LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบโค้ชชิ่ง อ่านต่อได้ที่: http://www.kr

usericon

การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบโค้ชชิ่ง เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู
โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน
นางกานต์สินี วิเศษสมบัติ
สถานศึกษา    โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
ปีที่ทำการศึกษา    2561

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบโค้ชชิ่ง เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการด้านการทำวิจัยชั้นเรียนของครู 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบโค้ชชิ่งเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โดยการเปรียบเทียบสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู และ4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศแบบโค้ชชิ่งเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในศึกษาผลการใช้รูปแบบ ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 25 คน ปีการศึกษา 2560-2561 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน 2) แบบสังเคราะห์เอกสารรูปแบบการนิเทศ 3) แบบนิเทศ กำกับติดตาม การพัฒนาครูให้มีความสามารถด้านวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 4) แบบวัดสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียน และ5)แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อรูปแบบการนิเทศแบบโค้ชชิ่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

สรุปผลการวิจัย
        1. บุคลากรของโรงเรียนมีความเข้มแข็งสามารถปฏิบัติตามภารกิจตามแนวคิด การมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจตามกรอบนโยบายของโรงเรียน มีความประสงค์ที่จะเรียนรู้และทำการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยชั้นเรียน และเห็นว่างานวิจัยเป็นเรื่องที่ยาก เนื่องจากต้องทำอย่างต่อเนื่อง
        2. สามารถพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบโค้ชชิ่งได้ ดังนี้คือ ดำเนินการอบรมตามโครงการพัฒนาครูให้มีความสามารถวิจัย โดยบูรณาการการอบรมกับกระบวนการนิเทศโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน จัดการอบรมทั้ง 4 กระบวนการ คือ ด้านที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน ด้านที่ 2 ขั้นตอนการพัฒนาวิธีการหรือนวัตกรรม ด้านที่ 3 ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล และด้านที่ 4 การสรุปผลและการเขียนรายงาน โดยผู้วิจัยเป็นผู้กำกับติดตาม การนิเทศในลักษณะของพี่เลี้ยง
        3.     ผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบโค้ชชิ่ง พบว่า ครูผู้สอนโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน จำนวน 25 คน มีความรู้ความสามารถในเรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน และสามารถปฏิบัติกิจกรรมการวิจัยได้ร้อยละ 100 การฝึกอบรมเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับครูให้มีความมั่นใจกระตุ้นโดยการเป็นพี่เลี้ยงที่ดี พูดคุย เสนอแนะแนวทางอย่างเป็นธรรมชาติ และเป็นกันเองระหว่างครูผู้สอน และผู้นิเทศติดตาม จะส่งผลต่อการวิจัยที่ตรงประเด็น ตรงกับปัญหาการวิจัยที่แท้จริง สามารถสร้างแรงจูงใจและความมั่นใจที่ดีโดยมีการนิเทศเป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 สร้างความตระหนักในการดำเนินการวิจัยและพัฒนา เป็นกระบวนการที่ออกนิเทศโดยการสอบถามพูดคุยกับครูผู้ทำการวิจัย
ระยะที่ 2 เป็นระยะที่ผู้บริหารสถานศึกษาติดตามกระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาครูผู้สอน ติดตามการแก้ปัญหาและให้คำแนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาที่หลากหลาย
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการวิจัยของครูผู้สอน เป็นการให้ข้อเสนอแนะในการบันทึกผลการวิจัยและการสรุปผลการวิจัยอย่างเป็นระบบ
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่ผู้บริหารสถานศึกษาตรวจผลงานวิจัย และอบรมประชุมโดยให้ครูผู้สอนซักถามปัญหาการดำเนินการ กระบวนการวิจัย ตลอดถึงแนะนำรูปแบบการเขียนรายงานการวิจัยอย่างเป็นทางการ
ผลการนิเทศ กำกับติดตาม การพัฒนาครูให้มีความด้านสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการ
เรียนรู้ ของครูผู้สอน พบว่า ครูส่วนใหญ่ มีความรู้ด้านการวิจัยอยู่ในระดับมาก และสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู ก่อนการเข้ารับการพัฒนาตามรูปแบบการนิเทศแบบโค้ชชิ่ง มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 20.92 คิดเป็นร้อนละ 69.72 หลังเข้ารับการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 26.63 คิดเป็นร้อยละ 88.75 มีพิจารณาค่าความต่างของคะแนน พบว่า หลังเข้ารับการพัฒนามีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น 5.71 คิดเป็นร้อยละ 19.03
4. ผลการประเมินของครู หลังเข้ารับการอบรมโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมศักยภาพด้านการวิจัยชั้นเรียน โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.26

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^