LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5

เผยแพร่ผลงาน รายงานการประเมินโครงการ

usericon


ชื่อเรื่อง    รายงานการประเมินโครงการ เรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้ศาสตร์พระราชาในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านตะบิงตีงี
ชื่อผู้วิจัย     นางสาวมัสกะห์ เจะแม็ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา รักษาการในตำแหน่ง
ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านตะบิงตีงี
สถานศึกษา    โรงเรียนบ้านตะบิงตีงี อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ปีที่ทำวิจัย    2561
............................................................................................................................................................

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้ศาสตร์พระราชาในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านตะบิงตีงี ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี และ 2) ศึกษาผลที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนบ้านตะบิงตีงี และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ครูผู้สอนพัฒนาขึ้น แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร แบบบันทึกการนิเทศ แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน รายงานสรุปผลการดำเนินงานของสถานศึกษา แบบสอบถามความคิดเห็นครูผู้สอนและแบบวัดความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้ศาสตร์พระราชาในศตวรรษที่ 21 ผลการวิจัยพบว่า
1.    การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้ศาสตร์พระราชาในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านตะบิงตีงี ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี สรุปผลได้ดังนี้
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) มี 4 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 วางแผน (Planning) ผู้บริหารและ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดนโยบาย วางแผนการจัดการเรียนรู้ โดยครูผู้สอนสร้างสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผู้บริหารวางระบบการนิเทศภายในขอความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ขั้นที่ 2 ปฏิบัติการ (Action) ครูผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 สังเกตการณ์ (Obser vation) ด้วยกระบวนการนิเทศภายในและภายนอก และขั้นที่ 4 สะท้อนผลปรับปรุงแก้ไข (Reflection) ด้วยการประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง นำข้อมูลจากการตรวจสอบสะท้อนผลแล้วปรับปรุงแก้ไขแล้วร่วมกันวางแผนดำเนินการในวงรอบปฏิบัติการต่อไป

2.    ศึกษาผลที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สรุปผล ได้ดังนี้
2.1 ผลจากการดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนพบว่า ทั้งโรงเรียนรวมมีสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 9 หลักสูตร จำนวนครูที่ร่วมโครงการ 25 คน จำนวนนักเรียนที่ได้รับการพัฒนา 203 คน ผลที่เกิดขึ้นกับครูพบว่า ครูที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น สามารถจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนในหลายรูปแบบ และพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ทรัพยากรใกล้ตัวและมีอยู่ในท้องถิ่น สามารถจัดการเรียนรู้เหมาะสมกับท้องถิ่น และมีความรู้ในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบ มี ความรู้ความเข้าใจด้านการสร้างสื่อในการจัดการเรียนรู้ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ และการทำวิจัยในชั้นเรียนมีความพึงพอใจในการเข้ารับการอบรมอยู่ในระดับมากที่สุดและผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนพบว่า นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน และมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น นักเรียนมีคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งสามารถนำความรู้ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนัก หวงแหนภูมิปัญญาแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นของตนเอง เห็นคุณค่าของการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.2 ความคิดเห็นในการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ความคิดเห็นของครูผู้สอนก่อนดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ( = 3.06) ส่วนหลังการดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.29) และเมื่อเปรียบเทียบก่อนจัดการเรียนรู้และหลังการจัดการเรียนรู้พบว่าทุก ประเด็นมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น
2.3 ความพึงพอใจของครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ในภาพรวมความพึงพอใจของครูผู้สอนในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมาก ( = 4.24)



Maskah2520 17 ส.ค. 2562 เวลา 14:54 น. 0 536
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^