LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. เข้ม สั่งสอบครูคัดลอกผลงานฯ เตรียมจับมือ จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567สพม.ยะลา ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.อุดรธานี เขต 4 - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 4 17 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567สพป.ตรัง เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาเกาหลี เงินเดือน 15,000 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ – 25 เมษายน พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567โรงเรียนบัวใหญ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 18,000 บาท สมัครตั้งแต่วันที่ 17 – 26 เมษายน พ.ศ.2567

รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานรายวิชา คอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น

usericon

บทคัดย่อ

เรื่อง    รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานรายวิชา คอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาโครงงานกราฟิก สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย    นางสาวณัฐวรา ศรีเพชร
ปีที่วิจัย    2561

การวิจัย เรื่องรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาโครงงานกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการเรียนการสอน รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อออกแบบและประเมินรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานรายวิชา คอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาโครงงานกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3) เพื่อทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาโครงงานกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาโครงงานกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 คน ได้ทำการการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) ใช้วิธีการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม การวิจัยในครั้งนี้เป็นรูปแบบการวิจัย
และพัฒนา (Research and Development) หรือ R and D ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data) และข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data)
โดยใช้กระบวนการวิจัยในแต่ละขั้นตอนในการพัฒนา ทั้งนี้เป้าหมายสำคัญของการวิจัยและพัฒนา
ก็คือ การได้นวัตกรรมที่เป็นต้นแบบสามารถนำไปใช้หรือแก้ปัญหาได้จริงกับกลุ่มเป้าหมาย
โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการเรียนการสอน รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและกระบวนการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
ตอนที่ 2 ออกแบบและประเมิน เรื่องรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาโครงงานกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ตอนที่ 3 ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบแบบผสมผสาน รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาโครงงานกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ตอนที่ 4 ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาโครงงานกราฟิก
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. องค์ประกอบและกระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาโครงงานกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการเรียนการสอน 2) วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน 3) กระบวนการเรียนการสอน 4) การวัดและประเมินผล กระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอน มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นก่อนปฏิบัติภาระงาน (Before Task) 1) ขั้นกำหนดปัญหา/กำหนดหัวข้อ (Problem) 2) ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นระหว่างปฏิบัติภารงาน (Between Task) 1) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Practice) 2) ขั้นเขียนรายงานแสดงผลงาน (Portfolio) ขั้นหลังปฏิบัติงาน (Behind Task) 1) ขั้นสรุปประเมินผลและทบทวนผลงาน (Peer review) 2) ขั้นนำเสนอ (Present)
2. รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน 3Be6P รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาโครงงานกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ด้านองค์ประกอบ 1) หลักการเรียนการสอน คือ 1) การเรียนแบบเน้นภาระงานร่วมกับการเรียน
แบบโครงงานในชั้นเรียนปกติ 2) การเรียนการสอนแบบห้องเรียนออนไลน์ (Google Classroom)
2) วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน คือ 1) ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง 2) ผู้เรียนแสวงหาประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านห้องเรียนออนไลน์ (Google Classroom) กระบวนการเรียนการสอนแบบผสมผสานมีองค์ประกอบย่อยคือ 1) บทบาทของผู้เรียน 2) บทบาทของผู้สอน 3) เนื้อหาวิชา
4) วิธีการเรียนการสอน 5) กิจกรรมการเรียนการสอน 6) สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลประกอบด้วย 1) วิธีการวัดและประเมินผล 2) เครื่องมือ 3) เกณฑ์การประเมิน ด้านกระบวนการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นก่อนปฏิบัติภาระงาน (Before Task) 1) ขั้นกำหนดปัญหา/กำหนดหัวข้อ (Problem) 2) ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นระหว่างปฏิบัติภารงาน (Between Task)
1) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Practice) 2) ขั้นเขียนรายงานแสดงผลงาน (Portfolio) ขั้นหลังปฏิบัติงาน (Behind Task) 1) ขั้นสรุปประเมินผลและทบทวนผลงาน(Peer review) 2) ขั้นนำเสนอ (Present) ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน วิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น โดยใช้องค์ประกอบของการประเมินนวัตกรรมของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ภาพรวมความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน วิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น
มีคุณภาพอยู่ในระดับดี ( x ̅ = 2.18)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน 3Be6P รายวิชา คอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาโครงงานกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพ E1/ E2 ตามเกณฑ์ 80/80 ผลการทดลองพบว่า
3.1 รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน 3Be6P รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาโครงงานกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
มีค่าเท่ากับ 84.92 /86.67 ซึ่งแสดงว่าค่าประสิทธิภาพของรูปแบบสูงกว่าในเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1
3.2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จากการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน 3Be6P รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาโครงงานกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น หลังเรียนของนักเรียน
สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2
3.3 ผลการประเมินความสามารถในการพัฒนาโครงงานกราฟิกหลังการใช้รูปแบบ การเรียนการสอนแบบผสมผสาน 3Be6P รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาโครงงานกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียน
มีระดับความสามารถในการพัฒนาโครงงานกราฟิก อยู่ในระดับดีมาก (x ̅ = 3.66, S.D. = 0.48)
ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อที่ 3
4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน 3Be6P รายวิชา คอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาโครงงานกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าในภาพรวมพบว่า นักเรียนมีระดับความคิดเห็นต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน 3Be6P รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาโครงงานกราฟิก ด้านรูปแบบการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅ = 4.66) ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 4 และความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน 3Be6P ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน 3Be6P รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาโครงงานกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.15)
nutvara 18 ส.ค. 2562 เวลา 14:41 น. 0 496
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^