่อเรื่อง            การพัฒนาแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น
            สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
ผู้วิจัย            นายกฤษดา โสภา
สถานศึกษา        โรงเรียนเทศบาล 2 มุขมนตรี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
            สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี
ปีที่วิจัย                 2561

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 3) พัฒนาแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี มีวิธีดำเนินการวิจัยและพัฒนา(Research and Development)โดยดำเนินการเป็น 3 ระยะระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด กลุ่มเป้าหมาย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คนโดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมิน สถิติทีใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ขั้นตอนที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานคณะผู้บริหารสถานศึกษา และคณะครูจำนวน 215 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)จำนวน 3 โรงเรียน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาสังเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้คือ ดัชนีความสอดคล้อง ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การประเมินการพัฒนาแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินสถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

    ผลการวิจัยพบว่า
        1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย 4 ด้าน 18 ตัวบ่งชี้และพบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
        2. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานีพบว่า สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมากสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการจัดการศึกษา
ตามอัธยาศัย ด้านการจัดการศึกษานอกระบบ ด้านคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และด้านการ
จัดการศึกษาในระบบ ตามลำดับ
        3. การพัฒนาแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานีมีวิธีการดำเนินงาน ประกอบด้วย 4 ด้าน 48 ตัวบ่งชี้    และผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการพัฒนาแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานีพบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก


WISUDASO 24 ส.ค. 2562 เวลา 17:52 น. 0 445
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^